วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

สะหม้อ หนุ่มน่ารักแห่งบ้านสะกอม

สะหม้อ

สะหม้อ เป็นชาวไทยมุสลิม อยู่ที่บ้านสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา หนังกั้น ทองหล่อ นำมาตัดรูปหนังเป็นตัวตลก มีนิสัยชอบหยอกล้อเพื่อนฝูงและชอบตำหนิผู้หญิง

สะหม้อ

สะหม้อเป็นตัวตลกของหนังตะลุงบางคณะ เป็นตัวแทนของชาวไทยมุสลิมผู้มีลีลาการพูดจาที่ชวนขบขัน มักออกคู่กับ ขวัญเมือง

ประวัติความเป็นมา หนังกั้น ทองหล่อ บ้านน้ำกระจาย อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ยืนยันว่าเป็นรูปตัวตลก ที่ตนเป็น ต้น คิดทำขึ้นเพื่อให้เป็นตัวตลกพิเศษประจำคณะของตน โดยได้นำเอาคนจริงจากหมู่บ้านสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา มาเป็นต้นแบบและเอาชื่อจริงมาใช้ คือเลียนแบบมาจากนายสะหม้อ(สะเมาะ) ซึ่งเป็นลูกชายของโต๊ะยีโซะ

รูปร่าง ลักษณะ สะหม้อมีลักษณะหลังโกง มีโหนกคอ คางย้อยแบบคนชรา รูปร่างผอมสูงแต่ท้องป่องคล้ายคนอมโรค

การแต่งกาย สะหม้อ สวมหมวกแขก ไม่สวมเสื้อ นุ่งผ้าโสร่ง พับชายบนปล่อยกลับลงไปตามแบบที่ชาวไทยมุสลิมนิยมแต่ง ชักชายผ้าให้ข้าง หน้า ตื้นแล้วปล่อยข้างหลังลึก มือซ้ายถือไม้สะแด็ด (ไม้พายสำหรับคนข้าวในหม้อ)

ลักษณะนิสัย สะหม้อชอบตลกคะนอง หยอกล้อ และพูดเกทับเพื่อนเก่ง ตามลักษณะนิสัยของชาวสะกอมทั่ว ๆ ไปที่มักพูดจา เป็นเชิงหยิกแกมหยอก ชอบพูดยกยอผู้อื่นนิด ๆ พอเพลินใจ แล้วตวัดกลับด้วยการติเตียนอย่างเจ็บแสบและรุนแรง มีความเป็น นักเลง กล้าได้กล้าเสีย นับถือศาสนาอิสลามแต่ไม่เข้าถึงหลักศาสนา ชอบขัดคอคนอื่นเล่น แต่ใจจริงมีความนับถือ และรักใคร่ ่เพื่อน ฝูง มีความเอื้ออารี เสียสละ แต่ก็ไม่ยอมเสียเปรียบใครง่ายๆลีลาการพูด พูดเนิบ ๆ ช้า ๆ หนักแน่นพูดจาแบบคนหัวโบราณ ไม่กล่อมเกลาถ้อยคำสำนวน คิดอย่างไรก็พูดอย่างนั้น ไม่เกรงใจใคร เมื่อสบโอกาสมักคุยเขื่องและแฝงด้วยอารมณ์ขัน มีความ เชื่อมั่นในความคิดเห็นและเหตุผลของตัวเอง

มีเรื่องเล่าขานเกี่ยวกับสะหม้อมากมายทั้งที่ออกมาเป็นบทเพลง บทสนทนา ขอยกมาเป็นตัวอย่างพอสังเขป

ไม่ได้ตีสะหม้อ

เนื้อเพลงโดย : kuni tummai

สะหม้อเป็นคนบ้านๆไปใหนไม่หาญเฝ้าอยู่แต่เริน

อะโหรยเด็กๆยุกนี้ชอบยกพวกตีแหกหัวยับเยิน

ฟังข่าวแล้วเศร้าเหลือเกินตีกันยับเยินและไม่หอนปรานี

วัยรุ่นเขาหม้ายหัวหม้อไม่หาญลอคอละเสียแล้วหวางนี้

เด็กแหลงแล้วใจไม่ดีมันพันพรือสะทีอี ตีหม้อๆ

อะ สงสันบังทำหรัยผิดเห็นเด็กมันคิดกลุ่มใจจิงหม้อ

สะหม้อกลัวละเสียจนตัวสันหยบอยู่แต่บ้านละไม่หาญลอคอ

วันนี้เด็กหนุ่มแปลกหน้าสามคนเดินมาหาบ้านบังหม้อ

คนหนึ่งชีมือชี้ไม้หม้อนึกขึ้นได้วิ่งไม่รีลอ

อะแขบจิงครึ่งวิ่งครึ่งห้อข้ามคูข้ามบอหม้อมานอนหมดแรง

อะสักเดียวเด็กวิ่งมาทันหม้อหยบตัวสั่นได้ยินเสียงแหลงแนะ

อะความจิงโหม่เด็กมันแกล้งเสียงมายืนแหลงว่าแกลงหยอกบังหม้อเดะ

อะเท่จิงถ้าโร่พันนี้เด็กตีไม่ตีอยู่ทีการชอบพอ

อะทีหลังอย่าเที่ยวหยอกบังหม้อได้เดินบายชูคอหม้อไม่กลัวโถกตีแล้วแหละ

อะร่าาโบยมะ

จากเรื่อง นักรบนักรัก ครอบครัวของราตรีถูกพวกโจรเผาบ้าน พ่อ สามี ตายในกองไฟ ราตรี พาแม่ของสามีกับลูกหนีมาได้ แต่แม่สามีบอบช้ำมาก ตายกลางทาง นันทิยา ขวัญเมือง สะหม้อ มาพบเข้า

นันทิยา เรื่องศพของแม่ พี่ราตรีจะทำอย่างไร
ราตรี มืด 8 ด้าน จะทิ้งไว้ก็ไม่ได้ จะนำไปก็ไม่ได้
นันทิยา ฝังไว้ก่อนดีกว่า
ราตรี ราตรีเห็นด้วยค่ะ
นันทิยา พี่สะหม้อขุดหลุม
สะหม้อ คนแขกเขาถือ ห้ามขุดหลุมศพ มึงเองต้าอ้ายเมือง
ขวัญเมือง เพื่อมนุษยธรรม กูขุดเองก็ได้ (ขุดหลุม)
สะหม้อ ให้ลึกหน่อย เสืออาจจะมาขุดไปกินเสียได้
ขวัญเมือง รับรอง ลึก 4 ศอก ยาว 6 ศอก กว้าง 3 ศอก
นันทิยา ช่วยกันยกศพคุณป้าลงหลุมหน่อย
สะหม้อ คนแขกเขาถือ ห้ามยกศพ มึงเองต้าอ้ายเมือง
ขวัญเมือง กูเองก็ได้ศพคนแก่เบาเหมือนต้อ (กาบหมาก) อ้ายหม้อมึงปิดหลุม
สะหม้อ คนแขกเขาถือ ห้ามปิดหลุมศพ มึงเองต้าอ้ายเมือง
ขวัญเมือง กูเพ มันจะยากพรือ กะคุ้ยดินปิดหลุม
สะหม้อ เก่งมากอ้ายเมือง ควรสมัครเป็นสัปเหร่อ
ราตรี กราบหลุมศพของย่าซิลูก (ราตรีกราบหลุมศพ) ขอให้ดวงวิญญาณของแม่ไปสู่สุคติหากลูกไม่ตายและมีฐานะดีขึ้น จะกลับมาขุดหลุมศพของแม่ไปประกอบพิธีทางศาสนาอย่างสมเกียรติ
ขวัญเมือง น้องราตรีคนนี้น่ารักจริงๆ
สะหม้อ กูจะเอาทำลูกของกู
ขวัญเมือง เป็นลูกบุญธรรม
สะหม้อ ไม่ ทำลูกกูเอง
นันทิยา พี่ราตรีคะ เรามาจากบุรินทรานคร เพื่อไปปรัญญานคร
ราตรี สองเมืองนี้เขาเลิกรบกันแล้วหรือคะ
นันทิยา ฉันพยายามให้สองนครนี้ เกิดสันถวไมตรีให้ได้ พี่ราตรีเดินทางไปกับเราดีกว่า ยินดีช่วยเหลือเต็มที่
ราตรี เป็นพระคุณแก่ราตรีมากค่ะ
นันทิยา พี่สะหม้อ ช่วยอุ้มลูกของพี่ราตรีหน่อย
สะหม้อ คนแขกเขาถือ ห้ามอุ้มเด็ก มึงเองต้าอ้ายเมือง
ขวัญเมือง ถ้าอุ้มแม่ของเด็กล่ะ
สะหม้อ ถ้าแม่ของเด็กยังสาวสวยเหมือนน้องราตรี คนแขกไม่ถือ อย่าว่าแต่อุ้ม ให้นั่งคร่อมคอก็ได้

จาก "ความรู้เรื่องหนังตะลุง" โดย อาจารย์พ่วง บุษรารัตน

สะหม้อ เห็นเด็กๆในสงขลาเล่นฟุตบอลอยู่ในสนามถึงกับอุทานด้วยความไม่รู้จัก ไม่เคยเห็นลูกฟุตบอล ว่าโหมมสงขลามันขาแข็งฉัดลูกพร้าวแห้งดังดะ ดังดะ

ฤาษีนกเค็ด

เรื่องเล่าพระฤาษี

"พุทธวันทิตวา ข้าพเจ้าของอาราธนาบารมีคุณ พระพุทธคุณนัง ธรรมคุณนัง สังฆคุณนัง วันทิตวา ข้าพเจ้าขออาราธนาบารมีคุณ พระสังฆคุณนัง อีกทั้งคุณพระบิดา พระมารดา พระอนุกรรมวาจา อุปัชฌาย์ครูบาอาจารย์ อีกทั้งพระฤาษีนารอด พระฤาษีนารายณ์ พระฤาษีตาวัน พระฤาษีตาไฟ พระฤาษีเกตุ พระฤาษีเนตร พระฤาษีมุชิตวา พระฤาษีมหาพรหมเมศ พระฤาษีสมุหวัน ทั้งพระเพชรฉลูกัน และนักสิทธวิทยา อีกทั้งพระคงคา พระเพลิง พระพาย พระธรณี พระอิศวรผู้เป็นเจ้าฟ้า ขออัญเชิญเสด็จลงมาประสิทธิพระพรชัย ให้แก่พวกข้าพเจ้าในเวลาวันนี้ ข้าพเจ้าขอเชิญเทพดาเจ้าทั้งหลายทั่วพื้นปถพีดล พระฤาษี ๑๐๘ ตน บันดาลดลด้วยสรรพวิทยา พระครูยา พระครูเฒ่า พระครูภักและอักษร สถาพรเป็นกรรมสิทธิ์ ให้แก่พวกข้าพเจ้าในเวลาบัดนี้เถิด

ข้าพเจ้า ขออาราธนาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เชิญเสด็จลงมาปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพเจ้าขอเชิญพระพรหมลงมาอยู่บ่าซ้าย ขอเชิญพระนารายณ์มาอยู่บ่าขวา ขอเชิญพระคงคาลงมาเป็นน้ำลาย ขอเชิญพระพายลงมาเป็นลมปาก ขอเชิญพญานาคลงมาเป็นสร้อยสังวาล ข้าพเจ้าขอเชิญพระอังคารมาเป็นด้วยใจ ถ้าแม้นข้าพเจ้าจะไปรักษาไข้แห่งหนึ่งแห่งใด ให้มีชัยชนะแก่โรค ขอจงประสิทธิให้แก่ข้าพเจ้าทุกครั้ง พุทธสังมิ ธรรมสังมิ สังฆสังมิ"
(คัดตามต้นฉบับเดิม)


คนไทยเราดูจะคุ้นกับฤาษีอยู่มาก เพราะตามพงศาวดารสมัยโบราณ หรือจดหมายเหตุเก่าๆ มักจะกล่าวถึงฤาษี อย่างเช่นฤาษีวาสุเทพกับฤาษีสุกกทันต์ ผู้สร้างเมืองหริภุญไชย และในคำไหว้ครูที่กล่าวถึงข้างต้น ได้ออกชื่อฤาษีแปลกๆ หลายชื่อ ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไปข้างหน้า

นอกจากนี้ ในวรรณคดีต่างๆ ก็มักจะมีเรื่องของฤาษีแทบทุกเรื่อง เพราะพระราชโอรสของพระเจ้าแผ่นดินจะต้องไปศึกษาเล่าเ รียนกับฤาษี และฤาษีเป็นเจ้าพิธีการต่างๆ เป็นต้น

ตำราของวิชาการหลายสาขา เช่น ดนตรี แพทย์ ก็มีเรื่องของฤาษีมาเกี่ยวข้องอยู่ด้วย ดังจะเห็นว่าพวกดนตรีและนาฏศิลป์เคารพบูชาฤาษี แพทย์แผนโบราณก็มีรูปฤาษีไว้บูชา ดังนี้เป็นต้น

ลักษณะของฤาษีแบบไทยๆ มักจะรู้จักกันในรูปของคนแก่ นุ่งห่ม หนังเสือ โพกศีรษะเป็นยอดขึ้นไป

ทำไมจึงต้องนุ่งห่มหนังเสือ ลองเดาตอบดูก็เห็นจะเป็นเพราะอยู่ในป่า ไม่มีเสื้อผ้า ก็ใช้หนังสัตว์แทน ส่วนจะได้มาโดยวิธีอย่างไรไม่แจ้ง แต่คงไม่ใช่จากการฆ่าแน่นอน เพราะฤาษีจะต้องไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต แต่ถ้ามีคนเอาเนื้อสัตว์มาถวายก็กินได้ ไม่เป็นไร

ฉะนั้น หนังสัตว์ก็อาจจะเป็นของพวกนายพราน หรือคนที่เคารพนับถือ เอามาถวายก็เป็นได้ ถึงอย่างนั้นก็ยังอาจจะสงสัยต่อไปอีกว่า ทำไมจึงเลือกเอา หนังเสือ เรื่องนี้ก็ต้องเดาตอบเอาอีกว่า เพราะหนังเสือนุ่มดี

แต่ฤาษีไทยเราเห็นครองแต่หนังเสือเหลือง สังเกตจากรูปฤาษีส่วนมาก จะระบายสีเป็นอย่างเสือลายเหลืองสลับดำ แต่ฤาษีของบางอาจารย์ปิดทองก็มี

ชุดเครื่องหนังนี้อ่านตามหนังสือวรรณคดีว่า เป็นชุดออกงาน เช่นเข้าเมืองหรือไปทำพิธีอะไรต่างๆ ก็ใช้ชุดหนัง แต่ถ้าบริกรรมบำเพ็ญตบะอยู่กับอาศรมในป่าก็ใช้ ชุดคากรอง คือนุ่งห่มด้วยต้นหญ้าต้นคา

ในหนังสือบทละครเรื่องอุณรุท พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๑ กล่าว ไว้ตอนท้าวไกรสุทรับสั่งให้สังฆการีออกไปนิมนต์ฤาษีน ารอท มาเข้าพิธีอภิเษกสมรสพระอุณรุทกับนางศรีสุดา มีความว่า

"เมื่อนั้น พระนารอททรงญาณฌานกล้า ได้แจ้งไม่แคลงวิญญา ก็บอกหมู่สิทธาพร้อมกัน ต่างผลัดเปลือกไม้คากรอง ครองหนังเสือสอดจำมขัน กรกุมไม้เท้างกงัน พากันรีบมายังธานี"

ดังนี้แสดงว่าเวลาอยู่ป่านุ่งเปลือกไม้คากรอง ออกนอกอาศรมเข้าเมือง ก็เปลี่ยนเป็นเครื่องหนัง และที่กล่าวมานี้ที่จะเป็นฤาษีแบบไทยๆ ที่มีระเบียบวัฒนธรรมแล้วหรืออย่างไรไม่ทราบ ฤาษีของอินเดียก็ว่านุ่งห่มสีขาว ทีจะเป็นฤาษีเมื่อบ้านเมืองเจริญแล้ว ดึกดำบรรพ์ก่อนโน้นจะมีนุ่งหนังเสือบ้างกระมัง

