วันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2551

วันแม่

วันแม่แห่งชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วันแม่แห่งชาติ ตรงกับวันที่ 12 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยริเริ่มเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2519 โดยคณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จนถึงปัจจุบัน

สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่คือ ดอกมะลิ ซึ่งมีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติในประเทศไทย

งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน

ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลิ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

[แก้] กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ

ดอกมะลิ ดอกไม้สัญลักษณ์วันเเม่
ดอกมะลิ ดอกไม้สัญลักษณ์วันเเม่
  1. ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ ร่วมจุดเทียนชัยถวายพระพรแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
  2. การประดับไฟเฉลิมพระเกียรติ และประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน
  3. จัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ การแสดง การประกวดต่างๆ เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่
  4. การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล
  5. นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่

[แก้] วันแม่ในประเทศต่าง ๆ

ประเทศอื่น ๆ ก็มีการกำหนดวันแม่ไว้เช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ใช้วันอาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคม ประเทศรัสเซียใช้วันที่ 28 พฤศจิกายน เป็นต้น

อาทิตย์ที่สองของเดือนกุมภาพันธ์ นอร์เวย์
8 มีนาคม บัลแกเรีย, แอลเบเนีย
อาทิตย์ที่สี่ในฤดูถือบวชเล็นท์ (มาเทอริง ซันเดย์) สหราชอาณาจักร, ไอร์แลนด์
21 มีนาคม (วันแรกของฤดูใบไม้ผลิ) จอร์แดน, ซีเรีย, เลบานอน, อียิปต์
อาทิตย์แรกของเดือนพฤษภาคม โปรตุเกส, ลิทัวเนีย, สเปน, แอฟริกาใต้, ฮังการี
8 พฤษภาคม เกาหลีใต้ (วันผู้ปกครอง)
10 พฤษภาคม กาตาร์, ซาอุดีอาระเบีย, ประเทศส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้, บาห์เรน, ปากีสถาน, มาเลเซีย, เม็กซิโก, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, อินเดีย, โอมาน
อาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคม แคนาดา, สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน), สาธารณรัฐประชาชนจีน, ญี่ปุ่น, เดนมาร์ก, ตุรกี, นิวซีแลนด์, เนเธอร์แลนด์, บราซิล, เบลเยียม, เปรู, ฟินแลนด์, มอลตา, เยอรมนี, ลัตเวีย, สโลวาเกีย, สิงคโปร์, สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, ออสเตรีย, อิตาลี, เอสโตเนีย, ฮ่องกง
26 พฤษภาคม โปแลนด์
27 พฤษภาคม โบลิเวีย
อาทิตย์ที่สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม สาธารณรัฐโดมินิกัน, สวีเดน
อาทิตย์แรกของเดือนมิถุนายนหรือ อาทิตย์ที่สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม ฝรั่งเศส
12 สิงหาคม ไทย (วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ)
15 สิงหาคม (วันอัสสัมชัญ) คอสตาริกา, แอนท์เวิร์ป (เบลเยียม)
อาทิตย์ที่สองหรือสามของเดือนตุลาคม อาร์เจนตินา (Día de la Madre)
28 พฤศจิกายน รัสเซีย
8 ธันวาคม ปานามา
22 ธันวาคม อินโดนีเซีย

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

สะหม้อ หนุ่มน่ารักแห่งบ้านสะกอม

สะหม้อ

สะหม้อ เป็นชาวไทยมุสลิม อยู่ที่บ้านสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา หนังกั้น ทองหล่อ นำมาตัดรูปหนังเป็นตัวตลก มีนิสัยชอบหยอกล้อเพื่อนฝูงและชอบตำหนิผู้หญิง

สะหม้อ

สะหม้อเป็นตัวตลกของหนังตะลุงบางคณะ เป็นตัวแทนของชาวไทยมุสลิมผู้มีลีลาการพูดจาที่ชวนขบขัน มักออกคู่กับ ขวัญเมือง

ประวัติความเป็นมา หนังกั้น ทองหล่อ บ้านน้ำกระจาย อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ยืนยันว่าเป็นรูปตัวตลก ที่ตนเป็น ต้น คิดทำขึ้นเพื่อให้เป็นตัวตลกพิเศษประจำคณะของตน โดยได้นำเอาคนจริงจากหมู่บ้านสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา มาเป็นต้นแบบและเอาชื่อจริงมาใช้ คือเลียนแบบมาจากนายสะหม้อ(สะเมาะ) ซึ่งเป็นลูกชายของโต๊ะยีโซะ

รูปร่าง ลักษณะ สะหม้อมีลักษณะหลังโกง มีโหนกคอ คางย้อยแบบคนชรา รูปร่างผอมสูงแต่ท้องป่องคล้ายคนอมโรค

การแต่งกาย สะหม้อ สวมหมวกแขก ไม่สวมเสื้อ นุ่งผ้าโสร่ง พับชายบนปล่อยกลับลงไปตามแบบที่ชาวไทยมุสลิมนิยมแต่ง ชักชายผ้าให้ข้าง หน้า ตื้นแล้วปล่อยข้างหลังลึก มือซ้ายถือไม้สะแด็ด (ไม้พายสำหรับคนข้าวในหม้อ)

ลักษณะนิสัย สะหม้อชอบตลกคะนอง หยอกล้อ และพูดเกทับเพื่อนเก่ง ตามลักษณะนิสัยของชาวสะกอมทั่ว ๆ ไปที่มักพูดจา เป็นเชิงหยิกแกมหยอก ชอบพูดยกยอผู้อื่นนิด ๆ พอเพลินใจ แล้วตวัดกลับด้วยการติเตียนอย่างเจ็บแสบและรุนแรง มีความเป็น นักเลง กล้าได้กล้าเสีย นับถือศาสนาอิสลามแต่ไม่เข้าถึงหลักศาสนา ชอบขัดคอคนอื่นเล่น แต่ใจจริงมีความนับถือ และรักใคร่ ่เพื่อน ฝูง มีความเอื้ออารี เสียสละ แต่ก็ไม่ยอมเสียเปรียบใครง่ายๆลีลาการพูด พูดเนิบ ๆ ช้า ๆ หนักแน่นพูดจาแบบคนหัวโบราณ ไม่กล่อมเกลาถ้อยคำสำนวน คิดอย่างไรก็พูดอย่างนั้น ไม่เกรงใจใคร เมื่อสบโอกาสมักคุยเขื่องและแฝงด้วยอารมณ์ขัน มีความ เชื่อมั่นในความคิดเห็นและเหตุผลของตัวเอง

มีเรื่องเล่าขานเกี่ยวกับสะหม้อมากมายทั้งที่ออกมาเป็นบทเพลง บทสนทนา ขอยกมาเป็นตัวอย่างพอสังเขป

ไม่ได้ตีสะหม้อ

เนื้อเพลงโดย : kuni tummai

สะหม้อเป็นคนบ้านๆไปใหนไม่หาญเฝ้าอยู่แต่เริน

อะโหรยเด็กๆยุกนี้ชอบยกพวกตีแหกหัวยับเยิน

ฟังข่าวแล้วเศร้าเหลือเกินตีกันยับเยินและไม่หอนปรานี

วัยรุ่นเขาหม้ายหัวหม้อไม่หาญลอคอละเสียแล้วหวางนี้

เด็กแหลงแล้วใจไม่ดีมันพันพรือสะทีอี ตีหม้อๆ

อะ สงสันบังทำหรัยผิดเห็นเด็กมันคิดกลุ่มใจจิงหม้อ

สะหม้อกลัวละเสียจนตัวสันหยบอยู่แต่บ้านละไม่หาญลอคอ

วันนี้เด็กหนุ่มแปลกหน้าสามคนเดินมาหาบ้านบังหม้อ

คนหนึ่งชีมือชี้ไม้หม้อนึกขึ้นได้วิ่งไม่รีลอ

อะแขบจิงครึ่งวิ่งครึ่งห้อข้ามคูข้ามบอหม้อมานอนหมดแรง

อะสักเดียวเด็กวิ่งมาทันหม้อหยบตัวสั่นได้ยินเสียงแหลงแนะ

อะความจิงโหม่เด็กมันแกล้งเสียงมายืนแหลงว่าแกลงหยอกบังหม้อเดะ

อะเท่จิงถ้าโร่พันนี้เด็กตีไม่ตีอยู่ทีการชอบพอ

อะทีหลังอย่าเที่ยวหยอกบังหม้อได้เดินบายชูคอหม้อไม่กลัวโถกตีแล้วแหละ

อะร่าาโบยมะ

จากเรื่อง นักรบนักรัก ครอบครัวของราตรีถูกพวกโจรเผาบ้าน พ่อ สามี ตายในกองไฟ ราตรี พาแม่ของสามีกับลูกหนีมาได้ แต่แม่สามีบอบช้ำมาก ตายกลางทาง นันทิยา ขวัญเมือง สะหม้อ มาพบเข้า

นันทิยา เรื่องศพของแม่ พี่ราตรีจะทำอย่างไร
ราตรี มืด 8 ด้าน จะทิ้งไว้ก็ไม่ได้ จะนำไปก็ไม่ได้
นันทิยา ฝังไว้ก่อนดีกว่า
ราตรี ราตรีเห็นด้วยค่ะ
นันทิยา พี่สะหม้อขุดหลุม
สะหม้อ คนแขกเขาถือ ห้ามขุดหลุมศพ มึงเองต้าอ้ายเมือง
ขวัญเมือง เพื่อมนุษยธรรม กูขุดเองก็ได้ (ขุดหลุม)
สะหม้อ ให้ลึกหน่อย เสืออาจจะมาขุดไปกินเสียได้
ขวัญเมือง รับรอง ลึก 4 ศอก ยาว 6 ศอก กว้าง 3 ศอก
นันทิยา ช่วยกันยกศพคุณป้าลงหลุมหน่อย
สะหม้อ คนแขกเขาถือ ห้ามยกศพ มึงเองต้าอ้ายเมือง
ขวัญเมือง กูเองก็ได้ศพคนแก่เบาเหมือนต้อ (กาบหมาก) อ้ายหม้อมึงปิดหลุม
สะหม้อ คนแขกเขาถือ ห้ามปิดหลุมศพ มึงเองต้าอ้ายเมือง
ขวัญเมือง กูเพ มันจะยากพรือ กะคุ้ยดินปิดหลุม
สะหม้อ เก่งมากอ้ายเมือง ควรสมัครเป็นสัปเหร่อ
ราตรี กราบหลุมศพของย่าซิลูก (ราตรีกราบหลุมศพ) ขอให้ดวงวิญญาณของแม่ไปสู่สุคติหากลูกไม่ตายและมีฐานะดีขึ้น จะกลับมาขุดหลุมศพของแม่ไปประกอบพิธีทางศาสนาอย่างสมเกียรติ
ขวัญเมือง น้องราตรีคนนี้น่ารักจริงๆ
สะหม้อ กูจะเอาทำลูกของกู
ขวัญเมือง เป็นลูกบุญธรรม
สะหม้อ ไม่ ทำลูกกูเอง
นันทิยา พี่ราตรีคะ เรามาจากบุรินทรานคร เพื่อไปปรัญญานคร
ราตรี สองเมืองนี้เขาเลิกรบกันแล้วหรือคะ
นันทิยา ฉันพยายามให้สองนครนี้ เกิดสันถวไมตรีให้ได้ พี่ราตรีเดินทางไปกับเราดีกว่า ยินดีช่วยเหลือเต็มที่
ราตรี เป็นพระคุณแก่ราตรีมากค่ะ
นันทิยา พี่สะหม้อ ช่วยอุ้มลูกของพี่ราตรีหน่อย
สะหม้อ คนแขกเขาถือ ห้ามอุ้มเด็ก มึงเองต้าอ้ายเมือง
ขวัญเมือง ถ้าอุ้มแม่ของเด็กล่ะ
สะหม้อ ถ้าแม่ของเด็กยังสาวสวยเหมือนน้องราตรี คนแขกไม่ถือ อย่าว่าแต่อุ้ม ให้นั่งคร่อมคอก็ได้