ตามภาพเขียนสมัยโบราณ ถ้ามีภาพป่าหิมพานต์ มีรูปต้นมักกะลีผล จะเห็นพวกวิทยาธรและพวกที่แต่งตัวคล้ายๆ ฤาษีเหาะขึ้น ไปเชยชมสาวมักกะลีผลกันเป็นกลุ่มๆ ความจริงไม่ใช่ฤาษีแท้ เป็น พวกนักสิทธ นี่ว่าตามคติอินเดียที่เขาถือว่า นักสิทธไม่ใช่ฤาษี เป็นแต่ผู้สำเร็จจำพวกหนึ่งเท่านั้น ทำนองเดียวกับพวกวิทยาธรหรือพิทยาธร ในหนังสือวรรณคดีไทยเรียกว่า ฤาสิทธ ก็มี มักเรียกรวมๆ กันว่า ฤาษีฤาสิทธ หรือ ฤาษีสิทธวิทยาธร

ในวรรณคดีอินเดียกำหนดจำนวนพวกนักสิทธไว้ตายตัว มีจำนวน ๘๘,๐๐๐ ทางไทยเราดูจะนับนักสิทธเป็นฤาษีไปด้วย

ในเอกสารที่เก่าที่สุดของไทยคือ ไตรภูมิพระร่วง ของ พระญาลิ ไท ก็เรียกฤาสิทธว่าเป็นอย่างเดียวกับฤาษี ดังความตอนหนึ่งว่า



"ครั้นว่านางสิ้นอายุศม์แล้วจึงลงมาเกิดที่ในดอกบัวหลวงดอก ๑ อัน มีอยู่ในสระๆ หนึ่ง มีอยู่แทบตีนเขาพระหิมวันต์ฯ เมื่อนั้นยังมีฤาษีสิทธองค์ ๑ ธ นั้นอยู่ในป่าพระหิมพานต์ ธ ย่อมลงมาอาบน้ำในสระนั้นทุกวัน ธ เห็นดอกบัวทั้งปวงนั้นบานสิ้นแล้วทุกดอก ๆ แลว่ายังแต่ดอกเดียวนี้บมิบานแล ดุจอยู่ดังนี้บมิบานด้วยทั้งหลายได้ ๗ วัน ฯ พระมหาฤาษีนั้น ธ ก็ดลยมหัศจรรย์นักหนา ธ จึงหันเอาดอกบัวดอกนั้นมา ธ จึงเห็นลูกอ่อนอยู่ในดอกบัวนั้นแล เป็นกุมารีมีพรรณงามดั่งทองเนื้อสุก พระมหาฤาษีนั้น ธ มีใจรักนักหนา จึงเอามาเลี้ยงไว้เป็นพระปิยบุตรบุญธรรม แลฤาษีเอาแม่มือให้ผู้น้อยดูดกินนม แลเป็นน้ำนมไหลออก แต่แม่มือมหาฤาษีนั้นด้วยอำนาจบุญพระฤาษี"

ดังนี้จะเห็นว่า ใช้คำ ฤาสิทธ ในความหมายเดียวกับ ฤาษี และนิยายทำนองนี้ดูจะแพร่หลายมาก ในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง มีเรื่องฤาษีเก็บเด็ก จากดอกบัวมาเลี้ยงแทรกอยู่เสมอ

ลักษณะความเป็นอยู่ของฤาษีเท่าที่เราเข้าใจกัน โดยทั่วๆ ไปนั้น ก็ว่ากินเผือกมันเป็นอาหาร เพราะไม่มีการทำไร่ไถนา บางคัมภีร์มีข้อห้ามพวกฤาษีไม่ให้เข้าหมู่บ้าน ไม่ให้ย่างเหยียบเข้าไปในเขตพื้นดิน ที่เขาไถแล้ว แต่ในที่บางแห่งกล่าวว่า ฤาษีนั้นแบ่งออกเป็น ๘ จำพวกด้วยกันคือ

๑.สปุตตภริยา คือฤาษีที่รวบรวมทรัพย์ไว้บริโภคเหมือนมีครอบครัว
๒.อุญฉาจริยา คือฤาษีที่เที่ยวรวบรวมข้าวเปลือกและถั่วงาเป็นต้นไว ้หุงต้มกิน
๓.อนัคคิปักกิกา คือฤาษีที่รับเฉพาะข้าวสารไว้หุงต้มกิน
๔.อสามปักกา คือฤาษีที่รับเฉพาะอาหารสำเร็จ (ไม่หุงต้มกินเอง)
๕.อัสมุฏฐิกา คือฤาษีที่ใช้ก้อนหินทุบเปลือกไม้บริโภค
๖.ทันตวักกลิกา คือฤาษีที่ใช้ฟันแทะเปลือกไม้บริโภค
๗.ปวัตตผลโภชนา คือฤาษีที่บริโภคผลไม้
๘.ปัณฑุปลาสิก คือฤาษีที่บริโภคผลไม้หรือใบไม้เหลืองที่หล่นเอง

ในหนังสือ ลัทธิของเพื่อน โดย เสฐียรโกเศศ นาคประทีป ได้กล่าวถึงพวกฤาษีไว้ตอนหนึ่งว่า

"เกิดมีพวกนักพรตประพฤติเนกขัมม์ขึ้น พวกนี้มักอาศัยอยู่ ในดงเรียกว่า วานปรัสถ์ (ผู้อยู่ป่า) หรือเรียกว่า ฤาษี (ผู้แสวง) ปลูกเป็นกระท่อมไม้หรือมุงกั้นด้วยใบไม้ (บรรณศาลา) เป็นที่อาศัย"

กระท่อมชนิดนี้ถ้าอยู่รวมกันได้หลายคนเรียกว่า อาศรม พวกฤาษีใช้เปลือกไม้หรือหนังสัตว์เป็นเครื่องนุ่งห่ม และขมวดผมมวย ให้เป็นกลุ่มสูงเรียกวา ชฎา อาศัยเลี้ยงชีพด้วยมูลผลาหารของป่า

ลัทธิที่ประพฤติมีการบำเพ็ญตบะทรมานกายอย่างเคร่งเคร ียด เพียรพยายามทนความหนาวร้อน อดอาหาร และทรมานด้วยวิธีต่างๆ

ความมุ่งหมายที่บำเพ็ญตบะ ยังคงหวังให้มีฤทธิเดช อย่างความคิดในชั้นเดิมอยู่ แต่ว่าเริ่มจะมุ่งทางธรรมแทรกขึ้นอีกชั้นหนึ่งด้วย กล่าวคือการบำเพ็ญตบะ เป็นทางที่จะซักฟอกวิญญาณให้บริสุทธิ์สะอาด เข้าถึงพรหม และเกิดฤทธิเดชเหนือเทวดามนุษย์

ในอีกแห่งหนึ่งกล่าวว่า "ผู้ที่อยากเป็นฤาษีเขามีตำราเรียนเรียกว่า คัมภีร์อารัญยกะ แปลว่า เนื่องหรือเกี่ยวกับป่า ชายหนุ่มที่ไปบวชเรียน เป็นฤาษีจะต้องเรียนและปฏิบัติที่มีกำหนดไว้ในคัมภีร ์ อะไรเป็นปัจจัย ให้ต้องประพฤติตนเป็นฤาษี ตอบได้ไม่ยากนักคือ เขาเห็นว่า ความประพฤติของ ชาวกรุงชาวเมืองในมัธยมประเทศสมัยโน้น เลอะเทอะเต็มที มักชอบประพฤติ แต่เรื่องสุรุ่ยสุร่ายเอ้อเฟ้อ อยู่ด้วยกามคุณ ต้องการจะมีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ เหมือนบรรพบุรุษครั้งดึกดำบรรพ์ ครั้งไกลโน้นประพฤติกันอยู่ ชะรอยบรรพบุรุษของชาวอริยกะครั้งกระโน้น จะไม่ใช่เป็นคนเพาะปลูก และใช้เปลือกไม้และหนังสัตว์เป็นเครื่องนุ่งห่ม เห็นที่จะเอาอย่างบรรพบุรุษ ครั้งดึกดำบรรพ์ ซึ่งยังไม่รู้จักหว่านไถและยังไม่รู้จักทอผ้า คงจะสร้างทับ กระท่อมกันอยู่ในป่า ไว้ผมสูงรกรุงรัง พวกฤาษีจึงได้เอาอย่าง"

เท่าที่กล่าวมาข้างต้นนั้นคือลักษณะและความเป็นอยู่ข องฤาษีโดยทั่วๆ ไป แต่ยังมีอีกลักษณะหนึ่งซึ่งไม่ได้กล่าวถึง คือ การมีบุตรและภรรยา

ฤาษีประเภทนี้มีมากจนเป็นที่รู้กันทั่วไปว่า ฤาษีมีเมียได้ ซึ่งจะได้เล่าถึงในประวัติของฤาษีต่างๆ ต่อไปข้างหน้า

ดังได้กล่าวแล้วว่าฤาษีต้องเพียรบำเพ็ญตบะกันอย่างหน ัก ฉะนั้นผลที่เกิดขึ้นจึงมีแตกต่างกันไปตามความเพียรพย ายาม ใครปฏิบัติได้มากก็ได้รับการยกย่องให้เป็นฤาษีอันดับ สูง เท่าที่ทราบเขาจัดฤาษีไว้ ๔ ชั้นดังนี้

๑.ราชรรษี (เจ้าฤาษี)
๒.พราหมณรรษี (พราหมณฤาษี)
๓.เทวรรษี (เทพฤาษี)
๔.มหรรษี (มหาฤาษี)

แต่ในบางแห่งก็จัดฤาษีที่สำเร็จตบะไว้เพียง ๓ ชั้นคือ
๑.พรหมฤาษี คือผู้มีตบะเลิศ ข่มจิตสงบได้จริง ไม่ยินดียินร้ายในสิ่งทั้งปวง
๒.มหาฤาษี คือเป็นพวกฤาษีชั้นกลาง มีตบะ ข่มกามคุณได้หมดสิ้นแล้ว
๓.ราชฤาษี ได้แก่ ฤาษีที่มีตบะฌานสำเร็จเป็นอันดับต้น

การไต่อันดับไม่ได้ใช้ระบบการสอบ ผู้ที่จะเลื่อนชั้นจะต้องปฏิบัติบำเพ็ญตบะจน ได้ผลตามที่กำหนดไว้ ซึ่งจะต้องใช้ความเพียรพยายามและความอดทนอย่างยิ่งยวด

ดังได้กล่าวแล้วว่า ฤาษีต้องเพียรบำเพ็ญตบะ กันอย่างหนัก ฉะนั้นผลที่เกิดขึ้นจึงมี แตกต่างกันไป ตามความเพียรพยายาม ใครปฏิบัติได้มากก็ได้รับการยกย่อง ให้เป็น

ฤาษีอันดับสูง เท่าที่ทราบเขาจัดฤาษีไว้ ๔ ชั้นดังนี้

๑.ราชรรษี (เจ้าฤาษี)
๒.พราหมณรรษี (พราหมณฤาษี)
๓.เทวรรษี (เทพฤาษี)
๔.มหรรษี (มหาฤาษี)

แต่ในบางแห่งก็จัดฤาษีที่สำเร็จตบะไว้เพียง ๓ ชั้นคือ
๑.พรหมฤาษี คือผู้มีตบะเลิศ ข่มจิตสงบได้จริง ไม่ยินดียินร้ายในสิ่งทั้งปวง
๒.มหาฤาษี คือเป็นพวกฤาษีชั้นกลาง มีตบะ ข่มกามคุณได้หมดสิ้นแล้ว
๓.ราชฤาษี ได้แก่ ฤาษีที่มีตบะฌานสำเร็จเป็นอันดับต้น

การไต่อันดับไม่ได้ใช้ระบบการสอบ ผู้ที่จะเลื่อนชั้น จะต้องปฏิบัติบำเพ็ญตบะจนได้ผลตามที่กำหนดไว้ ซึ่งจะต้องใช้ความเพียรพยายามและความอดทนอย่างยิ่งยว ด

ในคำไหว้ครู ที่ได้ยกมากล่าวในตอนต้น มีชื่อฤาษีที่คุ้นหูคนไทยส่วนมากอยู่ ๓ ตนด้วยกันคือ ฤาษีนารอด ฤาษีตาวัว ฤาษีตาไฟ

ฤาษีทั้งสามนี้คนระดับชาวบ้านสมัยก่อนรู้จักกันดี มักพูดถึงอยู่เสมอในตำนานพระพิมพ์ ที่ว่า จารึกไว้ในลานเงินก็ได้กล่าวถึงฤาษีตาวัว (งัว) และฤาษีตาไฟไว้เหมือนกัน ดังความว่า

"ตำบลเมืองพิษณุโลก เมืองกำแพงเพชร เมืองพิไชยสงคราม เมืองพิจิตร เมืองสุพรรณ ว่ายังมีฤาษี ๑๑ ตน ฤาษีเป็นใหญ่ ๓ ตนๆ หนึ่งฤาษีพีลาไลย ตนหนึ่งฤาษีตาไฟ ตนหนึ่งฤาษีตางัว เป็นประธานแก่ฤาษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่า เราท่านทั้งหลายนี้จะ เอาอันใดให้แก่ พระยาศรีธรรมาโศกราช ฤาษีทั้ง ๓ จึงว่าแก่ฤาษีทั้งปวงว่า เราจะทำด้วยฤทธิ์ทำด้วยเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้ฉะ นี้ฉลองพระองค์ จึงทำเป็นเมฆพัตร อุทุมพร เป็นมฤตย์พิศม์ อายุวัฒนะ พระฤาษีประดิษฐานไว้ในถ้ำเหวใหญ่น้อย เป็นอานุภาพแก่มนุษย์ทั้งหลาย สมณชีพราหมณาจารย์เจ้าไปถ้วน ๕๐๐๐ พรรษา

พระฤาษีองค์หนึ่งจึงว่าแก่ฤาษีทั้งปวงว่า ท่านจงไปเอาว่าน ทั้งหลายอันมีฤทธิ์ เอามาให้สัก ๑๐๐๐ เก็บเอาเกสรไม้อันวิเศษ ที่มีกฤษณาเป็นอาทิให้ได้ ๑๐๐๐ ครั้นเสร็จแล้ว ฤาษีจึงป่าวร้องเทวดาทั้งปวง ให้ช่วยกันบดยา ทำเป็นพระพิมพ์ไว้สถานหนึ่ง ทำเป็นเมฆพัตรสถานหนึ่ง ฤาษีทั้ง ๓ องค์นั้น จึงบังคับฤาษีทั้งปวงให้เอาว่านทำเป็นผง เป็นก้อน ประดิษฐานด้วยมนต์คาถาทั้งปวงให้ประสิทธิทุกอัน จึงให้ฤาษีทั้งนั้น เอาเกสรและว่านมาประสมกันดีเป็นพระให้ประสิทธิแล้ว ด้วยเนาวหรคุณประดิษฐานไว้บนเจดีย์อันหนึ่ง ถ้าผู้ใดให้ถวายพระพรแล้ว จึงเอาไว้ใช้ตามอานุภาพเถิด ให้ระลึกถึงคุณพระฤาษีที่ทำไว้นั้นเถิด"

ดังนี้แสดงว่า แต่กาลก่อนทางภาคพื้นประเทศไทยเราก็มีฤาษีอยู่มาก โดยเฉพาะ ฤาษีตาวัว กับ ฤาษีตาไฟ ติดปากคนมากกว่าฤาษีอื่นๆ และประวัติก็มีมากกว่า เท่าที่ทราบพอจะรวบรวมได้ดังต่อไปนี้

ฤาษีตาวัว นั้นเดิมทีเป็นสงฆ์ตาบอดทั้งสองข้าง แต่ชอบเล่นแร่แปรธาตุ จนสามารถทำให้ปรอทแข็งได้ แต่ยังไม่ทันใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างไร ก็เอาไปทำหล่นตกถาน (ส้วมของพระตามวัด) เสีย จะหยิบเอามาก็ไม่ได้ เพราะตามองไม่เห็น เก็บความเงียบไว้ ไม่กล้าบอกใคร จนกระทั่งวันหนึ่ง ลูกศิษย์ไปถาน แลเห็นแสงเรืองๆ จมอยู่ใต้ถาน ก็กลับมาเล่าให้อาจารย์ฟัง หลวงตาดีใจบอกให้ศิษย์พาไป เห็นแสงเรืองตรงไหนให้จับมือจุ่มลงไปตรงนั้น จะเลอะเทอะอย่างไรช่างมัน

ศิษย์กลั้นใจทำตาม หลวงตาก็ควักเอาปรอทคืนมาได้ จัดแจงล้างน้ำให้สะอาดดีแล้วก็แช่ไว้ในโถน้ำผึ้งที่ท ่านฉัน ไม่เอาติดตัวไปไหนอีก เพราะกลัวจะหล่นหาย

อยู่มาวันหนึ่ง ท่านก็มารำพึงถึงสังขาร ว่าเราจะมานั่งตาบอดอยู่ทำไม มีของดีของวิเศษอย่างนี้แล้ว ก็น่าจะลองดู จึงให้ศิษย์ไปหาศพคนตายใหม่ๆ เพื่อจะควักเอาลูกตา แต่ลูกศิษย์หาศพใหม่ๆ ไม่ได้ ไปพบวัวนอนตายอยู่ตัวหนึ่ง เห็นเข้าที่ดีก็เลยควักลูกตาวัวมาแทน

หลวงตาจึงเอาปรอทที่แช่น้ำผึ้งไว้มาคลึงที่ตา แล้วควักเอาตาเสียออก เอาตาวัวใส่แทน แล้วเอาปรอทคลึงตามหนังตา ไม่ช้าตาทั้งสองข้างก็กลับเห็นดีดังธรรมดา แล้วหลวงตาก็สึกจากพระ เข้าถือเพศเป็นฤาษี จึงได้เรียกกันว่าฤาษีตาวัว มาตั้งแต่นั้น

ส่วน ฤาษีตาไฟ นั้นยังไม่พบต้นเรื่องว่า ทำไมจึงเรียกว่า ฤาษีตาไฟ ที่ตาของท่านจะแรงร้อนเป็นไฟ แบบตาที่สามของพระอิศวรกระมัง

อย่างไรก็ตาม ฤาษีทั้งสองนี้เป็นเพื่อนเกลอกัน และได้สร้างกุฎีอยู่ใกล้กันบนเขาใกล้เมืองศรีเทพ ท่านออกจะรักและโปรดมาก มีอะไรก็บอกให้รู้ ไม่ปิดบัง

วันหนึ่งฤาษีตาไฟได้เล่าให้ศิษย์คนนี้ฟังว่า น้ำในบ่อสองบ่อที่อยู่ใกล้กันนั้นมีฤทธิ์อำนาจไม่เหม ือนกัน น้ำในบ่อหนึ่ง เมื่อใครเอามาอาบก็จะตาย และถ้าเอาน้ำอีกบ่อหนึ่งมารดก็จะฟื้นขึ้นมาได้อีก

ศิษย์ไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้ ฤาษีตาไฟจึงบอกว่า จะทดลองให้ดูก็ได้ แต่ต้องให้สัญญาว่า ถ้าตนตายไปแล้ว ต้องเอาน้ำอีกบ่อหนึ่งมารดให้คืนชีวิตขึ้นใหม่ ศิษย์ก็รับคำ ฤาษีตาไฟจึงเอาน้ำในบ่อตายมาอาบ ฤาษีก็ตาย ฝ่ายศิษย์เห็นเช่นนั้นแทนที่จะทำตามสัญญา กลับวิ่งหนีเข้าเมืองไปเสีย

กล่าวฝ่ายฤาษีตาวัว ซึ่งเคยไปมาหาสู่ฤาษีตาไฟอยู่เสมอ เมื่อเห็นฤาษีตาไฟหายไปผิดสังเกตเช่นนั้นก็ชักสงสัย จึงออกจากกุฎีมาตา ม เมื่อเดินผ่านบ่อน้ำตายเห็นน้ำในบ่อเดือด ก็รู้ว่าเกิดเหตุร้ายขึ้นแล้ว เดินต่อไปอีกก็พบซากศพของฤาษีตาไฟ

ฤาษีตาวัวจึงตักน้ำอีกบ่อหนึ่งมาราดรด ฤาษีตาไฟก็ฟื้นคืนชีพขึ้นมา แล้วเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ฤาษีตาวัวฟัง และว่าจะต้องแก้แค้นศิษย์ลูกเจ้าเมือง ตลอดจนประชาชนพลเมืองทั้งหมดอีกด้วย

ฤาษีตาวัวก็ปลอบว่า อย่าให้มันรุนแรงถึงอย่างนั้นเลย ฤาษีตาไฟก็ไม่เชื่อฟังได้เนรมิตวัวขึ้นตัวหนึ่ง เอาพิษร้ายบรรจุไว้ในท้องวัวจนเต็ม แล้วปล่อยวัวกายสิทธิ์ให้เดินขู่คำรามด้วยเสียงกึกก้ อง รอบเมืองทั้งกลางวันกลางคืน แต่เข้าเมืองไม่ได้ เพราะทหารรักษาประตูปิดประตูไว้

พอถึงวันที่เจ็ด เจ้าเมืองเห็นว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้นก็สั่ง ให้เปิดประตูเมือง วัวกายสิทธิ์คอยทีอยู่แล้วก็วิ่งปราดเข้าเมือง ทันทีนั้นท้องวัวก็ระเบิดออก พิษร้ายก็กระจายพุ่งออกมาทำลาย ผู้คนพลเมืองตายหมด เมืองศรีเทพก็เลยร้างมาแต่ครั้งนั้น

ถ้าว่าตามเรื่องที่เล่ามานี้ ฤาษีตาวัวก็ดูจะใจดีกว่าฤาษีตาไฟ และคงจะเป็นด้วยฤาษีตาวัวเป็นผู้ช่วยให้ฤาษีตาไฟฟื้น คืนชีพขึ้นมานี่เองกระมัง ทางฝ่ายแพทย์แผนโบราณจึงได้ถือเป็นครู ส่วนทางฝ่ายทหารออกจะยกย่องฤาษีตาไฟ ดังมีมนต์บทหนึ่งกล่าวไว้ในตำราพิชัยสงครามว่า "ขอพระศรีสุทัศน์เข้ามาเป็นดวงใจ พระฤาษีตาไฟเข้ามาเป็นดวงตา" ดังนี้

ปรัชญาหนังตะลุง : ฤาษีธรรมกับฤาษีนกเค็ด

ฤาษีธรรมกับฤาษีนกเค็ด

ฤาษี จัดเป็นตัวละครสำคัญในหนังตะลุงซึ่งจะต้องมี หนังตะลุงหลังจากโหมโรงแล้วก็จะออกฤาษี หรือเชิดฤาษีก่อน เพื่อแสดงการกราบไหว้สิ่งศักดิ์ต่างๆ เช่น พระรัตนตรัย เทวดา เจ้าที่เจ้าทาง เป็นต้น ...

อีกอย่างหนึ่ง การอัญเชิญฤาษีออกมาก็เพื่อสยบสิ่งต่างๆ ที่อาจพึงมีในการแสดงต่อไป จากผู้ไม่หวังดีที่อาจใช้ไสยเวทย์ มนต์ดำ มาทำลาย รบกวน หรือหยอกล้อ ทำให้การแสดงไม่ราบรื่น ได้ ...ซึ่งปรกตินายหนังเอง มักจะมีคาถา หรือรู้ไสยเวทย์พื้นฐาน เพื่อป้องกันสิ่งเหล่านี้ด้วย...

อันที่จริง ฤาษี นั่นคือ นักพรต หรือ นักบวช มิใช่พระสงฆ์ ... แต่ในการดำเนินตามท้องเรื่อง ฤาษีก็คือเจ้าอาวาสวัด ผู้เป็นอาจารย์สอนบรรดาศิษย์ผู้อยู่ภายในสำนัก ...ซึ่งในกรณีนี้ อาจมองได้ว่าโบราณ มิกล้านำ พระสงฆ์ มาแสดงเป็นตัวละครโดยตรง เพราะเกรงกลัวบาป จึงต้องใช้ ฤาษี แทน ...

ฤาษีในหนังตะลุง จะจำแนกเป็น ๒ ประเภท คือ ฤาษีธรรม กับ ฤาษีนกเค็ด ....(แม้ในหนังตะลุงบางเรื่องอาจมีฤาษีหลายตนก็ตาม แต่ก็จะจำแนกเป็นฤาษีธรรมหรืฤาษีนกเค็ดอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น)..

ฤาษีธรรม คือ พระอาจารย์ของฝ่ายพระเอกหรือนางเอก จะสอนวิชาธัมมธัมโม สอนคนให้เป็นคนดี มีศีล มีคุณธรรม... และฤาษีธรรมจะมีฤทธิ์ มีวิชาไสยเวทย์ มนต์ดำ มีของดี หรือเครื่องรางของขลัง ให้ลูกศิษย์ไว้ใช้หรือป้องกันตัวด้วย...

ฤาษีนกเค็ด คือ อาจารย์ของฝ่ายผู้ร้ายหรือบางครั้งก็เป็นอาจารย์ของพวกยักษ์... ฤาษีนกเค็ดนี้ ไม่ตั้งอยู่ในศีลในธรรม เช่น ชอบกินเหล้า หรือเรื่องลามกต่างๆ เป็นต้น ...แต่ก็จะมีฤทธิ์และสิ่งอื่นๆ เช่นเดียวกับฤาษีธรรม...

วิชาของฤาษีธรรมจะเหนือกว่าของฤาษีนกเค็ด ข้อนี้บ่งชี้ให้เห็นว่า ธรรมะย่อมชนะอธรรม เสมอ

ในการที่หนังตะลุงจำแนกฤาษีออกเป็น ๒ ประเภท นี้ อาจสะท้อนความเป็นจริงได้ว่า นักบวช นักพรต ก็มีทั้งพวกตั้งอยู่ในศีลในธรรมและพวกประพฤตินอกรีตนอกรอย ...และอาจารย์มักจะสอนศิษย์ตามมุมมองหรือความคิดเห็นของตัวเอง ...

บรรดาศิษย์ก็เช่นเดียวกัน ถ้าไปอยู่กับฤาษีธรรมก็เป็นคนดี ...ถ้าไปอยู่กับฤาษีนกเค็ดก็จะเป็นคนชั่ว ....ข้อนี้เป็นการสะท้อนการคบคนหรือการเข้าสังคมอย่างหนึ่ง ...ดังพระบาลีว่า..

ยํ เว เสวติ ตาทิโส คบคนเช่นใดก็เป็นคนเช่นนั้นแล

วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การเก็บข้าวด้วยแกะ

การเก็บข้าวด้วยแกะ

ในเอกสารชื่อ

เอกสารมณฑลนครศรีธรรมราชในสมัยที่เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นข้าหลวงเทศาภิบาล รศ.115-125 (พ.ศ.2439-2449)”

เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ในเวลานั้น ท่านยังเป็นพระยาอยู่ บรรดาศักดิ์และราชทินนามคือ พระยาสุขุมนัยวินิจ
ตำแหน่งข้าหลวงพิเศษตรวจราชการเมืองสงขลาและพัทลุง
ท่านมาตรวจราชการแถวๆ นี้ เมื่อ รศ. 114 (ปี 2438)
ตรวจเสร็จก็เขียนรายงานทูลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระยศขณะนั้นทรงเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดี (รัฐมนตรี) กระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นด้วย

ด้วยความปรารถนาดีต่อบ้านเมือง
พอพระยาสุขุมนัยวินิจมาเห็นการเก็บข้าวของชาวบ้านย่านนี้
ท่านก็เขียนรายงานส่วนหนึ่งว่าอย่างนี้ครับ


“...นาปีนี้บริบูรณ์ทั่วกันหมดถึงแก่เก็บไม่ทัน ต้องขายเข้าในก็มีบ้าง มากที่แขวงเมืองนคร เมืองพัทลุงก็เหมือนกัน แต่ข้าพระพุทธเจ้ามีความเสียดายอยู่อีกอย่างหนึ่งซึ่งราษฎรชาวเมืองสงขลา เมืองนคร เมืองพัทลุง มาพากันนิยมในการเก็บเข้า ไม่เกี่ยวเหมือนแถบข้างเหนือ ข้าพระพุทธเจ้าได้ไปยืนดูเขาเก็บออกรำคาญในตาเปนล้นเกล้าฯ เสมือนยืนดูคนมีท้าวบริบูรณ์ดีอยู่แต่ไม่เดิน ใช้คลานหรือคุกเข่าไปตามถนนก็เช่นกัน ถ้าได้เดินดูเข้าไร่หนึ่งฝีมือเก็บเร็วๆ อยู่ใน ๔ วัน ๕ วันจึงจะแล้ว ถ้าเกี่ยววันเดียวหรือวันครึ่งก็แล้วเสร็จ...

..........
..........
หนังสือฉบับนี้ถวายข้อสรุปและความเห็นในประเด็นนี้ว่า
น่าจะแจกเคียวและออกระเบียบให้ชาวบ้านใช้เคียวแทนแกะ!!!!!

สงสัยมั้ยครับ
ว่าพระวินิจฉัยของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ทรงเป็นอย่างไร?

ทรงวินิจฉัยโดยใจความว่า
จารีตประเพณีหรือวิถีชาวบ้านที่ดำเนินมาเนิ่นนานย่อมต้องมีเหตุผล
ที่ราษฎรไม่ใช้เคียวคงไม่ใช่เพราะไม่รู้จักใช้
แต่คงเพราะเหตุอะไรบางอย่าง
และทรงไม่เห็นด้วยกับที่จะบังคับให้ราษฎรใช้เคียว
อานิสงส์ที่มีเสนาบดีผู้ทรงรอบรู้รอบคอบและละเอียดอ่อนครั้งนั้น
ทำให้เด็กจำนวนนึงมีโอกาสเห็นและสัมผัส
"แกะ"
ในกิจกรรมเก็บข้าววันนี้

เทคนิคที่เกษตรกรใช้ในการคัดพันธุ์ โดยมากคือการเก็บข้าวด้วยแกะหรือเคียว (เครื่องมือเกี่ยวข้าว) เพื่อป้องกันไม่ให้มีข้าวปนอีกทั้งในปักษ์ใต้ฤดูกาลไม่เหมือนภาคอื่นๆ เพราะได้ชื่อว่าเมืองฝนแปดแดดสี่ การเก็บข้าวด้วย แกะ เป็นการควบคุมความชื้นของรวงข้าวที่จะต้องเก็บไว้ในยุ้งฉางเป็นเรือนปีเพราะการทำนาในปักษ์ใต้ส่วนใหญ่ไม่ได้ทำนาเพื่อการค้าขาย ส่วนใหญ่จะเป็นการทำนาเพื่อเก็บไว้เป็นเสบียงกรังประจำครัวเรือนใช้เพื่อบริโภคของสมาชิกในบ้านไปตลอดปี นอกจากผลิตผลจะมีจำนวนมากก็จะใช้สำหรับเลี้ยงสัตว์ และจำหน่ายเป็นรายได้ของครัวเรือนอีกทั้งการเก็บเลียงข้าวที่เก็บด้วยแกะสามารถเก็บไว้ในยุ้งข้าวหรือเรินข้าววางซ้อนๆกันได้จำนวนมาก การวางซ้อนจะซ่อนคอรวงข้าวไว้ด้านในเพื่อให้ความชื้นจากคอรวงข้าวรักษาระดับความชื้นที่เหมาะสมตามฤดูกาลและจะวางซ้อนเป็นวงกลมตามขนาดของเรินข้าว โดยซ้อนสูงขึ้นเรื่อยๆตามขนาดความสูงของเรินข้าว เมื่อจะรื้อออกมานวด เซ หรือสี เพื่อจะได้ข้าวสารใช้หุงกิน ก็จะรื้อเอาข้าวเก่ามากินก่อนส่วนข้าวนาปีใหม่จะเก็บไว้กินปีถัดไป นี่เป็นวิธีคิด และวิถีชีวิตที่รู้เท่าทันธรรมชาติของชาวนาปักษ์ใต้

วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

คนเล่นเงา











1.ความเป็นมาของวายังนักวิชาการมีความเห็นแตกต่างกัน3แนวทางคือกลุ่มแรก ยืนยันว่าวายังเป็นศิลปะการแสดงของท้องถิ่นชวามาแต่โบราณ มีกำเนิดบนเกาะชวาเนื่องมาจากประเพณีของคนท้องถิ่นซึ่งนับถือสิ่งศักด์สิทธิ์และบูชาบรรพบุรุษนั่นเอง หลักฐานที่ใช้สนับสนุนของกลุ่มนี้มีหลายประการ กล่าวคือ ภาษาและคำศัพท์เฉพาะทางเทคนิคการแสดงเป็นภาษาชวาโบราณ ประเพณีการชมละครวายังที่เก่าแก่ยังคงเห็นปฏิบัติกันอยู่ทั่วไป กล่าวคือ บริเวณที่นั่งของผู้ชมฝ่ายชายอยู่คนละด้านของฝ่ายหญิง ผู้ชมฝ่ายชายนิยมนั่งด้านเดียวกับผู้เชิดหนังเพราะเป็นด้านที่ชมการแสดงได้สนุกกว่าด้านที่เห็นเงา ฝ่ายหญิงถูกกำหนดที่นั่งให้อยู่ด้านตรงข้ามกับผู้ชายเหตุผลอีกประการหนึ่งคือ วายังเป็นการแสดงที่แปลกแตกต่างและโดดเด่นจากการแสดงอื่นๆ ทั้งหมดในเอเชียจึงน่าจะเชื่อได้ว่าศิลปะการแสดงวายังเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของอินโดนีเซียอย่างแท้จริงกลุ่มที่สอง เชื่อว่าศิลปะการเชิดหนังนี้ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย เพราะอินเดียมีการแสดงเชิดหนังและเชิดหุ่นมาตั้งแต่สมัยโบราณ วัฒนธรรมอินเดียเจริญและเก่าแก่กว่าชวา ประวัติศาสตร์ยุคโบราณของชวาได้เห็นการแผ่ขยายอารยธรรมอินเดียเป็นระยะเวลาหลายร้อยปี ด้วยเหตุนี้ ชวาจึงน่าที่จะเป็นฝ่ายรับการแสดงวายังจากอินเดีย นอกจากนี้ตัวละครตลกในวายังของชวาที่ชื่อ ซีมาร์ ( Semar) มีลักษณะที่ละม้ายคล้ายคลึงกับตัวตลกอินเดีย ที่ปรากฏในละครสันสกฤตอันโด่งดังของอินเดียสมัยคริสต์ศตวรรษที่3-8กลุ่มที่สาม สนับสนุนความคิดที่ว่า การเชิดหนังและหุ่นชนิดต่างๆน่าที่มาจากประเทศจีนเพราะชนชาติจีนรู้จักศิลปะประเภทนี้มานานกว่า2000ปีแล้วโดยมีหลักฐานบันทึกเรื่องราวใน121 ปีก่อนคริสต์ศักราชว่า จักรพรรดิองค์หนึ่งในราชวงค์ฮั่นทรงโปรดให้ทำพิธีเข้าทรงเรียกวิญญาณนางสนมคนโปรดของพระองค์ การทำพิธีเช่นนี้อาศัยเทคนิคการเชิดหนังนั่นเองแม้ไม่มีข้อยุติที่แน่ชัดว่า จริงๆแล้ววายังของชวามาจากไหน และได้รับอิทธิพลจากจีนหรืออินเดียวหรือไม่ก็ตาม แต่สิ่งที่น่าจะสันนิษฐานได้ก็คือ ในสังคมแบบชาวเกาะซึ่งนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในธรรมชาติ และมีประเพณีบูชาบรรพบุรุษเช่นเดียวกับสังคมโบราณในประเทศเอเชียทั้งหลายการแสดงเชิดหนังและเชิดหุ่นกระบอกเป็นศิลปะที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติอยู่แล้วในสิ่งแวดล้อมของสังคมดังกล่าวความสัมพันธ์ของวายังกันพิธีกรรมทางศาสนาย่อมแยกกันไม่ออก เงาต่างๆที่เกิดขึ้นเปรียบเสมือนดวงวิญญาณของบรรพบุรุษที่ศิลปินผู้เชิดบันดาลให้เกิดขึ้น คนโบราณนิยมประกอบพิธีเรียกวิญญาณบรรพบุรุษในงานมงคลต่างๆ เช่น งานแต่งงาน เพื่อนให้วิญญาณของบรรพบุรุษได้มารับรู้เป็นสักขีพยานการแสดงวายังจึงเป็นศิลปะการแสดงที่มีวามขลังและศักดิ์สิทธิ์ดุจพิธีกรรมทางศาสนา การทำพิธีนี้เป็นที่ยอมรับในสังคม การเชิดหนังวายังจึงถูกนำมาใช้โดยบุคคลสำคัญซึ่งทำตนเป็นสื่อกลางรับจ้างอัญเชิญวิญญาณ รวมทั้งการแสดงเรื่องราวที่เกี่ยวกับปรัชญาและศีลธรรมอีกด้วย มีผู้สันนิษฐานว่าคำว่า “วายัง” มีวิวัฒนาการมาจากคำเก่าของชวา คือ “วาห์โย” ซึ่งแปลว่า การปรากฎให้เห็นซึ่งการดลใจทางวิญญาณต่อเมื่ออารยธรรมฮินดูเข้ามาสู่เกาะชวาแล้วนั้น วายังจึงได้พัฒนาเป็นศิลปะการแสดงที่แท้จริงได้รับการปรับปรุงจนเป็นศิลปะชั้นสูง มีบันทึกในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่าในคริสต์ศตวรรษที่ 11 วายัง ปูร์วาเป็นการแสดงที่แพร่หลายมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในราชวังต่างๆ บนเกาะชวา นอกจากนี้ วานวรรณกรรมราชสำนักสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 11 และ 12 ได้บันทึกเกี่ยวกับละครวายังว่าเป็นศิลปะการแสดงที่จับใจและสร้างความสะเทือนอารมณ์ได้อย่างดีเยี่ยม กษัตริย์หลายพระองค์ทรงอุปถัมภ์คณะละครวายัง บางพระองค์โปรดให้สร้างตัวหุ่นขึ้นใหม่ทั้งชุดเพื่อเก็บรักษาเป็นสมบัติของตระกูลวงศ์ศิลปินผู้เชิดหุ่นและพากย์บทบรรยายและบทเจรจาได้รับการดูแลอุปถัมภ์อย่างดีในฐานะศิลปินเอกประจำราชสำนัก กษัตริย์บางพระองค์ทรงสนพระทัยในศิลปะและเทคนิคการแสดงของผู้เชิดหนังถึงขนาดฝึกและออกแสดงด้วยพระองค์เอง แม้ว่าในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 16 ชาวมุสลิมเข้ามาปกครองเกาะชวาแล้วก็ตาม แต่ความนิยมละครวายังมิได้เสื่อมลง เพียงแต่ย้ายศูนย์กลางความเจริญไปพร้อมกับการเปลี่ยนที่ตั้งของเมืองหลวงของผู้ปกครองมุสลิม และจนกระทั่งทุกวันนี้ละครวายังได้รบการยกย่องว่าเป็นศิลปะสำคัญประจำชาติของอินโดนีเซียที่เก่าแก่ที่สุด


2.ชิดของวายังการแสดงเชิดหุ่นเงาหรือวายัง ปูร์วาฉบับดั้งเดิมใช้หุ่นเชิดที่ทำด้วยหนังสัตว์ จึงเรียกอีกชื่อว่า “วายัง กูลิต” (Wayang Gulit) ซึ่งหมายถึง การเชิดหนังเพราะกูลิตแปลว่าหนังสัตว์ วายัง กูลิตนี้เป็นศิลปะการแสดงที่งดงามและวิจิตรกว่าการแสดงชนิดอื่นทั้งหมด การแสดงนี้รวมศิลปะหลายด้านไว้ด้วยกัน อาทิ ด้านการประพันธ์บทละคร การดนตรี นาฎกรรม ศิลปกรรม ทั้งยังสะท้อนความลึกซึ้งในเชิงประวัติศาสตร์ การศึกษา ปรัชญาศาสนาความลึกลับและสัญลักษญ์ในการตีความหมายนอกจากวายัง กูลิตแล้วยังมีการแสดงวายังในรูปแบบอื่นอีกหลายชนิด ได้แก่1. วายัง เบเบร์ (Wayang Beber) เป็นการแสดงที่เก่าแก่พอๆกับวายัง กูลิต หรืออาจจะเก่าแก่กว่าด้วยซ้ำ เป็นการแสดงวายังชนิดที่ทดลองแรกสุด เบเบร์แปลว่าคลี่ตัว วิธีแสดงใช้วิธีคลี่ม้วนกระดาษหรือผ้าซึ่งเขียนรูปต่างๆ จากลายสลักบนกำแพงในโบสถ์หรือวิหาร ภาพวาดเหล่นนี้ผ่านตาผู้ชมไปเรื่อยๆเหมือนดูภาพการ์ตูน ปัจจุบันวายัง เบเบร์ไม่ได้รับความนิยมแล้วเพราะเทคนิคการแสดงไม่มีชีวิตชีวาและไม่ดึงูดผู้ชมเท่าวายัง กูลิต2. วายัง เกอโด๊ก (Wayang Gedog) เป็นการแสดงที่พัฒนามาจากวายัง กูลิต ตัวหุ่นของวายัง เกอโด๊กทำจากหนังสัตว์เช่นกัน นิยมแสดงเรื่องราวของเจ้าชายปันหยี (อิเหนา) ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12 และเรื่องราวของกษัตริย์ชวาภายใต้ อารยธรรมมุสลิมผู้ที่ริเริ่มสร้างสสรค์การแสดงวายัง เกอโด๊ก เป็นนักบุญมุสลิมท่านหนึ่งซึ่งมีชีวิตในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 163. วายัง โกเล็ก (Wayang Golek) พัฒนามาจากวายัง กูลิต เช่นเดียวกัน หากแต่มีจุดประสงค์เพื่อจัดแสดงได้ในเวลากลางวันโดยไต้องอาศัยความมืดกับตะเกียง ตัวหุ่นของวายัง โกเล็กจึงมีลักษณะเป็นหุ่นตุ๊กตา 3 มิติ ทำจากไม้แกะสลัก ส่วนศรีษะของหุ่นทาสีสดใสสวยงาม ลำตัวหุ่นซึ่งทำจากไม้เช่นเดียวกันมีแค่เอว จากเอวลงไปใช้ผ้าบาติกคลุมลงให้ยาวเสมือนสวมเครื่องแต่งกายหรือกระโปรงกรอมเท้า ภายในผ้านี้มีที่จับตัวหุ่น ดังนั้นเวลาเชิดจะไม่เห็นมือผู้เชิด ไหล่และข้อศอกตัวหุ่นขยับได้โดยใช้วิธีเชื่อมกับก้านไม้ยาวๆสำหรับกระตุกให้เคลื่อนไหวได้ เนื้อเรื่องที่แสดงกล่าวถึงเรื่องราวของนักรบผู้กล้าหาญของต้นราชวงศ์ชาวมุสลิมในหมู่เกาะชวา ผู้ที่คิดสร้างวายัง โกเล็ก คนแรกเป็นนักบุญมุสลิมเช่นกัน ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ปัจจุบันการแสดงวายัง โกเล็ก ยังคงได้รับความนิยมในภาคกลางและภาคตะวันตกของเกาะชวา4. วายัง กลิติก (Wayang Klitik) หมายถึง วายังขนาดเล็กและบาง ตัวหุ่นทำจากไม้แต่มีขนาดเล็กและบางกว่าวายัง โกเล็กมาก ส่วนแขนทำด้วยหนังสัตว์เชื่อมต่อกับส่วนลำตัวให้ดูกลมกลืนกัน ตัวหุ่นสูงประมาณ 10 นิ้ว เวลาเชิดหันด้านข้างเหมือนกับวายัง กูลิต เรื่องราวที่แสดงกล่าวถึงสมัยที่ศูนย์กลางแห่งอารยธรรมฮินดูเสื่อมลงและในที่สุดผู้บุกรุกชาวมุสลิมก็เข้ามาครอบครองในช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นการแสดงที่มุ่งสรรเสริญความยิ่งใหญ่ของชาวมุสลิมวายัง กลิติก ยังมีอีกรูปแบบหนึ่งคือ เป็นการแสดงหุ่นดีบุกซึ่งตัวขนาดเล็กเท่านิ้วคนตั้งไว้บนโต๊ะกระจกและทำให้เคลื่อนไหวโดยการใช้แม่เหล็กลากไปใต้กระจก แขนของหุ่นเหล่านี้เคลื่อนไหวได้ วายัง กลิติกชนิดนี้สร้างขึ้นสำหรับเด็ก5. วายัง มัดยา (Wayang Madya) เป็นการแสดงตามแบบฉบับของอินโดนีเซีย เล่าเรื่องราวของชาวอาหรับและวรรณคดีต่างชาติในเอเชีย รวมทั้งเรื่องราวของบุคลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพระศาสดามุฮัมมัด

การแสดงชนิดนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อเผยแพร่ศาสนาอิสลาม นอกจากนี้การแสดงวายังชนิดที่ต้องเชิดตัวหนังและหุ่นแบบต่างๆ ตังกล่าวข้างต้นแล้วยังมีศิลปะการแสดงที่น่าสนใจที่เลียนแบบการเชิดหนังหรือเชิดหุ่นกระบอกซึ่งใช้คนแสดงจริง ได้แก่1. วายัง โตเป็ง (Wayang Topeng) เรียกสั้นๆว่า “โตเป็ง” เป็นระบำหน้ากาก ผู้ชายแสดงล้วน หน้ากากแกะสลักจากไม้มีลักษณะหน้าปูดนูนดูผิดธรรมชาติ การแสดงนี้เชื่อว่ามีความเป็นมาจากพิธีกรรมบวงสรวงบูชาภูตผีปีศาจในสมัยโบราณ ลีลาการเต้นคล้ายตัวหุ่นจึงใช้ชื่อว่า “วายัง” คณะแสดงมีจำนวน 10 คน แบ่งเป็นผู้แสดง 6 คน และนักดนตรี 4 คน ควบคุมการแสดงโดยผู้กำกับวงซึ่งเรียกว่า”ดาลัง” เรื่องราวที่นิยมแสดงคือการผจญภัยของเจ้าชายปันหยี กษัตริย์และนักรยที่มีชื่อเสียงของชวาในศตวรรษที่ 12 ส่วนใหญ่เป็นฉากรักและฉากรบ บางโอกาสจะเพิ่มฉากตลกบันเทิงเพื่อให้การแสดงมีรสชาติมากขึ้น แต่การแทรกบทตลกจะต้องไม่ทำให้เนื้อเรื่องหลักเสียหาย เป็นการแสดงที่นิยมในภาคตะวันออกของชวาในบาหลี เป็นที่โปรดปรานทั้งในราชวังและในระดับชาวบ้าน การแสดงชนิดนี้มีข้องบังคับอย่างหนึ่งคือ ถ้าแสดงต่อหน้าพระพักตร์กษัตริย์ ผู้แสดงจะต้องถอดหน้ากากออก ดังนั้นผุ้แสดงต้องแสดงบทบาทและอารมณ์มากกว่าปกติผู้แสดงต้องแสดงบทบาทและอารมณ์มากกว่าปกติ

2. วายัง โอรัง (Watang Orang) แปลว่า "หุ่นที่เป็นมนุษย์" เป็นนาฏศิลป์อินโดนีเซียที่เป็นแบบฉบับสมบูรณ์โดยมาตราฐานของศิลปะราชสำนัก ได้รับอิทธิพลจากนาฏลีลาของชาวชาวตะวันออกเป็นระบำที่ไม่สวมหน้ากาก นำมาเผยแพร่ในชวาตะวันตกและภาคกลาง แสดงเรื่องราวที่นำมาจากรามายณะและมหาภารตะ วายัง โอรัง จึงกลายเป็นวายัง กูลิต ฉบับที่ใช้คนแสดงแทนการเชิดหนัง ในระยะแรกเครื่องแต่งกายเป็นลักษณะเครื่องแต่งกายทั่วไปในราชวัง ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องแต่งกายให้คล้ายกับที่ปรากฏหุ่นวายัง กูลิต การแสดงที่พิเศษนั้น ผู้แสดงเป็นเจ้านายและเชื้อพระวงศ์ในราชสำนักทั้งสิ้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นศิลปะที่แท้จริงของราชสำนักชวา ต่อมาในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักธุรกิจชาวจีนผู้หนึ่งได้จัดตั้งคณะละคราวยัง โอรัง ที่มีผู้แสดงเป็นศิลปินอาชีพ และมีลักษณะเป็นธุรกิจ ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก จนทุกวันนี้มีคณะละครประเภทนี้ 20 กว่าคณะ ส่วนในราชสำนัก หลังจากที่เศรษฐกิจตกต่ำลงในช่วงสงครามโลกทำให้ไม่สามารถทำนุบำรุงเลี้ยงดูคณะละครในวังได้อีกต่อไป ในที่สุดการแสดงวายัง โอรังก็ต้องถึงแก่การสิ้นสุดลง เหลือแต่คณะละครของศิลปินนักธุรกิจเท่านั้นการแสดงวายงในอินโดนีเซียมีมากมายหลายชนิด หากแต่วายัง กูลิตและวายัง โกเล็กเท่านั้น ที่ได้รับความสนใจมากที่สุด โดยเฉพาะวายัง กูลิตหรือวายัง ปูร์วา เป็นที่รู้จักแพร่หลายในระดับนานาชาติ ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติและศิลปะการแสดงอันเป็นเอกลักษณ์ของดินโดนีเซียก็ว่าได้3. องค์ประกอบในการแสดง