จาก "ความรู้เรื่องหนังตะลุง" โดย อาจารย์พ่วง บุษรารัตน

สะหม้อ เห็นเด็กๆในสงขลาเล่นฟุตบอลอยู่ในสนามถึงกับอุทานด้วยความไม่รู้จัก ไม่เคยเห็นลูกฟุตบอล ว่าโหมมสงขลามันขาแข็งฉัดลูกพร้าวแห้งดังดะ ดังดะ

ฤาษีนกเค็ด

เรื่องเล่าพระฤาษี

"พุทธวันทิตวา ข้าพเจ้าของอาราธนาบารมีคุณ พระพุทธคุณนัง ธรรมคุณนัง สังฆคุณนัง วันทิตวา ข้าพเจ้าขออาราธนาบารมีคุณ พระสังฆคุณนัง อีกทั้งคุณพระบิดา พระมารดา พระอนุกรรมวาจา อุปัชฌาย์ครูบาอาจารย์ อีกทั้งพระฤาษีนารอด พระฤาษีนารายณ์ พระฤาษีตาวัน พระฤาษีตาไฟ พระฤาษีเกตุ พระฤาษีเนตร พระฤาษีมุชิตวา พระฤาษีมหาพรหมเมศ พระฤาษีสมุหวัน ทั้งพระเพชรฉลูกัน และนักสิทธวิทยา อีกทั้งพระคงคา พระเพลิง พระพาย พระธรณี พระอิศวรผู้เป็นเจ้าฟ้า ขออัญเชิญเสด็จลงมาประสิทธิพระพรชัย ให้แก่พวกข้าพเจ้าในเวลาวันนี้ ข้าพเจ้าขอเชิญเทพดาเจ้าทั้งหลายทั่วพื้นปถพีดล พระฤาษี ๑๐๘ ตน บันดาลดลด้วยสรรพวิทยา พระครูยา พระครูเฒ่า พระครูภักและอักษร สถาพรเป็นกรรมสิทธิ์ ให้แก่พวกข้าพเจ้าในเวลาบัดนี้เถิด

ข้าพเจ้า ขออาราธนาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เชิญเสด็จลงมาปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพเจ้าขอเชิญพระพรหมลงมาอยู่บ่าซ้าย ขอเชิญพระนารายณ์มาอยู่บ่าขวา ขอเชิญพระคงคาลงมาเป็นน้ำลาย ขอเชิญพระพายลงมาเป็นลมปาก ขอเชิญพญานาคลงมาเป็นสร้อยสังวาล ข้าพเจ้าขอเชิญพระอังคารมาเป็นด้วยใจ ถ้าแม้นข้าพเจ้าจะไปรักษาไข้แห่งหนึ่งแห่งใด ให้มีชัยชนะแก่โรค ขอจงประสิทธิให้แก่ข้าพเจ้าทุกครั้ง พุทธสังมิ ธรรมสังมิ สังฆสังมิ"
(คัดตามต้นฉบับเดิม)


คนไทยเราดูจะคุ้นกับฤาษีอยู่มาก เพราะตามพงศาวดารสมัยโบราณ หรือจดหมายเหตุเก่าๆ มักจะกล่าวถึงฤาษี อย่างเช่นฤาษีวาสุเทพกับฤาษีสุกกทันต์ ผู้สร้างเมืองหริภุญไชย และในคำไหว้ครูที่กล่าวถึงข้างต้น ได้ออกชื่อฤาษีแปลกๆ หลายชื่อ ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไปข้างหน้า

นอกจากนี้ ในวรรณคดีต่างๆ ก็มักจะมีเรื่องของฤาษีแทบทุกเรื่อง เพราะพระราชโอรสของพระเจ้าแผ่นดินจะต้องไปศึกษาเล่าเ รียนกับฤาษี และฤาษีเป็นเจ้าพิธีการต่างๆ เป็นต้น

ตำราของวิชาการหลายสาขา เช่น ดนตรี แพทย์ ก็มีเรื่องของฤาษีมาเกี่ยวข้องอยู่ด้วย ดังจะเห็นว่าพวกดนตรีและนาฏศิลป์เคารพบูชาฤาษี แพทย์แผนโบราณก็มีรูปฤาษีไว้บูชา ดังนี้เป็นต้น

ลักษณะของฤาษีแบบไทยๆ มักจะรู้จักกันในรูปของคนแก่ นุ่งห่ม หนังเสือ โพกศีรษะเป็นยอดขึ้นไป

ทำไมจึงต้องนุ่งห่มหนังเสือ ลองเดาตอบดูก็เห็นจะเป็นเพราะอยู่ในป่า ไม่มีเสื้อผ้า ก็ใช้หนังสัตว์แทน ส่วนจะได้มาโดยวิธีอย่างไรไม่แจ้ง แต่คงไม่ใช่จากการฆ่าแน่นอน เพราะฤาษีจะต้องไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต แต่ถ้ามีคนเอาเนื้อสัตว์มาถวายก็กินได้ ไม่เป็นไร

ฉะนั้น หนังสัตว์ก็อาจจะเป็นของพวกนายพราน หรือคนที่เคารพนับถือ เอามาถวายก็เป็นได้ ถึงอย่างนั้นก็ยังอาจจะสงสัยต่อไปอีกว่า ทำไมจึงเลือกเอา หนังเสือ เรื่องนี้ก็ต้องเดาตอบเอาอีกว่า เพราะหนังเสือนุ่มดี

แต่ฤาษีไทยเราเห็นครองแต่หนังเสือเหลือง สังเกตจากรูปฤาษีส่วนมาก จะระบายสีเป็นอย่างเสือลายเหลืองสลับดำ แต่ฤาษีของบางอาจารย์ปิดทองก็มี

ชุดเครื่องหนังนี้อ่านตามหนังสือวรรณคดีว่า เป็นชุดออกงาน เช่นเข้าเมืองหรือไปทำพิธีอะไรต่างๆ ก็ใช้ชุดหนัง แต่ถ้าบริกรรมบำเพ็ญตบะอยู่กับอาศรมในป่าก็ใช้ ชุดคากรอง คือนุ่งห่มด้วยต้นหญ้าต้นคา

ในหนังสือบทละครเรื่องอุณรุท พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๑ กล่าว ไว้ตอนท้าวไกรสุทรับสั่งให้สังฆการีออกไปนิมนต์ฤาษีน ารอท มาเข้าพิธีอภิเษกสมรสพระอุณรุทกับนางศรีสุดา มีความว่า

"เมื่อนั้น พระนารอททรงญาณฌานกล้า ได้แจ้งไม่แคลงวิญญา ก็บอกหมู่สิทธาพร้อมกัน ต่างผลัดเปลือกไม้คากรอง ครองหนังเสือสอดจำมขัน กรกุมไม้เท้างกงัน พากันรีบมายังธานี"

ดังนี้แสดงว่าเวลาอยู่ป่านุ่งเปลือกไม้คากรอง ออกนอกอาศรมเข้าเมือง ก็เปลี่ยนเป็นเครื่องหนัง และที่กล่าวมานี้ที่จะเป็นฤาษีแบบไทยๆ ที่มีระเบียบวัฒนธรรมแล้วหรืออย่างไรไม่ทราบ ฤาษีของอินเดียก็ว่านุ่งห่มสีขาว ทีจะเป็นฤาษีเมื่อบ้านเมืองเจริญแล้ว ดึกดำบรรพ์ก่อนโน้นจะมีนุ่งหนังเสือบ้างกระมัง

ตามภาพเขียนสมัยโบราณ ถ้ามีภาพป่าหิมพานต์ มีรูปต้นมักกะลีผล จะเห็นพวกวิทยาธรและพวกที่แต่งตัวคล้ายๆ ฤาษีเหาะขึ้น ไปเชยชมสาวมักกะลีผลกันเป็นกลุ่มๆ ความจริงไม่ใช่ฤาษีแท้ เป็น พวกนักสิทธ นี่ว่าตามคติอินเดียที่เขาถือว่า นักสิทธไม่ใช่ฤาษี เป็นแต่ผู้สำเร็จจำพวกหนึ่งเท่านั้น ทำนองเดียวกับพวกวิทยาธรหรือพิทยาธร ในหนังสือวรรณคดีไทยเรียกว่า ฤาสิทธ ก็มี มักเรียกรวมๆ กันว่า ฤาษีฤาสิทธ หรือ ฤาษีสิทธวิทยาธร

ในวรรณคดีอินเดียกำหนดจำนวนพวกนักสิทธไว้ตายตัว มีจำนวน ๘๘,๐๐๐ ทางไทยเราดูจะนับนักสิทธเป็นฤาษีไปด้วย

ในเอกสารที่เก่าที่สุดของไทยคือ ไตรภูมิพระร่วง ของ พระญาลิ ไท ก็เรียกฤาสิทธว่าเป็นอย่างเดียวกับฤาษี ดังความตอนหนึ่งว่า



"ครั้นว่านางสิ้นอายุศม์แล้วจึงลงมาเกิดที่ในดอกบัวหลวงดอก ๑ อัน มีอยู่ในสระๆ หนึ่ง มีอยู่แทบตีนเขาพระหิมวันต์ฯ เมื่อนั้นยังมีฤาษีสิทธองค์ ๑ ธ นั้นอยู่ในป่าพระหิมพานต์ ธ ย่อมลงมาอาบน้ำในสระนั้นทุกวัน ธ เห็นดอกบัวทั้งปวงนั้นบานสิ้นแล้วทุกดอก ๆ แลว่ายังแต่ดอกเดียวนี้บมิบานแล ดุจอยู่ดังนี้บมิบานด้วยทั้งหลายได้ ๗ วัน ฯ พระมหาฤาษีนั้น ธ ก็ดลยมหัศจรรย์นักหนา ธ จึงหันเอาดอกบัวดอกนั้นมา ธ จึงเห็นลูกอ่อนอยู่ในดอกบัวนั้นแล เป็นกุมารีมีพรรณงามดั่งทองเนื้อสุก พระมหาฤาษีนั้น ธ มีใจรักนักหนา จึงเอามาเลี้ยงไว้เป็นพระปิยบุตรบุญธรรม แลฤาษีเอาแม่มือให้ผู้น้อยดูดกินนม แลเป็นน้ำนมไหลออก แต่แม่มือมหาฤาษีนั้นด้วยอำนาจบุญพระฤาษี"

ดังนี้จะเห็นว่า ใช้คำ ฤาสิทธ ในความหมายเดียวกับ ฤาษี และนิยายทำนองนี้ดูจะแพร่หลายมาก ในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง มีเรื่องฤาษีเก็บเด็ก จากดอกบัวมาเลี้ยงแทรกอยู่เสมอ

ลักษณะความเป็นอยู่ของฤาษีเท่าที่เราเข้าใจกัน โดยทั่วๆ ไปนั้น ก็ว่ากินเผือกมันเป็นอาหาร เพราะไม่มีการทำไร่ไถนา บางคัมภีร์มีข้อห้ามพวกฤาษีไม่ให้เข้าหมู่บ้าน ไม่ให้ย่างเหยียบเข้าไปในเขตพื้นดิน ที่เขาไถแล้ว แต่ในที่บางแห่งกล่าวว่า ฤาษีนั้นแบ่งออกเป็น ๘ จำพวกด้วยกันคือ

๑.สปุตตภริยา คือฤาษีที่รวบรวมทรัพย์ไว้บริโภคเหมือนมีครอบครัว
๒.อุญฉาจริยา คือฤาษีที่เที่ยวรวบรวมข้าวเปลือกและถั่วงาเป็นต้นไว ้หุงต้มกิน
๓.อนัคคิปักกิกา คือฤาษีที่รับเฉพาะข้าวสารไว้หุงต้มกิน
๔.อสามปักกา คือฤาษีที่รับเฉพาะอาหารสำเร็จ (ไม่หุงต้มกินเอง)
๕.อัสมุฏฐิกา คือฤาษีที่ใช้ก้อนหินทุบเปลือกไม้บริโภค
๖.ทันตวักกลิกา คือฤาษีที่ใช้ฟันแทะเปลือกไม้บริโภค
๗.ปวัตตผลโภชนา คือฤาษีที่บริโภคผลไม้
๘.ปัณฑุปลาสิก คือฤาษีที่บริโภคผลไม้หรือใบไม้เหลืองที่หล่นเอง

ในหนังสือ ลัทธิของเพื่อน โดย เสฐียรโกเศศ นาคประทีป ได้กล่าวถึงพวกฤาษีไว้ตอนหนึ่งว่า

"เกิดมีพวกนักพรตประพฤติเนกขัมม์ขึ้น พวกนี้มักอาศัยอยู่ ในดงเรียกว่า วานปรัสถ์ (ผู้อยู่ป่า) หรือเรียกว่า ฤาษี (ผู้แสวง) ปลูกเป็นกระท่อมไม้หรือมุงกั้นด้วยใบไม้ (บรรณศาลา) เป็นที่อาศัย"

กระท่อมชนิดนี้ถ้าอยู่รวมกันได้หลายคนเรียกว่า อาศรม พวกฤาษีใช้เปลือกไม้หรือหนังสัตว์เป็นเครื่องนุ่งห่ม และขมวดผมมวย ให้เป็นกลุ่มสูงเรียกวา ชฎา อาศัยเลี้ยงชีพด้วยมูลผลาหารของป่า

ลัทธิที่ประพฤติมีการบำเพ็ญตบะทรมานกายอย่างเคร่งเคร ียด เพียรพยายามทนความหนาวร้อน อดอาหาร และทรมานด้วยวิธีต่างๆ

ความมุ่งหมายที่บำเพ็ญตบะ ยังคงหวังให้มีฤทธิเดช อย่างความคิดในชั้นเดิมอยู่ แต่ว่าเริ่มจะมุ่งทางธรรมแทรกขึ้นอีกชั้นหนึ่งด้วย กล่าวคือการบำเพ็ญตบะ เป็นทางที่จะซักฟอกวิญญาณให้บริสุทธิ์สะอาด เข้าถึงพรหม และเกิดฤทธิเดชเหนือเทวดามนุษย์

ในอีกแห่งหนึ่งกล่าวว่า "ผู้ที่อยากเป็นฤาษีเขามีตำราเรียนเรียกว่า คัมภีร์อารัญยกะ แปลว่า เนื่องหรือเกี่ยวกับป่า ชายหนุ่มที่ไปบวชเรียน เป็นฤาษีจะต้องเรียนและปฏิบัติที่มีกำหนดไว้ในคัมภีร ์ อะไรเป็นปัจจัย ให้ต้องประพฤติตนเป็นฤาษี ตอบได้ไม่ยากนักคือ เขาเห็นว่า ความประพฤติของ ชาวกรุงชาวเมืองในมัธยมประเทศสมัยโน้น เลอะเทอะเต็มที มักชอบประพฤติ แต่เรื่องสุรุ่ยสุร่ายเอ้อเฟ้อ อยู่ด้วยกามคุณ ต้องการจะมีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ เหมือนบรรพบุรุษครั้งดึกดำบรรพ์ ครั้งไกลโน้นประพฤติกันอยู่ ชะรอยบรรพบุรุษของชาวอริยกะครั้งกระโน้น จะไม่ใช่เป็นคนเพาะปลูก และใช้เปลือกไม้และหนังสัตว์เป็นเครื่องนุ่งห่ม เห็นที่จะเอาอย่างบรรพบุรุษ ครั้งดึกดำบรรพ์ ซึ่งยังไม่รู้จักหว่านไถและยังไม่รู้จักทอผ้า คงจะสร้างทับ กระท่อมกันอยู่ในป่า ไว้ผมสูงรกรุงรัง พวกฤาษีจึงได้เอาอย่าง"

เท่าที่กล่าวมาข้างต้นนั้นคือลักษณะและความเป็นอยู่ข องฤาษีโดยทั่วๆ ไป แต่ยังมีอีกลักษณะหนึ่งซึ่งไม่ได้กล่าวถึง คือ การมีบุตรและภรรยา

ฤาษีประเภทนี้มีมากจนเป็นที่รู้กันทั่วไปว่า ฤาษีมีเมียได้ ซึ่งจะได้เล่าถึงในประวัติของฤาษีต่างๆ ต่อไปข้างหน้า

ดังได้กล่าวแล้วว่าฤาษีต้องเพียรบำเพ็ญตบะกันอย่างหน ัก ฉะนั้นผลที่เกิดขึ้นจึงมีแตกต่างกันไปตามความเพียรพย ายาม ใครปฏิบัติได้มากก็ได้รับการยกย่องให้เป็นฤาษีอันดับ สูง เท่าที่ทราบเขาจัดฤาษีไว้ ๔ ชั้นดังนี้

๑.ราชรรษี (เจ้าฤาษี)
๒.พราหมณรรษี (พราหมณฤาษี)
๓.เทวรรษี (เทพฤาษี)
๔.มหรรษี (มหาฤาษี)

แต่ในบางแห่งก็จัดฤาษีที่สำเร็จตบะไว้เพียง ๓ ชั้นคือ
๑.พรหมฤาษี คือผู้มีตบะเลิศ ข่มจิตสงบได้จริง ไม่ยินดียินร้ายในสิ่งทั้งปวง
๒.มหาฤาษี คือเป็นพวกฤาษีชั้นกลาง มีตบะ ข่มกามคุณได้หมดสิ้นแล้ว
๓.ราชฤาษี ได้แก่ ฤาษีที่มีตบะฌานสำเร็จเป็นอันดับต้น

การไต่อันดับไม่ได้ใช้ระบบการสอบ ผู้ที่จะเลื่อนชั้นจะต้องปฏิบัติบำเพ็ญตบะจน ได้ผลตามที่กำหนดไว้ ซึ่งจะต้องใช้ความเพียรพยายามและความอดทนอย่างยิ่งยวด

ดังได้กล่าวแล้วว่า ฤาษีต้องเพียรบำเพ็ญตบะ กันอย่างหนัก ฉะนั้นผลที่เกิดขึ้นจึงมี แตกต่างกันไป ตามความเพียรพยายาม ใครปฏิบัติได้มากก็ได้รับการยกย่อง ให้เป็น

ฤาษีอันดับสูง เท่าที่ทราบเขาจัดฤาษีไว้ ๔ ชั้นดังนี้

๑.ราชรรษี (เจ้าฤาษี)
๒.พราหมณรรษี (พราหมณฤาษี)
๓.เทวรรษี (เทพฤาษี)
๔.มหรรษี (มหาฤาษี)

แต่ในบางแห่งก็จัดฤาษีที่สำเร็จตบะไว้เพียง ๓ ชั้นคือ
๑.พรหมฤาษี คือผู้มีตบะเลิศ ข่มจิตสงบได้จริง ไม่ยินดียินร้ายในสิ่งทั้งปวง
๒.มหาฤาษี คือเป็นพวกฤาษีชั้นกลาง มีตบะ ข่มกามคุณได้หมดสิ้นแล้ว
๓.ราชฤาษี ได้แก่ ฤาษีที่มีตบะฌานสำเร็จเป็นอันดับต้น

การไต่อันดับไม่ได้ใช้ระบบการสอบ ผู้ที่จะเลื่อนชั้น จะต้องปฏิบัติบำเพ็ญตบะจนได้ผลตามที่กำหนดไว้ ซึ่งจะต้องใช้ความเพียรพยายามและความอดทนอย่างยิ่งยว ด

ในคำไหว้ครู ที่ได้ยกมากล่าวในตอนต้น มีชื่อฤาษีที่คุ้นหูคนไทยส่วนมากอยู่ ๓ ตนด้วยกันคือ ฤาษีนารอด ฤาษีตาวัว ฤาษีตาไฟ

ฤาษีทั้งสามนี้คนระดับชาวบ้านสมัยก่อนรู้จักกันดี มักพูดถึงอยู่เสมอในตำนานพระพิมพ์ ที่ว่า จารึกไว้ในลานเงินก็ได้กล่าวถึงฤาษีตาวัว (งัว) และฤาษีตาไฟไว้เหมือนกัน ดังความว่า