องค์ประกอบสำคัญของการแสดงวายัง กูลิต มีดังนี้ตัวหนังหรือตัวหุ่นที่ใช้เชิดส่วนใหญ่แล้วตัวหนังวายัง กูลิต ทำจากหนังควาย ตัวหนังที่มีคุณภาพดีที่สุดต้องทำจากหนังลูกควาย เพราะสะอาดปราศจากไขมันจะทำให้สีที่ทาติดทนดี วิธีการทำตัวหนังนั้น จะต้องนำหนังลูกควายมาเจียน แล้วฉลุเป็นรูปร่างและลวดลาย ใบหน้าของตัวหนังหนด้านข้าง ลำตัวหันลักษณะเฉียง ส่วนเท้าหันด้านข้างทิศทางเดียวกันกับใบหน้าของตัวหนัง
นายหนังหรือดาแล เดะแม สาแม เล่าว่าตัวเองนั้นสืบทอดการแสดงนี้ต่อมาตั้งแต่รุ่นปู่ รุ่นพ่อ ปัจจุบัน
คณะของเดะแมมีอายุกว่า 40 ปี แต่มีจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญนั่นคือ เดะแม คิดว่าวายังกูเละควรจะต้องสื่อสารได้กับ
ทั้งคนไทยพุทธและคนมลายูมุสลิม จึงคิดปฏิวัติการแสดงด้วยการเริ่มใช้ภาษาไทยพากย์สลับกับภาษามลายูถิ่นที่
เคยใช้พากย์เป็นพื้นฐาน และได้เปลี่ยนชื่อคณะจากเดิมคือ เดะแม ตะลุงศิลป์ มาเป็น “เดะแม ตะลุงสองภาษา”
แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ก็นับเวลาผ่านไปเกือบ 20 เต็มนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งคณะ
เดะแมเล่าต่อไปว่า การแสดงวายังกูเละในสมัยก่อนได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และตัวเดะแมก็เคย
ข้ามไปเล่นประชันกับวายังกูลิตของฝั่งมาเลย์มาแล้ว เดะแมบอกว่าการเดินทางไปครั้งนั้นสนุกมาก แต่ “หนังทาง
นู้นเค้าเล่นกันแบบเงียบๆ ไม่มีตลกอะไร แต่ว่าหนังยาวี หนังในไทยเราเนี่ย เค้าเรียก ‘ข้าวยำ’ มีไอ้นู้นมั่ง ไอ้นี้มั่ง มี
เพลงมั่ง มีตลกแปลกๆ มั่ง แต่ทางนู้นเค้าเล่นแบบนิยาย ไม่เหมือนบ้านเรา”1 เดะแมอธิบายต่อไปว่า ถ้าจะให้ถึงรส
ชาติแบบข้าวยำในทรรศนะของแก ก็ต้องเล่นให้สุดอารมณ์ เช่น “เวลาเศร้าก็ต้องให้เศร้าที่สุด ถ้าตลกก็ต้องตลกให้
แบบว่า ‘เยี่ยวใส่ผ้าเลย’ เวลาเศร้าก็ต้องให้น้ำตาไหล”2
แม้วายังกูเละจะเคยได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงเพียงใดก็ตาม แต่ก็ไม่เคยเดินทางขึ้นไปเล่นไกลกว่า
กรุงเทพมหานครเลย เอาเข้าจริงแล้วการเดินทางมาเล่นที่กรุงเทพฯ หรือเมืองหลวงก็มักจะเป็นโอกาสพิเศษเท่านั้น
หรือแม้จะขึ้นมาเล่นที่จังหวัดพัทลุงหรือนครศรีธรรมราชบ้าง ก็มักจะขึ้นมาในลักษณะงานแสดงสาธิตไม่ใช่งานหา
หรืองานจัดรายการ ยิ่งสถานการณ์อย่างในปัจจุบันทำให้วายังกูเละต้องพบกับเงื่อนไขที่ยากลำบากมากขึ้น เพราะ
มีงานรื่นเริงมหรสพน้อยลง มีผู้ว่าจ้างน้อยลง เดะแมกล่าวว่า แม้จะยังมีคนคอยชมอยู่ “แต่ว่าไม่เหมือนเดิม …
[เพราะ] … เค้าก็กลัวเหมือนกัน” 3 ที่สำคัญตัวเดะแมและชาวคณะก็กลัวด้วยเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะเมื่อต้องเดิน
ทางไปแสดงในที่ต่างๆ และเมื่อถามถึงอนาคตการแสดงวายังกูเละของนายหนังรุ่นต่อไป เดะแมกล่าวว่า “[ก็ยังพอ
จะ] มีโอกาส แต่ว่า น้อย” 4
ไม่เพียงแต่เงื่อนไขในพื้นที่ที่บีบให้มีการแสดงวายังกูเละน้อยลงเท่านั้น การจงใจมองข้ามหรืออาจด้วย
ปัญหาความลักลั่นไม่ลงตัวในนิยามของความเป็นชาติไทย ทำให้ส่วนงานของรัฐที่มีหน้าที่โดยตรงต่อ “สิ่งที่อ้างว่า
เป็น” มรดก-วัฒนธรรม-เอกลักษณ์ของชาติไทย ยังคงเก็บวายังกูเละไว้ ณ ที่ใต้สุดของสิ่งที่เรียกว่าศิลปะการแสดง
ของชาติ





ปืนพญาตานี



ปืนพญาตานี
ปืนพญาตานี เป็นปืนใหญ่โบราณ หล่อด้วยสัมฤทธิ์ ลำกล้องเรียบ บรรจุกระสุนทางปากกระบอก ใช้ดินดำเป็นดินระเบิดและจุดชนวนโดยการจุดดินระเบิดขนาดของปืนยาว 32 วา 1 ศอก 2.5 นิ้ว ใช้กระสุนขนาด 11 นิ้ว การยิงแต่ละครั้งจะต้องบรรจุดินปืนหนัก 15 ชั่ง สามารถยิงไกล ประมาณ 1,460 – 1,800เมตร ตามประวัติการสร้างระบุว่า สร้างในสมัยรายาบีรู (พ.ศ. 2159 –2167) ในการหล่อปืนใหญ่ครั้งนั้น ชาวจีนชื่อลิ่มโต๊ะเคี่ยม เป็นช่างหล่อปืนให้ตามความประสงค์ของรายา ได้ปืนใหญ่ครั้งนั้น 3 กระบอก คือ เสรีปัตตานีหรือ พญาตานี ศรีนคราหรือเสรีนคร และมหาเลลา ทั้ง 3 กระบอกได้ติดตั้งไว้บนรถลากและได้ใช้เป็นอาวุธป้องกันเมืองปัตตานีหลายครั้งในเวลาต่อมา จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2329 สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ได้โปรดให้กรมพระราชวังบวรสถานมงคลนำไปไว้ที่กรุงเทพฯ และตั้งอยู่ที่หน้ากระทรวงกลาโหมมาจนทุกวันนี้
ปืนพญาตานี เป็นประติมากรรมหล่อด้วยโลหะที่มีชื่อเสียง เป็นที่เลื่องลือมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นผลงานชิ้นสำคัญที่แสดงถึงความเจริญทางเทคโนโลยีและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และการเมืองของปัตตานีในยุคนั้น ปืนพญาตานีมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากที่สุดในประเภทปืนใหญ่โบราณที่มีอยู่ในประเทศไทยขณะนั้น กระทรวงมหาดไทยได้ใช้รูปปืนใหญ่พญาตานีกระบอกนี้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดปัตตานี และในผืนธงประจำจังหวัดก็ใช้รูปปืนใหญ่วางอยู่กลางผืนธงแหล่งที่มา: คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. 2543. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกสารและภูมิปัญญา. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.

วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

โรงเรียนที่สังคมต้องการ







โรงเรียนชัยมงคลวิทยา จังหวัดสงขลา
เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๑ ไปเที่ยวทำบุญที่วัดชัยมงคลจังหวัดสงขลา ได้เดินสำรวจบริเวณวัดเห็นมีอาคารอยู่หลังหนึ่งขึ้นป้ายชื่อโรงเรียนชัยมงคลวิทยา เดินเข้าไปดูข้างใน เห็นมีชั้นเรียนชั้นอนุบาล และชั้นประถมหนึ่ง ด้านหน้าอาคารตรงกำแพงมีการเขียนรูปเกี่ยวกับศาสนาอาไว้เป็นแหล่งเรียนรู้ มีสนามเด็กเล่น มีลานวิ่งเล่นดูร่มรื่นสนใจอยากรู้ว่าเป็นโรงเรียนประเภทใดจึงกลับมาค้นหาความรู้ประกอบดังที่จะเอามาเล่าให้กับท่านผู้อ่านดังนี้
สงขลา จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย เป็นเมืองท่าและเมืองชายทะเลที่สำคัญมาแต่โบราณ งดงามด้วยขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษาและมรดกทางวัฒนธรรมจากบรรพบุรุษตกทอดให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาจนทุกวันนี้ รวมทั้งมีวัดเก่าแก่นับร้อยแห่ง
ทำให้แดนดินถิ่นนี้ อบอวลไปด้วยความเงียบสงบร่มเย็น เหมาะสมแก่การปฏิบัติธรรม
จึงไม่น่าแปลกใจ ที่จะมีพระสงฆ์ผู้คู่ควรแก่การกราบไหว้เป็นมงคลชีวิตอยู่หลายรูปด้วยกัน
พระราชวรธรรมโกศล ก็เป็นหนึ่งในพระเถระจำนวนนั้น
พระราชวรธรรมโกศล (แฉล้ม เขมปัญโญ) เจ้าคณะจังหวัดสงขลา ฝ่ายมหานิกาย ปัจจุบันดำรง ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดชัยมงคล พระอารามหลวง อ.เมือง จ.สงขลา
ปัจจุบัน อายุ 79 พรรษา 58
เป็นสงฆ์ที่ได้ชื่อว่าปกครองและจัดระเบียบการบริหารงานของคณะสงฆ์ใน จ.สงขลา ได้อย่างมีประ สิทธิภาพ
อัตโนประวัติ มีนามเดิมว่า แฉล้ม ชูโต เกิดเมื่อปี พ.ศ.2472 ที่บ้านเลขที่ 149 หมู่ที่ 3 ต.สทิงหม้อ อ.สิงหนคร จ.สงขลา โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายเพ็ชร และ นางสั้น ชูโต มีพี่สาว 1 คน น้องชาย 3 คน ครอบ ครัวประกอบอาชีพค้าขาย ทำนา และการประมง
ในวัยเยาว์ สำเร็จการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดธรรมโฆษณ์ ต.สทิงหม้อ อ.สิงหนคร จ.สงขลา จากนั้นออกมาช่วยครอบครัวหาเลี้ยงชีพทำนา เลี้ยงวัว เลี้ยงควาย และออกหาปลา
บางครั้งได้ตามบิดาไปช่วยค้าขายทางเรือ ซึ่งเป็นเครื่องปั้นดินเผาสทิงหม้อ โดยนำไปขายตามชุมชน และเมืองต่างๆ ทั้งหัวไทร ปากพนัง ท่าศาลา และขา กลับ ยังได้แวะซื้อสินค้าจากเมืองต่างๆ มาขายที่เมืองสงขลา
กระทั่งอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2493 ณ พัทธสีมาวัดธรรมโฆษณ์ ต.สทิงหม้อ อ.สิงหนคร จ.สงขลา มี พระครูธรรมโฆษณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์
เมื่อครองสมณเพศก็มุ่งมั่นศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม พ.ศ.2496 ได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่วัดชัยมงคล และสามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ
พ.ศ.2508 สอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค จากสำนักเรียนวัดชัยมงคล
มีความรู้พิเศษด้านภาษาขอม และมีความชำนาญในการเทศนา ปาฐกถาธรรม การเผยแผ่ธรรม การอบรมพัฒนาจิต นวกรรมการออกแบบการก่อสร้าง และได้รับการแต่งตั้งเป็นรองเจ้าอาวาสวัดชัยมงคล กระทั่งปี พ.ศ.2517 ได้รับการแต่งตั้งให้เเป็นเจ้าอาวาส วัดชัยมงคล
พ.ศ.2528 วัดชัยมงคล ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง ท่านก็เป็นผู้รักษาการ
พ.ศ.2530 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดชัยมงคล (พระอารามหลวง) จนถึงปัจจุบัน
ทั้งนี้ วัดชัยมงคล ตั้งอยู่เลขที่ 1 ถนนชัยมงคล อ.เมือง จ.สงขลา สร้างเมื่อปี พ.ศ.2394 สมัยรัชกาลที่ 4 ตอนต้น มีนามเดิมว่า วัดโคกเสม็ด ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดชัยมงคล มีพระสถูปเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ได้สถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2528
ท่านได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาดูงานด้านพระพุทธศาสนาในประเทศและต่างประเทศ อาทิ ประเทศอินเดีย เนปาล ศรีลังกา
พ.ศ.2535 ได้ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานกับพระอาจารย์ภัททันตะอาสภะ มหาเถระ ที่จังหวัดชลบุรี
พระเดชพระคุณได้สร้างคุณูปการต่อชาวสงขลาเป็นอย่างมาก พ.ศ.2502 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกธรรมและแผนกบาลี ประจำสำนักศาสนศึกษาวัดเลียบ อ.เมือง จ.สงขลา
ปัจจุบันท่านยังเป็นคณะกรรมการสอนบาลีสนามหลวงของสำนักเรียน จ.สงขลา เป็นผู้อำนวยการโครงการอบรมเยาวชนภาคฤดูร้อน เป็นประธานโครงการปฏิบัติธรรมพัฒนาจิต เป็นประธานที่ปรึกษา วิทยากรบรรยายธรรม และอำนวยการฝึกอบรมการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน เป็นประธานจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอน ภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับชาวมาเลเซียเชื้อสายไทย ในประเทศมาเลเซีย
นอกจากนี้ ท่านยังเน้นให้การศึกษาแก่นักเรียนที่มีฐานะยากจน โดยส่งเสริมให้การศึกษาทั้งแผนกธรรม บาลี และสามัญศึกษา ซึ่งขณะนี้ท่านได้สร้างอาคาร เปิดเป็นโรงเรียนชัยมงคล ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จจำนวน 2 ห้องเรียน จึงเปิดรับนักเรียนได้เพียงชั้นอนุบาลและชั้นประถมปีที่ 1 ซึ่งเปิดเทอมที่ผ่านมาได้เปิดเรียนเทอมแรก เป้าหมายท่านจะก่อสร้างต่อจนแล้วเสร็จ และรับนักเรียนเข้าเรียนได้จนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
ลำดับงานปกครอง พ.ศ.2532 เป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ.2550 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดสงขลา
ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2529 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก ที่ พระครูศรีมงคลเจติยากร พ.ศ.2530 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก ในราชทินนามเดิม
พ.ศ.2536 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามที่ พระวิเชียรโมลี
พ.ศ.2548 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ พระราชวรธรรมโกศล
ด้านเกียรติคุณทางสังคม พ.ศ.2544 คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ถวายโล่เชิดชูเกียรติคุณเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา สาขามนุษย ศาสตร์
พ.ศ.2545 ได้รับพระราชทานเกียรติบัตรและเสมาธรรมจักร ผู้บำเพ็ญประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาในด้านการบริหารคณะสงฆ์ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ศาลาดุสิดาลัย พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน กรุงเทพมหานคร
ล่าสุดเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2551 ได้รับปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาหลักสูตรและการสอน ที่สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ลงมติถวาย
พระราชวรธรรมโกศล เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากพุทธศาสนิกชนชาวเมืองสงขลา เป็นสมณะที่มีวัตรปฏิบัติดีงาม มั่นคงในการปฏิบัติธรรมพระกัมมัฏฐาน เปี่ยมด้วยเมตตาธรรม เป็นที่พึ่งทางใจ เน้นการสร้างทรัพยากรบุคคล โดยยึดหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ท่านมีความตั้งใจให้เด็กไทยทุกคนได้รับการศึกษา สร้างคนให้เป็นคนดี มีศีลธรรม ด้วยเล็งเห็นว่าทุกวันนี้บ้านเมืองศีลธรรมถดถอย จำเป็นต้องเริ่มปลูกฝังศีลธรรมตั้งแต่เด็ก ให้มีศีลธรรมสัมมาคารวะ ความประพฤติเรียบร้อย เป็นข้อปฏิบัติพื้นฐานในการดำรงชีวิตให้เป็นปกติสุขในสังคม
จึงนับเป็นมงคลอย่างยิ่ง สำหรับผู้ที่ได้สัมผัสใกล้ชิดและได้รับฟังคำสั่งสอนจากตัว








วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ผีพุ่งใต้


ผีพุ่งใต้คืออะไร

ผีพุ่งไต้คืออะไร
ผีพุ่งไต้ คือ ปรากฏการณ์ของเทหวัตถุนอกบรรยากาศของโลกที่พุ่งมาสู่พื้นผิวของโลกด้วยแรงดึงดูด ผ่านชั้นของบรรยากาศที่หนาขึ้นไปประมาณ 100 กิโลเมตร จึงเกิดการเสียดสีจนลุกเป็นไฟสว่างวาบเป็น ทางไปในท้องฟ้า เรียกกันว่า ดาวตก(Meteor) หรือ ผีพุ่งไต้ ดาวตกจะวิ่งเข้ามาสู่บรรยากาศของโลกวันหนึ่งประมาณ 10,000 ล้านดวง ขนาดของดาวตกมีตั้งแต่ ชิ้นเล็กที่สุดที่เราสามารถถือไว้ในอุ้งมือได้ถึงพันๆ ดวงจนถึงมีขนาดใหญ่น้ำหนักเป็นตันๆ ความเร็วของ ดาวตกอยู่ระหว่าง 72 กิโลเมตรต่อวินาที และ 12 กิโลเมตรต่อวินาที สุดแต่ว่าดาวตกนั้นพุ่งตรงเข้าชนโลก หรือพุ่งแฉลบไป ดาวตกทุกดวงมิได้เป็นผีพุ่งไต้(Shooting Star)เสมอไป ความสว่างของผีพุ่งไต้เกิดจากความร้อนที่ดาว ตกเหล่านั้นเสียดสีกับบรรยากาศจนร้อนถึงจุดติดไฟจึงเกิดมีแสงสว่างพุ่งเป็นทาง
แม้ดาวตกที่มีขนาดเล็กเท่าหัวเข็มหมุด แต่แสงสว่างที่เกิดจากแรงเสียดสีกับบรรยากาศนั้นประมาณ 1 แสนเท่าของความสว่างหลอดไฟฟ้าตามบ้านเรือน ดาวตกทั้งหมด 10,000 ล้านดวงนี้หนักรวมกันประมาณ 10 กิโลกรัม ถ้ามันตกลงถึงโลกหมดโดยไม่มีการเผาไหม้ในบรรยากาศ น้ำหนักของโลกก็จะเพิ่มขึ้นวันละ 10 กิโลกรัม แต่โดยที่ดาวตกส่วนใหญ่จะลุกไหม้หมดไปในบรรยากาศ ที่เหลือเป็นเศษธุลีจากการลุกไหม้ เกิดสะสมอยู่ในบรรยากาศแล้วตกลงสู่โลกนั้นปีหนึ่งๆ ไม่กี่กิโลกรัม
กลุ่มดาวตกนั้นโคจรรอบดวงอาทิตย์เช่นเดียวกับโลกและดาวเคราะห์อื่นๆ เมื่อดาวตกกลุ่มใดกลุ่ม หนึ่งเข้ามาอยู่ในรัศมีดึงดูดของโลก กลุ่มดาวตกนั้นก็จะตกลงสู่โลก ทำให้เกิดแสงสว่างในท้องฟ้าและที่ น่าสังเกตก็คือ ในคืนวันที่ 11 สิงหาคม,20 เมษายน,20-27 พฤศจิกายน,ต้นเดือนพฤษภาคม,19 ตุลาคมและ 11 ธันวาคมของทุกปี หากแหงนดูท้องฟ้าในคืนเหล่านี้หลังเที่ยงคืนไปแล้วจะพบว่ามีปรากฏการณ์ของผี พุ่งไต้ในท้องฟ้ามากกว่าปกติ
ก้อนดาวตกขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่ลุกไหม้ไม่หมด แล้วตกลงสู่ผิวโลกได้นั้น ถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2463 ที่ฮูบาเวสต์ใกล้กับโตรตฟอนไตน์ในแอฟริกาตะวันตก มีขนาดยาว 2.75 เมตร กว้าง 2.43 เมตร หนัก ประมาณ 59 ตัน และหลุมที่ดาวตกตกกระแทกผิวโลกกว้างใหญ่ที่สุดนั้น ได้แก่ หลุมดาวตกที่เกาะวิลเคส ในดินแดนแอนตาร์คติค ขั้วโลกใต้ ซึ่งค้นพบเมื่อ พ.ศ.2506 มีเส้นผ่าศูนย์กลางกว้าง 24 กิโลเมตร ลึก 805 เมตร คาดคะเนว่าดาวตกที่ก่อให้เกิดหลุมขนาดนี้ต้องหนักประมาณ 13,000 ล้านตัน พุ่งเข้าชนด้วยอัตรา เร็ว 70,811 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ทำไมต้องเป็น ผี เพราะมองไม่เห็นตัวคนพุ่ง
ทำไมต้อง พุ่ง เพราะคำว่าพุ่งมีความหมายตรงตามที่มองเห็น
ทำไมต้องเป็น ใต้ เพราะมีแสงสว่าง

วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

กริช



กริช ความเป็นมาของกริชเป็นอย่างไร ไม่เป็นที่แน่ชัด แต่จากเรื่องราวในเทพนิยายและตำนานกริชนั้นจะเป็อาวุธประจำตัว และสืบทอดให้แก่คนในตระกูลสืบไป ทั้งยังมีคุณค่าในเชิงเป็นศิลปวัตถุที่เป็นมงคลและศักดิ์ศรีของผู้พกพา กริช เป็นคำในภาษาชวา - มลายู ส่วนในภาษาถิ่นยะลาเรียกว่า "กรือเระฮ์" เนื่องจากกริชมีความเกี่ยวข้องกับชาวชวาในสมัยโบราณที่เชื่อในเทพเจ้า ลักษณะของด้ามกริช มักจะทำเป็นรูปสัตว์ในเทพนิยายของชวา และไม่ขัดกับหลักทางศาสนาอิสลาม ส่วนกริชของจังหวัดยะลามีชื่อและประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน คือ กริชเมืองรามัน เป็นกริชตระกูลสำคัญในประวัติของกริชและเป็นที่ขึ้นชื่อมานาน โดยมีประวัติความเป็นมาจากปากคำของผู้สูงอายุเล่าให้ฟังว่า เมื่อประมาณ 300 ปี ที่ผ่านมาเจ้าเมืองรามันประสงค์จะมีกริชไว้ประจำตัว และอาจจะเป็นกริชคู่บ้านคู่เมืองหรือในบางคราวจะได้มีไว้ประทานสำหรับขุนนางผู้จงรักภักดีหรือผู้ทำความดีต่อบ้านเมืองหรือเป็นของขวัญแก่แขกบ้านแขกเมือง แต่กริชดี ๆ ในช่วงนั้นหายากมาก เจ้าเมืองรามันจึงได้ให้คนไปเชิญช่างที่มีฝีมือดีและแก่กล้าด้วยอาคมมาจากชวามาตั้งเป็นช่างประจำเมือง เรียกขานว่า "ปาแนซาระห์" (ปาแน แปลว่า ช่าง ซาระห์ เป็นชื่อที่เจ้าเมืองตั้งให้) ได้มาตั้งบ้านเรือนที่บ้านยะต๊ะ (ตำบลยะต๊ะในปัจจุบัน) เมืองรามันได้ทำกริชตามรูปแบบของตนเองจนเป็นที่รู้จักและได้เรียกชื่อกริชว่า"กริชปาแนซาระห์"ต่อมาได้ถ่ายทอดการทำกริชแก่ลูกศิษย์ 7 คน แต่ละคนได้รับความรู้คนละแบบ และเป็นที่รู้จักแพร่หลาย คือ
1. กริชจือรีตอ 2. กริชอาเนาะลัง 3. กริชสบูฆิส 4. กริชแบกอสบูการ์ 5. กริชปาแนซาระห์ 6. กริชบาหลี 7. กริชแดแบะอาริสหรือกายีอาริส กริชแต่ละแบบมีความแตกต่างกันในรูปและรายละเอียดของตัวกริช ลูกศิษย์ทั้ง 7 คน ของปาแนซาระห์ ได้แยกย้ายไปทำกริชตามรูปแบบที่ตนได้รับการถ่ายทอดในบริเวณจังหวัดชายแดนภาคใต้นายเจะเฮง และเซ็ง อายุ 93 ปี ชาวตำบลกะลาพอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี เป็นช่างกริชอาวุโสที่มีฝีมือเป็นเลิศทำกริชด้วยชีวิตจิตใจ ได้เล่าว่าอาจารย์ปู่ของท่านซึ่งเป็นศิษย์คนหนึ่งของปาแนซาระห์ มีฝีมือในการทำกริชอย่างยอดเยี่ยม มีคาถาอาคมวิเศษ สามารถจับตัวกริชร้อน ๆ ด้วยมือเปล่าและดัดให้เป็นรูปคดไปมาได้ตามใจ หรือกดประทับลายนิ้วมือไว้บนตัวกริชเป็นเครื่องหมายไว้ แต่คาถาอาคมนี้มีเงื่อนไขพิเศษ คือต้องครองตนอย่างระมัดระวังเป็นที่สุด ที่สำคัญผู้เรียนในบางครั้งจะมีรังสีแห่งความร้อนแผ่พุ่งออกมา เดินไปที่ใดไอร้อนจะทำลายสิ่งรอบข้าง ท่านผู้นี้เล่าให้ฟังว่าอาจารย์ปู่ของท่านเมื่อเดินไปตามคันนา ใบข้าวอ่อน ๆ ข้างทางจะเหี่ยวเฉาไปตลอดทาง ซึ่งสร้างความรำคาญใจกับตนเอง และความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น จึงมักจะไม่มีใครยอมรับการถ่ายทอดคาถาอาคมดังกล่าว ส่วนสำคัญของกริช 1. ตัวกริช หรือเรียกว่า ตากริช หรือ ใบกริช ส่วนนี้เป็นโลหะที่มีส่วนผสมอย่างพิศดาร ตามความเชื่อของช่างกริชหรือผู้สั่งทำกริช หรือทั้งสองฝ่ายตกลงกัน ตัวกริชมีลักษณะตรงโคนกว้าง ส่วนปลายเรียวแหลม มีคมทั้งสองด้าน ตัวกริชมีโครงสร้างที่แตกต่างกันอยู่สองแบบ คือ ตัวกริชแบบใบปรือ กับตัวกริชคด ตัวกริชแบบใบปรือนั้นเป็นรูปยาวตรง ส่วนปลายค่อย ๆ เรียวและบางลงจนบางที่สุดซึ่งอาจจะแหลมหรืออาจจะมนก็แล้วแต่ แบบนี้คล้าย ๆ กับรูปใบปรือ (ปรือ คือพืชน้ำชนิดหนึ่ง มีใบยาว บาง เรียว) กริชใบปรือบางเล่มจะมีร่องลึก ยาวขนานไปกับคมกริช บางเล่มมีร่องลึก 2 - 4 ร่องก็มี ส่วนตัวกริชคดนั้นมีลักษณะคดไปคดมา และค่อย ๆ เรียวยาวลงคล้ายกับเปลวเพลิง การทำกริชให้คดนั้นว่ากันว่ามีจุดประสงค์คือเมื่อใช้แทงจะทำให้บาดแผลเปิดกว้างกว่า และสามารถแทงผ่านกระดูกได้ด้วย การทำตัวกริชในสมัยโบราณมีวิธีการที่พิศดาร กล่าวคือ ต้องเตรียมกระบอกเหล็กเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 นิ้ว ยาวประมาณ 20 นิ้ว เอาชิ้นเหล็กหรือโลหะหลาย ๆ ชนิดรวมทั้งเหล็กกล้า เหล็กเนื้ออ่อน นำมาบรรจุลงในกระบอกเหล็กดังกล่าว ตีกระบอกเหล็กนั้นให้แบนพอเหมาะ นำมาตั้งบนเตาไฟหลอมให้เหล็กนั้นจนเหลวเป็นเนื้อเดียวกัน ถ้าหากว่าชิ้นเหล็กดังกล่าวหลอมไม่เข้ากันสนิท ให้นำชิ้นเหล็กเหล่านั้นมาแช่ลงในน้ำดินเหนียวและตั้งไฟหลอมใหม่ หลอมจนกว่าจะเข้ากันสนิทดีจึงนำมาวางบนแท่นและตีให้แบนเป็นรูปร่างกริชที่ต้องการ ซึ่งต้องใช้เวลามากจากนั้นจึงนำมาฝน ลับและตกแต่งให้เกิดรายละเอียดของลวดลายตามชนิดของกริชตามที่ประสงค์ การหลอม การตี การฝน และลับ ต้องอาศัยจิตใจที่มีความสงบมีสมาธิ และพลังจิตที่สม่ำเสมอ ไม่วอกแวก การกำหนดสัดส่วนของโลหะที่ผสมกัน จะต้องใช้ประสบการณ์ที่สูงส่งจนกระทั่งรู้ได้ว่าสัดส่วนใดที่ดีที่สุด และเนื้อโลหะจะเกิดลวดลายออกมาแบบใด ต้องรักษาระดับความร้อนของไฟในเตาหลอมให้พอดีกับชนิดของโลหะที่จะหลอม ต้องรู้จังหวะและน้ำหนักของกำลังในการใช้ฆ้อนตีเหล็กที่กำลังร้อน ๆ ซึ่งเต็มไปด้วยความประณีตและบรรจง การกระทำดังกล่าวนั้นเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้ได้กริชที่สวยงาม มีลวดลายที่สูงค่า และเป็นการผลึกเอาจิตใจของผู้ทำเข้าไว้ในตัวกริชอันจะส่งผลในทางที่ดีต่อผู้พกพากริชเล่มนั้นตลอดไป 2. หัวกริช หรือด้ามกริช สำหรับจับนิยมทำเป็นรูปหัวคน หัวสัตว์ ต่อมาเปลี่ยนเป็นรูปทรงเรขาคณิต ที่ไม่ผิดตามหลักศาสนาอิสลาม หัวกริชจะแกะจากวัสดุต่าง ๆ เช่น ไม้เนื้อแข็ง งาช้าง เขาสัตว์ หรือหล่อด้วยโลหะ 3. ปลอกสวมกั่น เป็นส่วนที่ติดกับหัวกริช เพื่อให้หัวกริชยึดติดกับกั่นอย่างมั่นคงและไม่ให้หัวกริชแตกร้าวได้ง่าย นิยมทำด้วยโลหะทองเหลือง เงิน หรือทองคำ และมีการแกะสลักลวดลายที่ประณีต 4. ฝักกริช เป็นที่เก็บคมกริชเพื่อความสะดวกในการพกพา มักจะทำด้วยโลหะชนิดเดียวกับโลหะที่ทำปลอกสวมกั่น และแกะสลักด้วยความประณีตสวยงาม เนื่องจากสภาพสังคมในปัจจุบัน ได้เปลี่ยนsวิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อ และค่านิยมจากกริชที่เป็นอาวุธประจำกายได้กลายเป็นศิลปวัตถุ กริชจึงกลายเป็นของที่ระลึกและในบางครั้งมีการย่อส่วนให้มีขนาดเล็กลงกว่าเดิมแต่ยังคงสัดส่วนตามรูปแบบเดิม