"ตำบลเมืองพิษณุโลก เมืองกำแพงเพชร เมืองพิไชยสงคราม เมืองพิจิตร เมืองสุพรรณ ว่ายังมีฤาษี ๑๑ ตน ฤาษีเป็นใหญ่ ๓ ตนๆ หนึ่งฤาษีพีลาไลย ตนหนึ่งฤาษีตาไฟ ตนหนึ่งฤาษีตางัว เป็นประธานแก่ฤาษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่า เราท่านทั้งหลายนี้จะ เอาอันใดให้แก่ พระยาศรีธรรมาโศกราช ฤาษีทั้ง ๓ จึงว่าแก่ฤาษีทั้งปวงว่า เราจะทำด้วยฤทธิ์ทำด้วยเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้ฉะ นี้ฉลองพระองค์ จึงทำเป็นเมฆพัตร อุทุมพร เป็นมฤตย์พิศม์ อายุวัฒนะ พระฤาษีประดิษฐานไว้ในถ้ำเหวใหญ่น้อย เป็นอานุภาพแก่มนุษย์ทั้งหลาย สมณชีพราหมณาจารย์เจ้าไปถ้วน ๕๐๐๐ พรรษา

พระฤาษีองค์หนึ่งจึงว่าแก่ฤาษีทั้งปวงว่า ท่านจงไปเอาว่าน ทั้งหลายอันมีฤทธิ์ เอามาให้สัก ๑๐๐๐ เก็บเอาเกสรไม้อันวิเศษ ที่มีกฤษณาเป็นอาทิให้ได้ ๑๐๐๐ ครั้นเสร็จแล้ว ฤาษีจึงป่าวร้องเทวดาทั้งปวง ให้ช่วยกันบดยา ทำเป็นพระพิมพ์ไว้สถานหนึ่ง ทำเป็นเมฆพัตรสถานหนึ่ง ฤาษีทั้ง ๓ องค์นั้น จึงบังคับฤาษีทั้งปวงให้เอาว่านทำเป็นผง เป็นก้อน ประดิษฐานด้วยมนต์คาถาทั้งปวงให้ประสิทธิทุกอัน จึงให้ฤาษีทั้งนั้น เอาเกสรและว่านมาประสมกันดีเป็นพระให้ประสิทธิแล้ว ด้วยเนาวหรคุณประดิษฐานไว้บนเจดีย์อันหนึ่ง ถ้าผู้ใดให้ถวายพระพรแล้ว จึงเอาไว้ใช้ตามอานุภาพเถิด ให้ระลึกถึงคุณพระฤาษีที่ทำไว้นั้นเถิด"

ดังนี้แสดงว่า แต่กาลก่อนทางภาคพื้นประเทศไทยเราก็มีฤาษีอยู่มาก โดยเฉพาะ ฤาษีตาวัว กับ ฤาษีตาไฟ ติดปากคนมากกว่าฤาษีอื่นๆ และประวัติก็มีมากกว่า เท่าที่ทราบพอจะรวบรวมได้ดังต่อไปนี้

ฤาษีตาวัว นั้นเดิมทีเป็นสงฆ์ตาบอดทั้งสองข้าง แต่ชอบเล่นแร่แปรธาตุ จนสามารถทำให้ปรอทแข็งได้ แต่ยังไม่ทันใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างไร ก็เอาไปทำหล่นตกถาน (ส้วมของพระตามวัด) เสีย จะหยิบเอามาก็ไม่ได้ เพราะตามองไม่เห็น เก็บความเงียบไว้ ไม่กล้าบอกใคร จนกระทั่งวันหนึ่ง ลูกศิษย์ไปถาน แลเห็นแสงเรืองๆ จมอยู่ใต้ถาน ก็กลับมาเล่าให้อาจารย์ฟัง หลวงตาดีใจบอกให้ศิษย์พาไป เห็นแสงเรืองตรงไหนให้จับมือจุ่มลงไปตรงนั้น จะเลอะเทอะอย่างไรช่างมัน

ศิษย์กลั้นใจทำตาม หลวงตาก็ควักเอาปรอทคืนมาได้ จัดแจงล้างน้ำให้สะอาดดีแล้วก็แช่ไว้ในโถน้ำผึ้งที่ท ่านฉัน ไม่เอาติดตัวไปไหนอีก เพราะกลัวจะหล่นหาย

อยู่มาวันหนึ่ง ท่านก็มารำพึงถึงสังขาร ว่าเราจะมานั่งตาบอดอยู่ทำไม มีของดีของวิเศษอย่างนี้แล้ว ก็น่าจะลองดู จึงให้ศิษย์ไปหาศพคนตายใหม่ๆ เพื่อจะควักเอาลูกตา แต่ลูกศิษย์หาศพใหม่ๆ ไม่ได้ ไปพบวัวนอนตายอยู่ตัวหนึ่ง เห็นเข้าที่ดีก็เลยควักลูกตาวัวมาแทน

หลวงตาจึงเอาปรอทที่แช่น้ำผึ้งไว้มาคลึงที่ตา แล้วควักเอาตาเสียออก เอาตาวัวใส่แทน แล้วเอาปรอทคลึงตามหนังตา ไม่ช้าตาทั้งสองข้างก็กลับเห็นดีดังธรรมดา แล้วหลวงตาก็สึกจากพระ เข้าถือเพศเป็นฤาษี จึงได้เรียกกันว่าฤาษีตาวัว มาตั้งแต่นั้น

ส่วน ฤาษีตาไฟ นั้นยังไม่พบต้นเรื่องว่า ทำไมจึงเรียกว่า ฤาษีตาไฟ ที่ตาของท่านจะแรงร้อนเป็นไฟ แบบตาที่สามของพระอิศวรกระมัง

อย่างไรก็ตาม ฤาษีทั้งสองนี้เป็นเพื่อนเกลอกัน และได้สร้างกุฎีอยู่ใกล้กันบนเขาใกล้เมืองศรีเทพ ท่านออกจะรักและโปรดมาก มีอะไรก็บอกให้รู้ ไม่ปิดบัง

วันหนึ่งฤาษีตาไฟได้เล่าให้ศิษย์คนนี้ฟังว่า น้ำในบ่อสองบ่อที่อยู่ใกล้กันนั้นมีฤทธิ์อำนาจไม่เหม ือนกัน น้ำในบ่อหนึ่ง เมื่อใครเอามาอาบก็จะตาย และถ้าเอาน้ำอีกบ่อหนึ่งมารดก็จะฟื้นขึ้นมาได้อีก

ศิษย์ไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้ ฤาษีตาไฟจึงบอกว่า จะทดลองให้ดูก็ได้ แต่ต้องให้สัญญาว่า ถ้าตนตายไปแล้ว ต้องเอาน้ำอีกบ่อหนึ่งมารดให้คืนชีวิตขึ้นใหม่ ศิษย์ก็รับคำ ฤาษีตาไฟจึงเอาน้ำในบ่อตายมาอาบ ฤาษีก็ตาย ฝ่ายศิษย์เห็นเช่นนั้นแทนที่จะทำตามสัญญา กลับวิ่งหนีเข้าเมืองไปเสีย

กล่าวฝ่ายฤาษีตาวัว ซึ่งเคยไปมาหาสู่ฤาษีตาไฟอยู่เสมอ เมื่อเห็นฤาษีตาไฟหายไปผิดสังเกตเช่นนั้นก็ชักสงสัย จึงออกจากกุฎีมาตา ม เมื่อเดินผ่านบ่อน้ำตายเห็นน้ำในบ่อเดือด ก็รู้ว่าเกิดเหตุร้ายขึ้นแล้ว เดินต่อไปอีกก็พบซากศพของฤาษีตาไฟ

ฤาษีตาวัวจึงตักน้ำอีกบ่อหนึ่งมาราดรด ฤาษีตาไฟก็ฟื้นคืนชีพขึ้นมา แล้วเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ฤาษีตาวัวฟัง และว่าจะต้องแก้แค้นศิษย์ลูกเจ้าเมือง ตลอดจนประชาชนพลเมืองทั้งหมดอีกด้วย

ฤาษีตาวัวก็ปลอบว่า อย่าให้มันรุนแรงถึงอย่างนั้นเลย ฤาษีตาไฟก็ไม่เชื่อฟังได้เนรมิตวัวขึ้นตัวหนึ่ง เอาพิษร้ายบรรจุไว้ในท้องวัวจนเต็ม แล้วปล่อยวัวกายสิทธิ์ให้เดินขู่คำรามด้วยเสียงกึกก้ อง รอบเมืองทั้งกลางวันกลางคืน แต่เข้าเมืองไม่ได้ เพราะทหารรักษาประตูปิดประตูไว้

พอถึงวันที่เจ็ด เจ้าเมืองเห็นว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้นก็สั่ง ให้เปิดประตูเมือง วัวกายสิทธิ์คอยทีอยู่แล้วก็วิ่งปราดเข้าเมือง ทันทีนั้นท้องวัวก็ระเบิดออก พิษร้ายก็กระจายพุ่งออกมาทำลาย ผู้คนพลเมืองตายหมด เมืองศรีเทพก็เลยร้างมาแต่ครั้งนั้น

ถ้าว่าตามเรื่องที่เล่ามานี้ ฤาษีตาวัวก็ดูจะใจดีกว่าฤาษีตาไฟ และคงจะเป็นด้วยฤาษีตาวัวเป็นผู้ช่วยให้ฤาษีตาไฟฟื้น คืนชีพขึ้นมานี่เองกระมัง ทางฝ่ายแพทย์แผนโบราณจึงได้ถือเป็นครู ส่วนทางฝ่ายทหารออกจะยกย่องฤาษีตาไฟ ดังมีมนต์บทหนึ่งกล่าวไว้ในตำราพิชัยสงครามว่า "ขอพระศรีสุทัศน์เข้ามาเป็นดวงใจ พระฤาษีตาไฟเข้ามาเป็นดวงตา" ดังนี้

ปรัชญาหนังตะลุง : ฤาษีธรรมกับฤาษีนกเค็ด

ฤาษีธรรมกับฤาษีนกเค็ด

ฤาษี จัดเป็นตัวละครสำคัญในหนังตะลุงซึ่งจะต้องมี หนังตะลุงหลังจากโหมโรงแล้วก็จะออกฤาษี หรือเชิดฤาษีก่อน เพื่อแสดงการกราบไหว้สิ่งศักดิ์ต่างๆ เช่น พระรัตนตรัย เทวดา เจ้าที่เจ้าทาง เป็นต้น ...

อีกอย่างหนึ่ง การอัญเชิญฤาษีออกมาก็เพื่อสยบสิ่งต่างๆ ที่อาจพึงมีในการแสดงต่อไป จากผู้ไม่หวังดีที่อาจใช้ไสยเวทย์ มนต์ดำ มาทำลาย รบกวน หรือหยอกล้อ ทำให้การแสดงไม่ราบรื่น ได้ ...ซึ่งปรกตินายหนังเอง มักจะมีคาถา หรือรู้ไสยเวทย์พื้นฐาน เพื่อป้องกันสิ่งเหล่านี้ด้วย...

อันที่จริง ฤาษี นั่นคือ นักพรต หรือ นักบวช มิใช่พระสงฆ์ ... แต่ในการดำเนินตามท้องเรื่อง ฤาษีก็คือเจ้าอาวาสวัด ผู้เป็นอาจารย์สอนบรรดาศิษย์ผู้อยู่ภายในสำนัก ...ซึ่งในกรณีนี้ อาจมองได้ว่าโบราณ มิกล้านำ พระสงฆ์ มาแสดงเป็นตัวละครโดยตรง เพราะเกรงกลัวบาป จึงต้องใช้ ฤาษี แทน ...

ฤาษีในหนังตะลุง จะจำแนกเป็น ๒ ประเภท คือ ฤาษีธรรม กับ ฤาษีนกเค็ด ....(แม้ในหนังตะลุงบางเรื่องอาจมีฤาษีหลายตนก็ตาม แต่ก็จะจำแนกเป็นฤาษีธรรมหรืฤาษีนกเค็ดอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น)..

ฤาษีธรรม คือ พระอาจารย์ของฝ่ายพระเอกหรือนางเอก จะสอนวิชาธัมมธัมโม สอนคนให้เป็นคนดี มีศีล มีคุณธรรม... และฤาษีธรรมจะมีฤทธิ์ มีวิชาไสยเวทย์ มนต์ดำ มีของดี หรือเครื่องรางของขลัง ให้ลูกศิษย์ไว้ใช้หรือป้องกันตัวด้วย...

ฤาษีนกเค็ด คือ อาจารย์ของฝ่ายผู้ร้ายหรือบางครั้งก็เป็นอาจารย์ของพวกยักษ์... ฤาษีนกเค็ดนี้ ไม่ตั้งอยู่ในศีลในธรรม เช่น ชอบกินเหล้า หรือเรื่องลามกต่างๆ เป็นต้น ...แต่ก็จะมีฤทธิ์และสิ่งอื่นๆ เช่นเดียวกับฤาษีธรรม...

วิชาของฤาษีธรรมจะเหนือกว่าของฤาษีนกเค็ด ข้อนี้บ่งชี้ให้เห็นว่า ธรรมะย่อมชนะอธรรม เสมอ

ในการที่หนังตะลุงจำแนกฤาษีออกเป็น ๒ ประเภท นี้ อาจสะท้อนความเป็นจริงได้ว่า นักบวช นักพรต ก็มีทั้งพวกตั้งอยู่ในศีลในธรรมและพวกประพฤตินอกรีตนอกรอย ...และอาจารย์มักจะสอนศิษย์ตามมุมมองหรือความคิดเห็นของตัวเอง ...

บรรดาศิษย์ก็เช่นเดียวกัน ถ้าไปอยู่กับฤาษีธรรมก็เป็นคนดี ...ถ้าไปอยู่กับฤาษีนกเค็ดก็จะเป็นคนชั่ว ....ข้อนี้เป็นการสะท้อนการคบคนหรือการเข้าสังคมอย่างหนึ่ง ...ดังพระบาลีว่า..

ยํ เว เสวติ ตาทิโส คบคนเช่นใดก็เป็นคนเช่นนั้นแล

วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การเก็บข้าวด้วยแกะ

การเก็บข้าวด้วยแกะ

ในเอกสารชื่อ

เอกสารมณฑลนครศรีธรรมราชในสมัยที่เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นข้าหลวงเทศาภิบาล รศ.115-125 (พ.ศ.2439-2449)”

เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ในเวลานั้น ท่านยังเป็นพระยาอยู่ บรรดาศักดิ์และราชทินนามคือ พระยาสุขุมนัยวินิจ
ตำแหน่งข้าหลวงพิเศษตรวจราชการเมืองสงขลาและพัทลุง
ท่านมาตรวจราชการแถวๆ นี้ เมื่อ รศ. 114 (ปี 2438)
ตรวจเสร็จก็เขียนรายงานทูลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระยศขณะนั้นทรงเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดี (รัฐมนตรี) กระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นด้วย

ด้วยความปรารถนาดีต่อบ้านเมือง
พอพระยาสุขุมนัยวินิจมาเห็นการเก็บข้าวของชาวบ้านย่านนี้
ท่านก็เขียนรายงานส่วนหนึ่งว่าอย่างนี้ครับ


“...นาปีนี้บริบูรณ์ทั่วกันหมดถึงแก่เก็บไม่ทัน ต้องขายเข้าในก็มีบ้าง มากที่แขวงเมืองนคร เมืองพัทลุงก็เหมือนกัน แต่ข้าพระพุทธเจ้ามีความเสียดายอยู่อีกอย่างหนึ่งซึ่งราษฎรชาวเมืองสงขลา เมืองนคร เมืองพัทลุง มาพากันนิยมในการเก็บเข้า ไม่เกี่ยวเหมือนแถบข้างเหนือ ข้าพระพุทธเจ้าได้ไปยืนดูเขาเก็บออกรำคาญในตาเปนล้นเกล้าฯ เสมือนยืนดูคนมีท้าวบริบูรณ์ดีอยู่แต่ไม่เดิน ใช้คลานหรือคุกเข่าไปตามถนนก็เช่นกัน ถ้าได้เดินดูเข้าไร่หนึ่งฝีมือเก็บเร็วๆ อยู่ใน ๔ วัน ๕ วันจึงจะแล้ว ถ้าเกี่ยววันเดียวหรือวันครึ่งก็แล้วเสร็จ...

..........
..........
หนังสือฉบับนี้ถวายข้อสรุปและความเห็นในประเด็นนี้ว่า
น่าจะแจกเคียวและออกระเบียบให้ชาวบ้านใช้เคียวแทนแกะ!!!!!

สงสัยมั้ยครับ
ว่าพระวินิจฉัยของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ทรงเป็นอย่างไร?

ทรงวินิจฉัยโดยใจความว่า
จารีตประเพณีหรือวิถีชาวบ้านที่ดำเนินมาเนิ่นนานย่อมต้องมีเหตุผล
ที่ราษฎรไม่ใช้เคียวคงไม่ใช่เพราะไม่รู้จักใช้
แต่คงเพราะเหตุอะไรบางอย่าง
และทรงไม่เห็นด้วยกับที่จะบังคับให้ราษฎรใช้เคียว
อานิสงส์ที่มีเสนาบดีผู้ทรงรอบรู้รอบคอบและละเอียดอ่อนครั้งนั้น
ทำให้เด็กจำนวนนึงมีโอกาสเห็นและสัมผัส
"แกะ"
ในกิจกรรมเก็บข้าววันนี้

เทคนิคที่เกษตรกรใช้ในการคัดพันธุ์ โดยมากคือการเก็บข้าวด้วยแกะหรือเคียว (เครื่องมือเกี่ยวข้าว) เพื่อป้องกันไม่ให้มีข้าวปนอีกทั้งในปักษ์ใต้ฤดูกาลไม่เหมือนภาคอื่นๆ เพราะได้ชื่อว่าเมืองฝนแปดแดดสี่ การเก็บข้าวด้วย แกะ เป็นการควบคุมความชื้นของรวงข้าวที่จะต้องเก็บไว้ในยุ้งฉางเป็นเรือนปีเพราะการทำนาในปักษ์ใต้ส่วนใหญ่ไม่ได้ทำนาเพื่อการค้าขาย ส่วนใหญ่จะเป็นการทำนาเพื่อเก็บไว้เป็นเสบียงกรังประจำครัวเรือนใช้เพื่อบริโภคของสมาชิกในบ้านไปตลอดปี นอกจากผลิตผลจะมีจำนวนมากก็จะใช้สำหรับเลี้ยงสัตว์ และจำหน่ายเป็นรายได้ของครัวเรือนอีกทั้งการเก็บเลียงข้าวที่เก็บด้วยแกะสามารถเก็บไว้ในยุ้งข้าวหรือเรินข้าววางซ้อนๆกันได้จำนวนมาก การวางซ้อนจะซ่อนคอรวงข้าวไว้ด้านในเพื่อให้ความชื้นจากคอรวงข้าวรักษาระดับความชื้นที่เหมาะสมตามฤดูกาลและจะวางซ้อนเป็นวงกลมตามขนาดของเรินข้าว โดยซ้อนสูงขึ้นเรื่อยๆตามขนาดความสูงของเรินข้าว เมื่อจะรื้อออกมานวด เซ หรือสี เพื่อจะได้ข้าวสารใช้หุงกิน ก็จะรื้อเอาข้าวเก่ามากินก่อนส่วนข้าวนาปีใหม่จะเก็บไว้กินปีถัดไป นี่เป็นวิธีคิด และวิถีชีวิตที่รู้เท่าทันธรรมชาติของชาวนาปักษ์ใต้

วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

คนเล่นเงา











1.ความเป็นมาของวายังนักวิชาการมีความเห็นแตกต่างกัน3แนวทางคือกลุ่มแรก ยืนยันว่าวายังเป็นศิลปะการแสดงของท้องถิ่นชวามาแต่โบราณ มีกำเนิดบนเกาะชวาเนื่องมาจากประเพณีของคนท้องถิ่นซึ่งนับถือสิ่งศักด์สิทธิ์และบูชาบรรพบุรุษนั่นเอง หลักฐานที่ใช้สนับสนุนของกลุ่มนี้มีหลายประการ กล่าวคือ ภาษาและคำศัพท์เฉพาะทางเทคนิคการแสดงเป็นภาษาชวาโบราณ ประเพณีการชมละครวายังที่เก่าแก่ยังคงเห็นปฏิบัติกันอยู่ทั่วไป กล่าวคือ บริเวณที่นั่งของผู้ชมฝ่ายชายอยู่คนละด้านของฝ่ายหญิง ผู้ชมฝ่ายชายนิยมนั่งด้านเดียวกับผู้เชิดหนังเพราะเป็นด้านที่ชมการแสดงได้สนุกกว่าด้านที่เห็นเงา ฝ่ายหญิงถูกกำหนดที่นั่งให้อยู่ด้านตรงข้ามกับผู้ชายเหตุผลอีกประการหนึ่งคือ วายังเป็นการแสดงที่แปลกแตกต่างและโดดเด่นจากการแสดงอื่นๆ ทั้งหมดในเอเชียจึงน่าจะเชื่อได้ว่าศิลปะการแสดงวายังเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของอินโดนีเซียอย่างแท้จริงกลุ่มที่สอง เชื่อว่าศิลปะการเชิดหนังนี้ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย เพราะอินเดียมีการแสดงเชิดหนังและเชิดหุ่นมาตั้งแต่สมัยโบราณ วัฒนธรรมอินเดียเจริญและเก่าแก่กว่าชวา ประวัติศาสตร์ยุคโบราณของชวาได้เห็นการแผ่ขยายอารยธรรมอินเดียเป็นระยะเวลาหลายร้อยปี ด้วยเหตุนี้ ชวาจึงน่าที่จะเป็นฝ่ายรับการแสดงวายังจากอินเดีย นอกจากนี้ตัวละครตลกในวายังของชวาที่ชื่อ ซีมาร์ ( Semar) มีลักษณะที่ละม้ายคล้ายคลึงกับตัวตลกอินเดีย ที่ปรากฏในละครสันสกฤตอันโด่งดังของอินเดียสมัยคริสต์ศตวรรษที่3-8กลุ่มที่สาม สนับสนุนความคิดที่ว่า การเชิดหนังและหุ่นชนิดต่างๆน่าที่มาจากประเทศจีนเพราะชนชาติจีนรู้จักศิลปะประเภทนี้มานานกว่า2000ปีแล้วโดยมีหลักฐานบันทึกเรื่องราวใน121 ปีก่อนคริสต์ศักราชว่า จักรพรรดิองค์หนึ่งในราชวงค์ฮั่นทรงโปรดให้ทำพิธีเข้าทรงเรียกวิญญาณนางสนมคนโปรดของพระองค์ การทำพิธีเช่นนี้อาศัยเทคนิคการเชิดหนังนั่นเองแม้ไม่มีข้อยุติที่แน่ชัดว่า จริงๆแล้ววายังของชวามาจากไหน และได้รับอิทธิพลจากจีนหรืออินเดียวหรือไม่ก็ตาม แต่สิ่งที่น่าจะสันนิษฐานได้ก็คือ ในสังคมแบบชาวเกาะซึ่งนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในธรรมชาติ และมีประเพณีบูชาบรรพบุรุษเช่นเดียวกับสังคมโบราณในประเทศเอเชียทั้งหลายการแสดงเชิดหนังและเชิดหุ่นกระบอกเป็นศิลปะที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติอยู่แล้วในสิ่งแวดล้อมของสังคมดังกล่าวความสัมพันธ์ของวายังกันพิธีกรรมทางศาสนาย่อมแยกกันไม่ออก เงาต่างๆที่เกิดขึ้นเปรียบเสมือนดวงวิญญาณของบรรพบุรุษที่ศิลปินผู้เชิดบันดาลให้เกิดขึ้น คนโบราณนิยมประกอบพิธีเรียกวิญญาณบรรพบุรุษในงานมงคลต่างๆ เช่น งานแต่งงาน เพื่อนให้วิญญาณของบรรพบุรุษได้มารับรู้เป็นสักขีพยานการแสดงวายังจึงเป็นศิลปะการแสดงที่มีวามขลังและศักดิ์สิทธิ์ดุจพิธีกรรมทางศาสนา การทำพิธีนี้เป็นที่ยอมรับในสังคม การเชิดหนังวายังจึงถูกนำมาใช้โดยบุคคลสำคัญซึ่งทำตนเป็นสื่อกลางรับจ้างอัญเชิญวิญญาณ รวมทั้งการแสดงเรื่องราวที่เกี่ยวกับปรัชญาและศีลธรรมอีกด้วย มีผู้สันนิษฐานว่าคำว่า “วายัง” มีวิวัฒนาการมาจากคำเก่าของชวา คือ “วาห์โย” ซึ่งแปลว่า การปรากฎให้เห็นซึ่งการดลใจทางวิญญาณต่อเมื่ออารยธรรมฮินดูเข้ามาสู่เกาะชวาแล้วนั้น วายังจึงได้พัฒนาเป็นศิลปะการแสดงที่แท้จริงได้รับการปรับปรุงจนเป็นศิลปะชั้นสูง มีบันทึกในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่าในคริสต์ศตวรรษที่ 11 วายัง ปูร์วาเป็นการแสดงที่แพร่หลายมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในราชวังต่างๆ บนเกาะชวา นอกจากนี้ วานวรรณกรรมราชสำนักสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 11 และ 12 ได้บันทึกเกี่ยวกับละครวายังว่าเป็นศิลปะการแสดงที่จับใจและสร้างความสะเทือนอารมณ์ได้อย่างดีเยี่ยม กษัตริย์หลายพระองค์ทรงอุปถัมภ์คณะละครวายัง บางพระองค์โปรดให้สร้างตัวหุ่นขึ้นใหม่ทั้งชุดเพื่อเก็บรักษาเป็นสมบัติของตระกูลวงศ์ศิลปินผู้เชิดหุ่นและพากย์บทบรรยายและบทเจรจาได้รับการดูแลอุปถัมภ์อย่างดีในฐานะศิลปินเอกประจำราชสำนัก กษัตริย์บางพระองค์ทรงสนพระทัยในศิลปะและเทคนิคการแสดงของผู้เชิดหนังถึงขนาดฝึกและออกแสดงด้วยพระองค์เอง แม้ว่าในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 16 ชาวมุสลิมเข้ามาปกครองเกาะชวาแล้วก็ตาม แต่ความนิยมละครวายังมิได้เสื่อมลง เพียงแต่ย้ายศูนย์กลางความเจริญไปพร้อมกับการเปลี่ยนที่ตั้งของเมืองหลวงของผู้ปกครองมุสลิม และจนกระทั่งทุกวันนี้ละครวายังได้รบการยกย่องว่าเป็นศิลปะสำคัญประจำชาติของอินโดนีเซียที่เก่าแก่ที่สุด


2.ชิดของวายังการแสดงเชิดหุ่นเงาหรือวายัง ปูร์วาฉบับดั้งเดิมใช้หุ่นเชิดที่ทำด้วยหนังสัตว์ จึงเรียกอีกชื่อว่า “วายัง กูลิต” (Wayang Gulit) ซึ่งหมายถึง การเชิดหนังเพราะกูลิตแปลว่าหนังสัตว์ วายัง กูลิตนี้เป็นศิลปะการแสดงที่งดงามและวิจิตรกว่าการแสดงชนิดอื่นทั้งหมด การแสดงนี้รวมศิลปะหลายด้านไว้ด้วยกัน อาทิ ด้านการประพันธ์บทละคร การดนตรี นาฎกรรม ศิลปกรรม ทั้งยังสะท้อนความลึกซึ้งในเชิงประวัติศาสตร์ การศึกษา ปรัชญาศาสนาความลึกลับและสัญลักษญ์ในการตีความหมายนอกจากวายัง กูลิตแล้วยังมีการแสดงวายังในรูปแบบอื่นอีกหลายชนิด ได้แก่1. วายัง เบเบร์ (Wayang Beber) เป็นการแสดงที่เก่าแก่พอๆกับวายัง กูลิต หรืออาจจะเก่าแก่กว่าด้วยซ้ำ เป็นการแสดงวายังชนิดที่ทดลองแรกสุด เบเบร์แปลว่าคลี่ตัว วิธีแสดงใช้วิธีคลี่ม้วนกระดาษหรือผ้าซึ่งเขียนรูปต่างๆ จากลายสลักบนกำแพงในโบสถ์หรือวิหาร ภาพวาดเหล่นนี้ผ่านตาผู้ชมไปเรื่อยๆเหมือนดูภาพการ์ตูน ปัจจุบันวายัง เบเบร์ไม่ได้รับความนิยมแล้วเพราะเทคนิคการแสดงไม่มีชีวิตชีวาและไม่ดึงูดผู้ชมเท่าวายัง กูลิต2. วายัง เกอโด๊ก (Wayang Gedog) เป็นการแสดงที่พัฒนามาจากวายัง กูลิต ตัวหุ่นของวายัง เกอโด๊กทำจากหนังสัตว์เช่นกัน นิยมแสดงเรื่องราวของเจ้าชายปันหยี (อิเหนา) ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12 และเรื่องราวของกษัตริย์ชวาภายใต้ อารยธรรมมุสลิมผู้ที่ริเริ่มสร้างสสรค์การแสดงวายัง เกอโด๊ก เป็นนักบุญมุสลิมท่านหนึ่งซึ่งมีชีวิตในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 163. วายัง โกเล็ก (Wayang Golek) พัฒนามาจากวายัง กูลิต เช่นเดียวกัน หากแต่มีจุดประสงค์เพื่อจัดแสดงได้ในเวลากลางวันโดยไต้องอาศัยความมืดกับตะเกียง ตัวหุ่นของวายัง โกเล็กจึงมีลักษณะเป็นหุ่นตุ๊กตา 3 มิติ ทำจากไม้แกะสลัก ส่วนศรีษะของหุ่นทาสีสดใสสวยงาม ลำตัวหุ่นซึ่งทำจากไม้เช่นเดียวกันมีแค่เอว จากเอวลงไปใช้ผ้าบาติกคลุมลงให้ยาวเสมือนสวมเครื่องแต่งกายหรือกระโปรงกรอมเท้า ภายในผ้านี้มีที่จับตัวหุ่น ดังนั้นเวลาเชิดจะไม่เห็นมือผู้เชิด ไหล่และข้อศอกตัวหุ่นขยับได้โดยใช้วิธีเชื่อมกับก้านไม้ยาวๆสำหรับกระตุกให้เคลื่อนไหวได้ เนื้อเรื่องที่แสดงกล่าวถึงเรื่องราวของนักรบผู้กล้าหาญของต้นราชวงศ์ชาวมุสลิมในหมู่เกาะชวา ผู้ที่คิดสร้างวายัง โกเล็ก คนแรกเป็นนักบุญมุสลิมเช่นกัน ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ปัจจุบันการแสดงวายัง โกเล็ก ยังคงได้รับความนิยมในภาคกลางและภาคตะวันตกของเกาะชวา4. วายัง กลิติก (Wayang Klitik) หมายถึง วายังขนาดเล็กและบาง ตัวหุ่นทำจากไม้แต่มีขนาดเล็กและบางกว่าวายัง โกเล็กมาก ส่วนแขนทำด้วยหนังสัตว์เชื่อมต่อกับส่วนลำตัวให้ดูกลมกลืนกัน ตัวหุ่นสูงประมาณ 10 นิ้ว เวลาเชิดหันด้านข้างเหมือนกับวายัง กูลิต เรื่องราวที่แสดงกล่าวถึงสมัยที่ศูนย์กลางแห่งอารยธรรมฮินดูเสื่อมลงและในที่สุดผู้บุกรุกชาวมุสลิมก็เข้ามาครอบครองในช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นการแสดงที่มุ่งสรรเสริญความยิ่งใหญ่ของชาวมุสลิมวายัง กลิติก ยังมีอีกรูปแบบหนึ่งคือ เป็นการแสดงหุ่นดีบุกซึ่งตัวขนาดเล็กเท่านิ้วคนตั้งไว้บนโต๊ะกระจกและทำให้เคลื่อนไหวโดยการใช้แม่เหล็กลากไปใต้กระจก แขนของหุ่นเหล่านี้เคลื่อนไหวได้ วายัง กลิติกชนิดนี้สร้างขึ้นสำหรับเด็ก5. วายัง มัดยา (Wayang Madya) เป็นการแสดงตามแบบฉบับของอินโดนีเซีย เล่าเรื่องราวของชาวอาหรับและวรรณคดีต่างชาติในเอเชีย รวมทั้งเรื่องราวของบุคลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพระศาสดามุฮัมมัด

การแสดงชนิดนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อเผยแพร่ศาสนาอิสลาม นอกจากนี้การแสดงวายังชนิดที่ต้องเชิดตัวหนังและหุ่นแบบต่างๆ ตังกล่าวข้างต้นแล้วยังมีศิลปะการแสดงที่น่าสนใจที่เลียนแบบการเชิดหนังหรือเชิดหุ่นกระบอกซึ่งใช้คนแสดงจริง ได้แก่1. วายัง โตเป็ง (Wayang Topeng) เรียกสั้นๆว่า “โตเป็ง” เป็นระบำหน้ากาก ผู้ชายแสดงล้วน หน้ากากแกะสลักจากไม้มีลักษณะหน้าปูดนูนดูผิดธรรมชาติ การแสดงนี้เชื่อว่ามีความเป็นมาจากพิธีกรรมบวงสรวงบูชาภูตผีปีศาจในสมัยโบราณ ลีลาการเต้นคล้ายตัวหุ่นจึงใช้ชื่อว่า “วายัง” คณะแสดงมีจำนวน 10 คน แบ่งเป็นผู้แสดง 6 คน และนักดนตรี 4 คน ควบคุมการแสดงโดยผู้กำกับวงซึ่งเรียกว่า”ดาลัง” เรื่องราวที่นิยมแสดงคือการผจญภัยของเจ้าชายปันหยี กษัตริย์และนักรยที่มีชื่อเสียงของชวาในศตวรรษที่ 12 ส่วนใหญ่เป็นฉากรักและฉากรบ บางโอกาสจะเพิ่มฉากตลกบันเทิงเพื่อให้การแสดงมีรสชาติมากขึ้น แต่การแทรกบทตลกจะต้องไม่ทำให้เนื้อเรื่องหลักเสียหาย เป็นการแสดงที่นิยมในภาคตะวันออกของชวาในบาหลี เป็นที่โปรดปรานทั้งในราชวังและในระดับชาวบ้าน การแสดงชนิดนี้มีข้องบังคับอย่างหนึ่งคือ ถ้าแสดงต่อหน้าพระพักตร์กษัตริย์ ผู้แสดงจะต้องถอดหน้ากากออก ดังนั้นผุ้แสดงต้องแสดงบทบาทและอารมณ์มากกว่าปกติผู้แสดงต้องแสดงบทบาทและอารมณ์มากกว่าปกติ

2. วายัง โอรัง (Watang Orang) แปลว่า "หุ่นที่เป็นมนุษย์" เป็นนาฏศิลป์อินโดนีเซียที่เป็นแบบฉบับสมบูรณ์โดยมาตราฐานของศิลปะราชสำนัก ได้รับอิทธิพลจากนาฏลีลาของชาวชาวตะวันออกเป็นระบำที่ไม่สวมหน้ากาก นำมาเผยแพร่ในชวาตะวันตกและภาคกลาง แสดงเรื่องราวที่นำมาจากรามายณะและมหาภารตะ วายัง โอรัง จึงกลายเป็นวายัง กูลิต ฉบับที่ใช้คนแสดงแทนการเชิดหนัง ในระยะแรกเครื่องแต่งกายเป็นลักษณะเครื่องแต่งกายทั่วไปในราชวัง ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องแต่งกายให้คล้ายกับที่ปรากฏหุ่นวายัง กูลิต การแสดงที่พิเศษนั้น ผู้แสดงเป็นเจ้านายและเชื้อพระวงศ์ในราชสำนักทั้งสิ้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นศิลปะที่แท้จริงของราชสำนักชวา ต่อมาในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักธุรกิจชาวจีนผู้หนึ่งได้จัดตั้งคณะละคราวยัง โอรัง ที่มีผู้แสดงเป็นศิลปินอาชีพ และมีลักษณะเป็นธุรกิจ ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก จนทุกวันนี้มีคณะละครประเภทนี้ 20 กว่าคณะ ส่วนในราชสำนัก หลังจากที่เศรษฐกิจตกต่ำลงในช่วงสงครามโลกทำให้ไม่สามารถทำนุบำรุงเลี้ยงดูคณะละครในวังได้อีกต่อไป ในที่สุดการแสดงวายัง โอรังก็ต้องถึงแก่การสิ้นสุดลง เหลือแต่คณะละครของศิลปินนักธุรกิจเท่านั้นการแสดงวายงในอินโดนีเซียมีมากมายหลายชนิด หากแต่วายัง กูลิตและวายัง โกเล็กเท่านั้น ที่ได้รับความสนใจมากที่สุด โดยเฉพาะวายัง กูลิตหรือวายัง ปูร์วา เป็นที่รู้จักแพร่หลายในระดับนานาชาติ ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติและศิลปะการแสดงอันเป็นเอกลักษณ์ของดินโดนีเซียก็ว่าได้3. องค์ประกอบในการแสดง



องค์ประกอบสำคัญของการแสดงวายัง กูลิต มีดังนี้ตัวหนังหรือตัวหุ่นที่ใช้เชิดส่วนใหญ่แล้วตัวหนังวายัง กูลิต ทำจากหนังควาย ตัวหนังที่มีคุณภาพดีที่สุดต้องทำจากหนังลูกควาย เพราะสะอาดปราศจากไขมันจะทำให้สีที่ทาติดทนดี วิธีการทำตัวหนังนั้น จะต้องนำหนังลูกควายมาเจียน แล้วฉลุเป็นรูปร่างและลวดลาย ใบหน้าของตัวหนังหนด้านข้าง ลำตัวหันลักษณะเฉียง ส่วนเท้าหันด้านข้างทิศทางเดียวกันกับใบหน้าของตัวหนัง
นายหนังหรือดาแล เดะแม สาแม เล่าว่าตัวเองนั้นสืบทอดการแสดงนี้ต่อมาตั้งแต่รุ่นปู่ รุ่นพ่อ ปัจจุบัน
คณะของเดะแมมีอายุกว่า 40 ปี แต่มีจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญนั่นคือ เดะแม คิดว่าวายังกูเละควรจะต้องสื่อสารได้กับ
ทั้งคนไทยพุทธและคนมลายูมุสลิม จึงคิดปฏิวัติการแสดงด้วยการเริ่มใช้ภาษาไทยพากย์สลับกับภาษามลายูถิ่นที่
เคยใช้พากย์เป็นพื้นฐาน และได้เปลี่ยนชื่อคณะจากเดิมคือ เดะแม ตะลุงศิลป์ มาเป็น “เดะแม ตะลุงสองภาษา”
แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ก็นับเวลาผ่านไปเกือบ 20 เต็มนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งคณะ
เดะแมเล่าต่อไปว่า การแสดงวายังกูเละในสมัยก่อนได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และตัวเดะแมก็เคย
ข้ามไปเล่นประชันกับวายังกูลิตของฝั่งมาเลย์มาแล้ว เดะแมบอกว่าการเดินทางไปครั้งนั้นสนุกมาก แต่ “หนังทาง
นู้นเค้าเล่นกันแบบเงียบๆ ไม่มีตลกอะไร แต่ว่าหนังยาวี หนังในไทยเราเนี่ย เค้าเรียก ‘ข้าวยำ’ มีไอ้นู้นมั่ง ไอ้นี้มั่ง มี
เพลงมั่ง มีตลกแปลกๆ มั่ง แต่ทางนู้นเค้าเล่นแบบนิยาย ไม่เหมือนบ้านเรา”1 เดะแมอธิบายต่อไปว่า ถ้าจะให้ถึงรส
ชาติแบบข้าวยำในทรรศนะของแก ก็ต้องเล่นให้สุดอารมณ์ เช่น “เวลาเศร้าก็ต้องให้เศร้าที่สุด ถ้าตลกก็ต้องตลกให้
แบบว่า ‘เยี่ยวใส่ผ้าเลย’ เวลาเศร้าก็ต้องให้น้ำตาไหล”2
แม้วายังกูเละจะเคยได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงเพียงใดก็ตาม แต่ก็ไม่เคยเดินทางขึ้นไปเล่นไกลกว่า
กรุงเทพมหานครเลย เอาเข้าจริงแล้วการเดินทางมาเล่นที่กรุงเทพฯ หรือเมืองหลวงก็มักจะเป็นโอกาสพิเศษเท่านั้น
หรือแม้จะขึ้นมาเล่นที่จังหวัดพัทลุงหรือนครศรีธรรมราชบ้าง ก็มักจะขึ้นมาในลักษณะงานแสดงสาธิตไม่ใช่งานหา
หรืองานจัดรายการ ยิ่งสถานการณ์อย่างในปัจจุบันทำให้วายังกูเละต้องพบกับเงื่อนไขที่ยากลำบากมากขึ้น เพราะ
มีงานรื่นเริงมหรสพน้อยลง มีผู้ว่าจ้างน้อยลง เดะแมกล่าวว่า แม้จะยังมีคนคอยชมอยู่ “แต่ว่าไม่เหมือนเดิม …
[เพราะ] … เค้าก็กลัวเหมือนกัน” 3 ที่สำคัญตัวเดะแมและชาวคณะก็กลัวด้วยเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะเมื่อต้องเดิน
ทางไปแสดงในที่ต่างๆ และเมื่อถามถึงอนาคตการแสดงวายังกูเละของนายหนังรุ่นต่อไป เดะแมกล่าวว่า “[ก็ยังพอ
จะ] มีโอกาส แต่ว่า น้อย” 4
ไม่เพียงแต่เงื่อนไขในพื้นที่ที่บีบให้มีการแสดงวายังกูเละน้อยลงเท่านั้น การจงใจมองข้ามหรืออาจด้วย
ปัญหาความลักลั่นไม่ลงตัวในนิยามของความเป็นชาติไทย ทำให้ส่วนงานของรัฐที่มีหน้าที่โดยตรงต่อ “สิ่งที่อ้างว่า
เป็น” มรดก-วัฒนธรรม-เอกลักษณ์ของชาติไทย ยังคงเก็บวายังกูเละไว้ ณ ที่ใต้สุดของสิ่งที่เรียกว่าศิลปะการแสดง
ของชาติ





ปืนพญาตานี



ปืนพญาตานี
ปืนพญาตานี เป็นปืนใหญ่โบราณ หล่อด้วยสัมฤทธิ์ ลำกล้องเรียบ บรรจุกระสุนทางปากกระบอก ใช้ดินดำเป็นดินระเบิดและจุดชนวนโดยการจุดดินระเบิดขนาดของปืนยาว 32 วา 1 ศอก 2.5 นิ้ว ใช้กระสุนขนาด 11 นิ้ว การยิงแต่ละครั้งจะต้องบรรจุดินปืนหนัก 15 ชั่ง สามารถยิงไกล ประมาณ 1,460 – 1,800เมตร ตามประวัติการสร้างระบุว่า สร้างในสมัยรายาบีรู (พ.ศ. 2159 –2167) ในการหล่อปืนใหญ่ครั้งนั้น ชาวจีนชื่อลิ่มโต๊ะเคี่ยม เป็นช่างหล่อปืนให้ตามความประสงค์ของรายา ได้ปืนใหญ่ครั้งนั้น 3 กระบอก คือ เสรีปัตตานีหรือ พญาตานี ศรีนคราหรือเสรีนคร และมหาเลลา ทั้ง 3 กระบอกได้ติดตั้งไว้บนรถลากและได้ใช้เป็นอาวุธป้องกันเมืองปัตตานีหลายครั้งในเวลาต่อมา จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2329 สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ได้โปรดให้กรมพระราชวังบวรสถานมงคลนำไปไว้ที่กรุงเทพฯ และตั้งอยู่ที่หน้ากระทรวงกลาโหมมาจนทุกวันนี้
ปืนพญาตานี เป็นประติมากรรมหล่อด้วยโลหะที่มีชื่อเสียง เป็นที่เลื่องลือมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นผลงานชิ้นสำคัญที่แสดงถึงความเจริญทางเทคโนโลยีและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และการเมืองของปัตตานีในยุคนั้น ปืนพญาตานีมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากที่สุดในประเภทปืนใหญ่โบราณที่มีอยู่ในประเทศไทยขณะนั้น กระทรวงมหาดไทยได้ใช้รูปปืนใหญ่พญาตานีกระบอกนี้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดปัตตานี และในผืนธงประจำจังหวัดก็ใช้รูปปืนใหญ่วางอยู่กลางผืนธงแหล่งที่มา: คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. 2543. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกสารและภูมิปัญญา. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.

วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

โรงเรียนที่สังคมต้องการ







โรงเรียนชัยมงคลวิทยา จังหวัดสงขลา
เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๑ ไปเที่ยวทำบุญที่วัดชัยมงคลจังหวัดสงขลา ได้เดินสำรวจบริเวณวัดเห็นมีอาคารอยู่หลังหนึ่งขึ้นป้ายชื่อโรงเรียนชัยมงคลวิทยา เดินเข้าไปดูข้างใน เห็นมีชั้นเรียนชั้นอนุบาล และชั้นประถมหนึ่ง ด้านหน้าอาคารตรงกำแพงมีการเขียนรูปเกี่ยวกับศาสนาอาไว้เป็นแหล่งเรียนรู้ มีสนามเด็กเล่น มีลานวิ่งเล่นดูร่มรื่นสนใจอยากรู้ว่าเป็นโรงเรียนประเภทใดจึงกลับมาค้นหาความรู้ประกอบดังที่จะเอามาเล่าให้กับท่านผู้อ่านดังนี้
สงขลา จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย เป็นเมืองท่าและเมืองชายทะเลที่สำคัญมาแต่โบราณ งดงามด้วยขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษาและมรดกทางวัฒนธรรมจากบรรพบุรุษตกทอดให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาจนทุกวันนี้ รวมทั้งมีวัดเก่าแก่นับร้อยแห่ง
ทำให้แดนดินถิ่นนี้ อบอวลไปด้วยความเงียบสงบร่มเย็น เหมาะสมแก่การปฏิบัติธรรม
จึงไม่น่าแปลกใจ ที่จะมีพระสงฆ์ผู้คู่ควรแก่การกราบไหว้เป็นมงคลชีวิตอยู่หลายรูปด้วยกัน
พระราชวรธรรมโกศล ก็เป็นหนึ่งในพระเถระจำนวนนั้น
พระราชวรธรรมโกศล (แฉล้ม เขมปัญโญ) เจ้าคณะจังหวัดสงขลา ฝ่ายมหานิกาย ปัจจุบันดำรง ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดชัยมงคล พระอารามหลวง อ.เมือง จ.สงขลา
ปัจจุบัน อายุ 79 พรรษา 58
เป็นสงฆ์ที่ได้ชื่อว่าปกครองและจัดระเบียบการบริหารงานของคณะสงฆ์ใน จ.สงขลา ได้อย่างมีประ สิทธิภาพ
อัตโนประวัติ มีนามเดิมว่า แฉล้ม ชูโต เกิดเมื่อปี พ.ศ.2472 ที่บ้านเลขที่ 149 หมู่ที่ 3 ต.สทิงหม้อ อ.สิงหนคร จ.สงขลา โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายเพ็ชร และ นางสั้น ชูโต มีพี่สาว 1 คน น้องชาย 3 คน ครอบ ครัวประกอบอาชีพค้าขาย ทำนา และการประมง
ในวัยเยาว์ สำเร็จการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดธรรมโฆษณ์ ต.สทิงหม้อ อ.สิงหนคร จ.สงขลา จากนั้นออกมาช่วยครอบครัวหาเลี้ยงชีพทำนา เลี้ยงวัว เลี้ยงควาย และออกหาปลา
บางครั้งได้ตามบิดาไปช่วยค้าขายทางเรือ ซึ่งเป็นเครื่องปั้นดินเผาสทิงหม้อ โดยนำไปขายตามชุมชน และเมืองต่างๆ ทั้งหัวไทร ปากพนัง ท่าศาลา และขา กลับ ยังได้แวะซื้อสินค้าจากเมืองต่างๆ มาขายที่เมืองสงขลา
กระทั่งอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2493 ณ พัทธสีมาวัดธรรมโฆษณ์ ต.สทิงหม้อ อ.สิงหนคร จ.สงขลา มี พระครูธรรมโฆษณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์
เมื่อครองสมณเพศก็มุ่งมั่นศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม พ.ศ.2496 ได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่วัดชัยมงคล และสามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ
พ.ศ.2508 สอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค จากสำนักเรียนวัดชัยมงคล
มีความรู้พิเศษด้านภาษาขอม และมีความชำนาญในการเทศนา ปาฐกถาธรรม การเผยแผ่ธรรม การอบรมพัฒนาจิต นวกรรมการออกแบบการก่อสร้าง และได้รับการแต่งตั้งเป็นรองเจ้าอาวาสวัดชัยมงคล กระทั่งปี พ.ศ.2517 ได้รับการแต่งตั้งให้เเป็นเจ้าอาวาส วัดชัยมงคล
พ.ศ.2528 วัดชัยมงคล ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง ท่านก็เป็นผู้รักษาการ
พ.ศ.2530 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดชัยมงคล (พระอารามหลวง) จนถึงปัจจุบัน
ทั้งนี้ วัดชัยมงคล ตั้งอยู่เลขที่ 1 ถนนชัยมงคล อ.เมือง จ.สงขลา สร้างเมื่อปี พ.ศ.2394 สมัยรัชกาลที่ 4 ตอนต้น มีนามเดิมว่า วัดโคกเสม็ด ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดชัยมงคล มีพระสถูปเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ได้สถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2528
ท่านได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาดูงานด้านพระพุทธศาสนาในประเทศและต่างประเทศ อาทิ ประเทศอินเดีย เนปาล ศรีลังกา
พ.ศ.2535 ได้ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานกับพระอาจารย์ภัททันตะอาสภะ มหาเถระ ที่จังหวัดชลบุรี
พระเดชพระคุณได้สร้างคุณูปการต่อชาวสงขลาเป็นอย่างมาก พ.ศ.2502 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกธรรมและแผนกบาลี ประจำสำนักศาสนศึกษาวัดเลียบ อ.เมือง จ.สงขลา
ปัจจุบันท่านยังเป็นคณะกรรมการสอนบาลีสนามหลวงของสำนักเรียน จ.สงขลา เป็นผู้อำนวยการโครงการอบรมเยาวชนภาคฤดูร้อน เป็นประธานโครงการปฏิบัติธรรมพัฒนาจิต เป็นประธานที่ปรึกษา วิทยากรบรรยายธรรม และอำนวยการฝึกอบรมการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน เป็นประธานจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอน ภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับชาวมาเลเซียเชื้อสายไทย ในประเทศมาเลเซีย
นอกจากนี้ ท่านยังเน้นให้การศึกษาแก่นักเรียนที่มีฐานะยากจน โดยส่งเสริมให้การศึกษาทั้งแผนกธรรม บาลี และสามัญศึกษา ซึ่งขณะนี้ท่านได้สร้างอาคาร เปิดเป็นโรงเรียนชัยมงคล ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จจำนวน 2 ห้องเรียน จึงเปิดรับนักเรียนได้เพียงชั้นอนุบาลและชั้นประถมปีที่ 1 ซึ่งเปิดเทอมที่ผ่านมาได้เปิดเรียนเทอมแรก เป้าหมายท่านจะก่อสร้างต่อจนแล้วเสร็จ และรับนักเรียนเข้าเรียนได้จนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
ลำดับงานปกครอง พ.ศ.2532 เป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ.2550 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดสงขลา
ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2529 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก ที่ พระครูศรีมงคลเจติยากร พ.ศ.2530 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก ในราชทินนามเดิม
พ.ศ.2536 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามที่ พระวิเชียรโมลี
พ.ศ.2548 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ พระราชวรธรรมโกศล
ด้านเกียรติคุณทางสังคม พ.ศ.2544 คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ถวายโล่เชิดชูเกียรติคุณเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา สาขามนุษย ศาสตร์
พ.ศ.2545 ได้รับพระราชทานเกียรติบัตรและเสมาธรรมจักร ผู้บำเพ็ญประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาในด้านการบริหารคณะสงฆ์ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ศาลาดุสิดาลัย พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน กรุงเทพมหานคร
ล่าสุดเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2551 ได้รับปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาหลักสูตรและการสอน ที่สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ลงมติถวาย
พระราชวรธรรมโกศล เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากพุทธศาสนิกชนชาวเมืองสงขลา เป็นสมณะที่มีวัตรปฏิบัติดีงาม มั่นคงในการปฏิบัติธรรมพระกัมมัฏฐาน เปี่ยมด้วยเมตตาธรรม เป็นที่พึ่งทางใจ เน้นการสร้างทรัพยากรบุคคล โดยยึดหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ท่านมีความตั้งใจให้เด็กไทยทุกคนได้รับการศึกษา สร้างคนให้เป็นคนดี มีศีลธรรม ด้วยเล็งเห็นว่าทุกวันนี้บ้านเมืองศีลธรรมถดถอย จำเป็นต้องเริ่มปลูกฝังศีลธรรมตั้งแต่เด็ก ให้มีศีลธรรมสัมมาคารวะ ความประพฤติเรียบร้อย เป็นข้อปฏิบัติพื้นฐานในการดำรงชีวิตให้เป็นปกติสุขในสังคม
จึงนับเป็นมงคลอย่างยิ่ง สำหรับผู้ที่ได้สัมผัสใกล้ชิดและได้รับฟังคำสั่งสอนจากตัว