ภาพกริช

วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

พระพุทธรูปปางรำพึง แกะสลักด้วยหินหยกสีขาว ซึ่งเป็นพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร ของ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า " พระพุทธสิริกิติทีฆายุมงคล " มีความหมายว่า " พระพุทธเจ้า ทรงเป็นสิริมงคล และทรงเจริญพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ "
Posted by Picasa

พระมหาธาตุ นภพลภูมิสิริ ณ ดอยอินทนนท์

ในปีพุทธศักราช 2535 อันเป็นปีมิ่งมหามงคล ที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบ กองทัพอากาศ ได้ก่อสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ไว้บนดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย และได้รับพระราชทานนามว่า... " พระมหาธาตุ นภพลภูมิสิริ " อันมีความหมายว่า " เป็นกำลังแห่งฟ้า เป็นสิริแห่งดิน "
. พระมหาธาตุ นภพลภูมิสิริ มีรูปแบบเป็นทรงระฆังคว่ำ รูปสิบสองเหลี่ยม เป็นเครื่องหมายแทน อัจฉริยธรรม 12 ประการ แห่งองค์พระพุทธมารดา มีความสูง 55 เมตร ต่ำกว่าพระมหาธาตุ นภเมทนีดล 5 เมตร เพื่อแทนความหมายว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระเยาว์กว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 5 พรรษา
. ส่วนบนสุดเป็นรูปทรง ยอดปลีสีทอง ได้บรรจุ พระบรมสารีริกธาตไว้ ภายในองค์พระมหาธาตุ เป็นห้องโถง ทรงสิบสองเหลี่ยม เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางรำพึง แกะสลักด้วยหินหยกสีขาว ซึ่งเป็นพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร ของ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า " พระพุทธสิริกิติทีฆายุมงคล " มีความหมายว่า " พระพุทธเจ้า ทรงเป็นสิริมงคล และทรงเจริญพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ "
. พระมหาธาตุ นภพลภูมิสิริ ที่สร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าถวาย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ องค์นี้ การออกแบบ เน้นที่รูปลักษณ์และสีสันอันอ่อนช้อยงดงาม สมกับคุณลักษณะตามธรรมชาติของสตรี นอกจากนี้ ยังออกแบบก่อสร้างตามแนวทางของหลักธรรมะ ข้อที่ว่า " โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ " ซึ่งหมายถึง ธรรมอันเป็นไปในทางฝักใฝ่การบรรลุ พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในที่สุด "



Posted by Picasa

ซีละ

การละเล่นพื้นบ้านรำสีละ
รำสิละ
สิละหรือซีละ ในบางท้องที่ของจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เรียกว่า ดีกาหรือบือดีกา สิละหรือซีละเป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยและมีอยู่ทั่วไปในประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย ตลอดจนประเทศอินโดนีเซีย ในจังหวัดยะลาซีละมีอยู่ 3 แบบ ได้แก่
1. ซีละมือเปล่า ซีละแบบนี้ใช้เฉพาะ มือ แขน ขา เคลื่อนไหวปัดป้อง และทำร้ายคู่ต่อสู้ ผู้เล่นซีละจะไม่กำหมัดแน่นเหมือนมวยไทย เพราะในการเล่นซีละจะมีการตบ จับแขน คู่ต่อสู้เพื่อเหวี่ยงให้ล้มลง และการใช้เท้าก็จะไม่มีลวดลาย
2. ซีละกริช ซีละแบบนี้คู่ต่อสู้จะถือกริช 1 เมตร (ถึงแม้จะถือไม้ไผ่หรืออุปกรณ์อย่างอื่นที่ใช้แทนกริชก็เรียกกันทั่วไปว่า ซีละกริช) ซีละกริชจะมีท่าทางขึงขังเอาจริงเอาจังมากกว่าแบบแรก มีการวางท่าแสดงการแทง แต่ซีละกริชในปัจจุบันก็แสดงท่าต่างๆ เพียงเบาๆ
3. ซีละกายง เป็นซีละที่ใช้กริช มุ่งการอวดฝีมือลวดลายต่างๆ ไม่ได้แสดงการต่อสู้อย่างจริงจัง ใช้แสดงในเวลากลางคืน
ซีละเป็นศิลปะการป้องกันตัวอย่างหนึ่งของชาวไทยมุสลิม เป็นศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่าคล้ายกังฟูหรือมวยไทย การแสดงซีละเริ่มต้นด้วยการไหว้ครูเล่นทำปากขมุบขมิบเป็นการเสกคาถาดังนี้ “ขออโหสิกรรมแก่คู่ชิงชัย ขอให้เป็นที่รักแก่เพื่อนบ้าน ขอให้ผู้ชมนิยมศรัทธา”
ประเภทของการแสดงซีละสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้
1. ซีละยาโต๊ะ (ตก) คือ ศิลปะการต่อสู้โดยการรุกและรับถ้ารับไม่ได้ก็ตกไปใช้ในการแข่งขันประชันฝีมือ
2. ซีละ (รำ) คือ ซีละที่ใช้กริชประกอบการร่ายรำ เป็นการแสดงต่อสู้ ผู้แสดงจะแสดงเป็นคู่ๆ การแต่งกายของนักแสดงซีละจะเน้นความสวยงาม โดยสวมเสื้อแขนสั้น นุ่งโสร่งสีสดนุ่งทับกางเกงขายาวมีผ้าคาดเอว หรือเข็มขัดคาดทับโสร่งให้กระชับ เหน็บกริชที่เอวและผ้าโพกศีรษะ ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง ได้แก่ กลองแขก โหม่ง ปี่ชวา ซีละในอำเภอยี่งอมีหลายคณะ จะรับเล่นในงานต่างๆ เช่น งานสุหนัต งานแต่งงาน เป็นต้น


การละเล่นพื้นบ้านรำสีละ
รำสิละ
สิละหรือซีละ ในบางท้องที่ของจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เรียกว่า ดีกาหรือบือดีกา สิละหรือซีละเป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยและมีอยู่ทั่วไปในประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย ตลอดจนประเทศอินโดนีเซีย ในจังหวัดยะลาซีละมีอยู่ 3 แบบ ได้แก่
1. ซีละมือเปล่า ซีละแบบนี้ใช้เฉพาะ มือ แขน ขา เคลื่อนไหวปัดป้อง และทำร้ายคู่ต่อสู้ ผู้เล่นซีละจะไม่กำหมัดแน่นเหมือนมวยไทย เพราะในการเล่นซีละจะมีการตบ จับแขน คู่ต่อสู้เพื่อเหวี่ยงให้ล้มลง และการใช้เท้าก็จะไม่มีลวดลาย
2. ซีละกริช ซีละแบบนี้คู่ต่อสู้จะถือกริช 1 เมตร (ถึงแม้จะถือไม้ไผ่หรืออุปกรณ์อย่างอื่นที่ใช้แทนกริชก็เรียกกันทั่วไปว่า ซีละกริช) ซีละกริชจะมีท่าทางขึงขังเอาจริงเอาจังมากกว่าแบบแรก มีการวางท่าแสดงการแทง แต่ซีละกริชในปัจจุบันก็แสดงท่าต่างๆ เพียงเบาๆ
3. ซีละกายง เป็นซีละที่ใช้กริช มุ่งการอวดฝีมือลวดลายต่างๆ ไม่ได้แสดงการต่อสู้อย่างจริงจัง ใช้แสดงในเวลากลางคืน
ซีละเป็นศิลปะการป้องกันตัวอย่างหนึ่งของชาวไทยมุสลิม เป็นศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่าคล้ายกังฟูหรือมวยไทย การแสดงซีละเริ่มต้นด้วยการไหว้ครูเล่นทำปากขมุบขมิบเป็นการเสกคาถาดังนี้ “ขออโหสิกรรมแก่คู่ชิงชัย ขอให้เป็นที่รักแก่เพื่อนบ้าน ขอให้ผู้ชมนิยมศรัทธา”
ประเภทของการแสดงซีละสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้
1. ซีละยาโต๊ะ (ตก) คือ ศิลปะการต่อสู้โดยการรุกและรับถ้ารับไม่ได้ก็ตกไปใช้ในการแข่งขันประชันฝีมือ
2. ซีละ (รำ) คือ ซีละที่ใช้กริชประกอบการร่ายรำ เป็นการแสดงต่อสู้ ผู้แสดงจะแสดงเป็นคู่ๆ การแต่งกายของนักแสดงซีละจะเน้นความสวยงาม โดยสวมเสื้อแขนสั้น นุ่งโสร่งสีสดนุ่งทับกางเกงขายาวมีผ้าคาดเอว หรือเข็มขัดคาดทับโสร่งให้กระชับ เหน็บกริชที่เอวและผ้าโพกศีรษะ ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง ได้แก่ กลองแขก โหม่ง ปี่ชวา ซีละในอำเภอยี่งอมีหลายคณะ จะรับเล่นในงานต่างๆ เช่น งานสุหนัต งานแต่งงาน เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

จังหวัดปัตตานี

Posted by Picasa
จังหวัดปัตตานี
พื้นที่ทั้งหมด
1,940.35
ตารางกิโลเมตร
ประชากร
587,946
คน
รายได้ประชากร
37,853
บาท/คน/ปี
ทิศเหนือ
ติดต่อจังหวัดสงขลา
ทิศใต้
ติดต่อจังหวัดนราธิวาส
ทิศตะวันออก
ติดต่ออ่าวไทย
ทิศตะวันตก
ติดต่อจังหวัดยะลา
สภาพภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศของจังหวัดนี้ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำหลายสาย เช่นแม่น้ำปัตตานี แม่น้ำสายบุรี และลำน้ำเล็ก ๆ อีกหลายสาย แม่น้ำปัตตานีเกิดจากทิวเขาสันกาลาคีรี ระหว่างเขาลาตาปาปาลังและเขาฮันกูส ซึ่งเป็นเขตแดนระหว่างไทยกับมาเลเซียในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ส่วนแม่น้ำสายบุรีเป็นแม่น้ำสำคัญของจังหวัดนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า แม่น้ำตะลุบัน ต้นน้ำเกิดที่อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ผ่านเข้าเขตจังหวัดยะลา แล้วไปลงอ่าวไทยที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
การปกครอง จังหวัดปัตตานีแบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ คือ อำเภอเมืองปัตตานี อำเภอโคกโพธิ์ อำเภอมายอ อำเภอหนองจิก อำเภอปะนาเระ อำเภอสายบุรี อำเภอยะหริ่งอำเภอทุ่งยางแดง อำเภอแม่ลาน อำเภอยะรัง อำเภอไม้แก่น อำเภอกะพ้อ
ความเป็นมา ปัตตานีเป็นเมืองเก่ามีประวัติความเป็นมายาวนาน ย้อนหลังไป ถึงพุทธศาตวรรษที่ 7 โดยมีฐานะเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรลังกาสุกะ ซึ่งเป็นรัฐอิสระครอบคลุมพื้นที่ปัตตานี ยะลา นราธิวาส รวมถึงรัฐกลันตัน และตรังกานูในประเทศมาเลเซีย ปัจจุบันร่องรอยของเมืองโบราณยังปรากฎอยู่ที่บ้านประแว เขตอำเภอยะรัง ตามตำนานการสร้างเมืองเล่าสืบกันมาว่า ธิดาเจ้าเมืองมะโรงมหาวงษ์ได้ประทับหลังช้างเผือกเสด็จจนถึงแม่น้ำแห่งหนึ่ง แล้วรวบรวมผู้คนตั้งเมืองชื่อ"ปัตตานี" สันนิษฐานว่าคำว่า ปัตตานี มาจาก ปตานี ซึ่งหมายถึงหญิงครองเมืองหรือเมืองที่มีนางพญาเป็นผู้ปกครอง บ้างก็ว่ามาจากภาษามลายูที่ว่า "ปะฎานี" หมายถึงความรู้ หรืออาจมาจากคำว่า "ปะตานี" ที่แปลว่าชาวนา
ตราประจำจังหวัด รูปปืนพญาตานี เป็นปืนคู่บ้าน คู่เมืองของปัตตานีมาแต่โบราณ จึงถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด เมืองปัตตานีเป็นเมืองเก่าในแหลมมลายู เป็นเมืองที่ผู้หญิงเป็นผู้สร้างขึ้นมา

วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ปลากัด

ปลากัด กัดปลา
โดยลุงวิ

ปลากัด Betta splendens Regan เป็นปลาพื้นเมืองของไทยที่นิยมเพาะเลี้ยงเป็นเวลาหลายร้อยปีมาแล้ว ทั้งนี้เพื่อไว้ดูเล่นและเพื่อกีฬากัดปลาและเป็นที่รู้จักกันดีในต่างประเทศมานานเช่นกัน ปัจจุบันประเทศไทยมีการเพาะเลี้ยงปลากัดกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นปลาที่เลี้ยงและเพาะพันธุ์ได้ง่าย ปีหนึ่ง ๆ ประเทศไทยได้ส่งปลากัดไปขายต่างประเทศคิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท
ปลากัดพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติ มีสีน้ำตาลขุ่นหรือสีเทาแกมเขียว ครีบและหางสั้น ปลาเพศผู้มีครีบและหางยาวกว่าปลาเพศเมียเล็กน้อย จากการเพาะพันธุ์และการคัดพันธุ์ติดต่อกันมานาน ทำให้ได้ปลากัดที่มีสีสวยงามหลายสี อีกทั้งลักษณะครีบก็แผ่กว้างใหญ่สวยงามกว่าพันธุ์ดั้งเดิมมาก และจากสาเหตุนี้ทำให้มีการจำแนกพันธุ์ปลากัดออกไปได้เป็นหลายชนิด เช่น ปลากัดหม้อ ปลากัดทุ่ง ปลากัดจีน ปลากัดเขมร เป็นต้น การแพร่กระจายของปลากัดพบทั่วไปทุกภาคของประเทศไทยอาศัยอยู่ในอ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ หนอง บึง แอ่งน้ำ ลำคลอง ฯลฯ
ในการเลี้ยงปลากัดเพื่อการต่อสู้ มีการคัดเลือกพันธุ์ให้มีคุณสมบัติเฉพาะที่สามารถใช้ในการต่อสู้ โดยเริ่มต้นจากการรวบรวมปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติเรียกกันว่า ปลากัดป่าหรือปลากัดทุ่ง ที่มีลำตัวค่อนข้างเล็กบอบบางสีน้ำตาลขุ่นหรือเทาแกมเขียว นำมาเพาะเลี้ยงและคัดพันธุ์หลายชั่วอายุ จนได้ปลาที่รูปร่างแข็งแรง ลำตัวหนาและใหญ่ขึ้น สีสันสวยสด เช่น สีแดงเข้ม สีน้ำเงินเข้ม น้ำตาลเข้ม หรือสีผสมระหว่างสีดังกล่าว และเรียกปลากัดที่ได้จากการคัดพันธุ์เพื่อการต่อสู้นี้ว่า ปลากัดหม้อ ปลากัดลูกหม้อ หรือปลากัดไทย ต่อมาได้มีผู้พยายามคัดพันธุ์ปลากัดโดยเน้นความสวยงามเพื่อเลี้ยงไว้ดูเล่น โดยคัดพันธุ์เพื่อให้ได้ปลาที่มีครีบยาว สีสวย ซึ่งนิยมเรียกปลากัดลักษณะเช่นนี้ว่าปลากัดจีนหรือปลากัดเขมร ต่างประเทศรู้จักปลากัดในนาม Siamese fighting fish
การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลากัด เนื่องจากปลากัดเป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าว ชอบต่อสู้เมื่ออายุประมาณ 1 1/2 -2 เดือน การเลี้ยงปลากัดจึงจำเป็นต้องรีบแยกปลากัดเลี้ยงในภาชนะเพียง 1 ตัวก่อนที่ปลาจะมีพฤติกรรมต่อสู้กัน ภาชนะที่เหมาะสมที่สุดควรนำมาใช้เลี้ยงปลากัดได้แก่ ขวด(สุรา) ชนิดแบนบรรจุน้ำได้ 150 ซีซี เพราะสามารถเรียงกันได้ไม่สิ้นเปลืองเนื้อที่ การแยกเพศจะสังเกตเห็นว่าปลาเพศผู้จะมีลำตัวสีเข้ม ครีบยาว ลายบนลำตัวมองเห็นชัดเจนและขนาดมักจะโตกว่าเพศเมีย ส่วนปลาเพศเมียจะมีสีซีดจาง มีลาดพาดตามยาวลำตัว 2-3 แถบ และมักจะมีขนาดเล็กกว่าปลาเพศผู้
น้ำที่ใช้เลี้ยง ปลากัดต้องเป็นน้ำที่สะอาดปราศจากคลอรีน มีความเป็นกรด-ด่าง (pH) ประมาณ 6.5-7.5 มีความกระด้าง 75-100 มิลลิกรัมต่อลิตร และมีความเป็นด่าง 150-200 มิลลิกรัมต่อลิตร ควรบรรจุน้ำลงในขวดเพียง 1/2 ขวด เพื่อเว้นช่องว่างให้อากาศได้สัมผัสกับผิวน้ำ
อาหารที่ใช้เลี้ยงปลา ปลากัดเป็นปลาที่ชอบกินสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร อาหารที่เหมาะสมจะใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลากัด ได้แก่ ลูกน้ำ หนอนแดง ไรสีน้ำตาล (Artemia) ที่มีชีวิต การให้อาหารควรให้วันละ 1 ครั้ง ให้ปริมาณที่พอดีปลากินอิ่ม อาหารที่ใช้เลี้ยงทุกครั้งควรล้างด้วยน้ำสะอาด แล้วแช่ในด่างทับทิมเข้มข้น 500-1,000 ส่วนในล้านส่วน (0.5-1.0 กรัม/ลิตร) เป็นเวลา 10-20 วินาที เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับอาหารหลังจากนั้นจึงล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งหนึ่ง การถ่ายเทน้ำควรกระทำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง
ระยะเวลาที่เหมาะสมในการผสมพันธุ์ปลากัด คือช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม-กันยายน โดยอุณหภูมิน้ำควรอยู่ระหว่าง 26-28 องศาเซลเซียส
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ ปลาที่นำมาทำการเพาะพันธุ์ ควรมีอายุตั้งแต่ 5-6 เดือนขึ้นไป โดยปลาจะให้ไข่ครั้งละประมาณ 500-1,000 ฟอง ในฤดูผสมพันธุ์ จะสังเกตเห็นความสมบูรณ์เพศของปลาได้ชัดเจน ในการคัดเลือกปลาเพื่อผสมพันธุ์ มีหลักที่ควรปฏิบัติดังนี้
ปลาเพศผู้ คัดปลาที่แข็งแรง ปราดเปรียว ลักษณะสีสดสวย ชอบสร้างรังซึ่งเรียกว่า “หวอด” โดยการพ่นฟองอากาศที่มีน้ำเมือกจากปากและลำคอผสมด้วย ซึ่งแสดงถึงว่าปลาเพศผู้มีความสมบูรณ์ทางเพศเต็มที่พร้อมที่จะผสมพันธุ์
ปลาเพศเมีย คัดเลือกปลาที่แข็งแรง สังเกตบริเวณท้องมีลักษณะอูมเป่งและบริเวณใต้ท้องจะมีตุ่มสีขาวใกล้กับรูก้นเห็นได้ชัดเจน ซึ่งตุ่มสีขาวนี้เรียกกันว่า “ไข่น้ำ”
วิธีการเพาะพันธุ์
นำขวดปลาเพศผู้และเพศเมียที่มีความสมบูรณ์ทางเพศเต็มที่มาวางติดกัน ซึ่งวิธีนี้เรียกว่า “เทียบคู่” ซึ่งควรจะเป็นบริเวณที่ปราศจากสิ่งรบกวน จะทำให้ปลาตกใจ ใช้เวลาเทียบคู่ประมาณ 3-10 วัน
จากนั้นนำปลาเพศผู้และเพศเมีย ใส่ลงในภาชนะที่เตรียมไว้สำหรับผสมพันธุ์ เช่น ขันพลาสติก โหลแก้ว กาละมัง ตู้กระจกหรืออ่างดิน แล้วใส่พันธุ์ไม้น้ำที่แช่ด่างทับทิมเรียบร้อยแล้ว ซึ่งชนิดพันธุ์ไม้น้ำที่นิยมใช้ ได้แก่สาหร่ายพุงชะโด สาหร่ายหางกระรอก จอก ใบผักตบชวาเป็นต้น
เมื่อปลาสามารถปรับตัวให้ชินกับสภาพในภาชนะ (ประมาณ 1-2 วัน) ปลาเพศผู้จะเริ่มก่อหวอดติดกับพันธุ์ไม้
หลังจากสร้างหวอดเสร็จ ปลาเพศผู้จะพองตัวกางครีบ ไล่ต้อนตัวเมียให้ไปอยู่ใต้หวอด
ขณะที่ตัวเมียลอยตัวขึ้นมาบริเวณผิวน้ำ ปลาตัวผู้จะรัดตัวเมียบริเวณช่องอวัยวะเพศ
จากนั้นไข่ก็จะหลุดออกมา พร้อมกับเพศผู้จะฉีดน้ำเชื้อเข้าผสม และปลาเพศผู้จะตามลงไปใช้ปากดูดไข่อมไว้ ว่ายน้ำขึ้นไปพ่นไข่เข้าไปไว้ในฟองอากาศจนกว่าจะหมด
เมื่อสิ้นสุดการวางไข่ปลาเพศผู้จะทำหน้าที่ดูแลไข่เพียงลำพัง และจะไล่ต้อนปลาเพศเมียไปอยู่ที่มุมภาชนะ
หลังจากนั้นรีบนำปลาเพศเมียออกจากภาชนะเพื่อป้องกันไม่ให้ปลาเพศเมียกินไข่
ปล่อยให้ปลาเพศผู้ดูแลไข่ 2 วัน จึงแยกเพศผู้ออก

การอนุบาลลูกปลา ไข่ปลากัดจะฟักเป็นตัวหลังจากได้รับการผสมน้ำเชื้อประมาณ 36 ชั่วโมง โดยในช่วงแรก จะมีถุงอาหาร (Yolk sac) ติดตัวมาด้วย ดังนั้นช่วง 3-4 วันแรก จึงยังไม่ต้องให้อาหาร เป็นเวลา 3—5 วัน แล้วจึงเปลี่ยนเป็นตัวอ่อนของไรแดง (Moina) ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นไรแดงเต็มวัย เลี้ยงต่อไปจนกระทั่งปลาสามารถกินลูกน้ำได้ และผู้เลี้ยงสามารถแยกเพศปลากัดได้เมื่อปลามีอายุประมาณ 1 ? เดือนขึ้นไป
กัดปลา
เพราะความเห็นไม่ตรงกันการพนันเลยเกิดขึ้น
การกัดปลาเกิดจากนิสัยคนไทยที่มีพื้นฐานทางการต่อสู้ และนิสัยชอบเล่นการพนัน เดิมเลี้ยงปลากัดเอาไว้ดูเล่น แต่ด้วยธรรมชาติของปลากัด มันเห็นคู่ต่อสู้ไม่ได้ต้องรี่เข้าใส่ทันที พวกเราคนเลี้ยงเลยต้องกลายมาเป็นกองเชียร์ทันที่ ราวี ราวี เอาเลยลูกพ่อ เมื่อเชียร์นานๆเข้าเหนื่อยเปล่าไม่มัน ไม่ตื่นเต้นเราก็ต้องหาอะไรมาประกบราคากันทันที และคนไทยเป็นคนไม่เอาเปรียบ ถ้าฝ่ายใดเสียเปรียบหน่อยก็จะลดราคาให้เป็นฝ่ายท่านรอง ฝ่ายไหนได้เปรียบหน่อยค่าสินทรัพย์ก็ต้องสูงขึ้นหน่อยเรียกว่าท่านต่อ จะต่อจะรองก็ต้องมีท่าทางประกอบ มือคว่ำ อยู่บนก็ให้เป็นท่านต่อ มือหงายอยู่ล่างก็เป็นท่านรอง และเสมอๆกันก็ประกบมืออยู่ในระดับเดียวกัน และก็ไม่จำเป็นว่าท่านต่อซึ่งได้เปรียบกว่าจะชนะเสมอไป ถ้าได้ยินเสียงกองเชียร์ฮือฮาเสียงดัง แน่นอนว่าท่านต่อซึ่งเพื่อนจะเรียกว่าเซียนนั้นอยู่รู และท่านรองซึ่งเพื่อนเรียกว่าหมูนั้นอยู่ตึกแน่นอน การกัดปลาเป็นการพนันอย่างหนึ่งที่ทางราชการไม่อนุญาตให้เปิดเป็นบ่อนได้เหมือนชนไก่ ก็ต้องอาศัยแอบเล่นกันตามชายทุ่งตามชายป่าตามหมู่บ้าน นักพนันปลากัดจะเป็นผู้ที่มีสมาธิเยี่ยมมากๆ มีคนนั่งกันเป็นสิบแต่ไม่มีเสียงดังเลย บางครั้งเงียบหน่อยอาจจะได้ยินแค่เสียงลมหายใจจะได้รู้ว่าใครยังมีชีวิตอยู่บ้างแต่บางครั้งก็ได้ยินเสียงด่ากันขรมเพราะในบ่อนปลากัดสิ่งที่ชอบเอามาขายคือถั่วต้ม และไข่ต้ม เพราะเอามาง่ายขายได้กำไรงาม กินเข้าไปมากร่างกายไม่ขยับเขยื้อน พลังลมปราณก็เกิดขึ้นในกระเพาะ พักเดี๋ยวก็จะมีการผายพลังลมปราณออกมาแถมด้วยกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ เสียงแช่งไอ้พวกไส้เน่า.......และไม่เคยมีใครรับเป็นจำเลยต่างคนก็เป็นโจทย์กันหมด ตกลงว่าเที่ยวนี้ผีตด อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบในบ่อน เช่นขวดโหลขาวใส สองสามใบ ในกรณีที่กัดกันหลายคู่เพราะบางคู่เกือบค่อนวันมันก็ยังไม่เกิดการแพ้ชนะ ขันน้ำเจาะรู หรือกะลามะพร้าวเจาะรูเพื่อใช้จับเวลา ทำไม่จึงใช้นาฬิกาโบราณอยู่อีก ก็เพราะมันยุติธรรมกว่านาฬิกาปัจจุบัน นาฬิกาปัจจุบันคนมันแอบหมุนเข็มบ้าง ลืมดูบ้างเพราะมัวแต่ดูปลา มันตายเองซะบ้าง แต่นาฬิกาโบราณวางเมื่อไหร่น้ำรัวเข้ารูเต็มขันเต็มกะลาเมื่อมันจมหมายความว่าหมดเวลา ต่อไปก็ คือปีบใส่น้ำกลาง คือน้ำที่เป็นของกองกลางไม่ใช่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพราะถ้าเป็นของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งความเชื่อใจก็ไม่เกิดชนะแพ้ไม่ใสสะอาดเพราะอาจมียางไม้หรือยาพิษเจือปนมาในน้ำ อีกอย่างที่ขาดไม่ได้คือแท่นที่วางขวดซึ่งหาได้จากแถวๆที่เปิดบ่อนอาจจะเป็นท่อนไม้ก็ได้ ข้อตกลงหรืกติกาอาจจะเขียนด้วยถ่านไฟ หรือดินสอเอาไว้ที่ฝาบ้านหรือในกระดาษปิดประกาศให้รู้ทั่วกัน แต่ละบ่อนอาจจะไม่เหมือนกัน เช่นถ้ากัดกันแล้วปลาทั้งสองฝ่ายทำท่าว่าจะแพ้หรือไม่กัดกันเลยอาจจะให้เสมอ แต่บางที่ต้องใช้ปลากลางใส่เพิ่มลงไปอีกตัวดูว่าปลาตัวไหนที่จะเป็นฝ่ายว่ายหนีก็จะเป็นตัวแพ้ การแพ้ชนะก็จะเกิดขึ้นสุดท้ายที่ขาดไม่ได้ก็คือปลากัดที่แต่ละฝ่ายเตรียมมา การหมักเกร็ดมาจนแข็งเพื่อน กัดแทะไม่เกิดแผลชั่วโมงบินก็ต้องหนึ่งฤดูกาลขึ้นไป ความมานะพยามยามที่จะเลี้ยงดูปลาของตัวเองให้แข็งแกร่งนอกจากชาติพันธุ์ของปลาแล้ว การตากแดดกวนน้ำเพื่อให้ปลาแข็งแรง การให้อาหารแต่พอเหมาะก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้กัดแล้วแพ้มีโอกาสน้อยมาก การผสมข้ามสายพันธุ์ก็เป็นวิธีการหนึ่งที่ชอบใช้กัน การกัดปลาในบ่อนเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยพัฒนาพันธุ์ปลากัดไทยมิให้สูญพันธุ์และมีความแข็งแกร่งมากขึ้น ถ้าเราไม่มีมุมมองเฉพาะการพนันเพียงอย่างเดียว
ปล. มีคำสองคำที่ห้ามพูดในบ่อนปลากัด คือ "นายมา" ฉะนั้นคนที่ชื่อ "มา" และเป็นผู้ชายจึงห้ามเข้าบ่อนปลากัดเดี๋ยวมีคนเรียกชื่อจะได้วิ่งกันป่าราบhttp://wisan.igetweb.com

บันทึกของวิ

[บันทึกของวิศาล]
ความหลังครั้งวัยเด็ก

ใบยางร่วง ปลิดปลิวจากกิ่งก้านถูกลมพลิกพริ้ว ร่อนตามแรงร่วงลงสู่ผืนดิน ฤดูใบไม้ร่วง ของภาคใต้ถิ่นแดนด้ามขวานมาถึงอีกวาระ เหมือนธรรมดาทุกๆปี แต่ปีนี้ผิดจากปีอื่นๆตรงที่เหล่าญาติมิตร เพื่อนฝูงเสียชีวิตเหมือนใบไม้ร่วง อันเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ความไม่สงบไฟใต้กำลังคุโชน บนลานวัดมีใบไม้แห้งเพิ่มปริมาณตามฤดูกาลไม่มีคนกวาด พระเถรเณรชีต่างอพยพหนี"สันกาลาคีรีทั้งลูก เปลี่ยนแปลงไป ปรากฎการณ์ของ สีเหลือง ส้ม แดงเถือกไปทั้งเทือกและสีเขียวก็จะมาพร้อมกับการผลิใบใหม่"ความใหม่สดชื่นของสีเขียวจึงทำให้แม่บ้านหลายๆบ้านหายออกจากหมู่บ้านทิ้งลูกตัวเล็กๆไว้ให้พ่อกับย่าช่วยกันเลี้ยงถึงหลายอย่างจะเปลี่ยนแปลงไปจากที่ตรงนี้ ความร่มเย็นที่เคยมี ผู้ใหญ่กลับปล่อยให้เด็กเอาไม้ขีดมาเผาบ้านเล่น ไฟลามไปทั่วทุกหัวระแหงจนดับไม่ทัน ความร้อนรุ่มสุมอยู่ในกลางใจทุกผู้คน ต่างคนต่างก็ไม่ไว้ใจกัน ความเหมือนเดิมหายไปโดยสิ้นเชิง แต่สิ่งที่ไม่ได้หายไปคือ.... ความทรงจำ แห่งฤดูกาล...ฤดูร้อนมาถึง แสงแดดแผดเผาทุกสิ่งทุกอย่าง ลมพัดมาเพียงแผ่วเบาย่อมไม่อาจปลดปล่อยความร้อนรุ่มในวัยเด็ก คนที่มีชีวิตที่เกี่ยวพันกับต้นยางพารา ยามผลัดใบ ย่อมรื่นเริง นอกจากจะได้หยุดปิดเทอมยาวแล้ว นั่นก็หมายความว่าฤดูแห่งการท่องเที่ยว การละเล่นต่างๆมาถึงแล้ว เด็กรีบนอนแต่หัวค่ำเพื่อว่าพรุ่งนี้จะได้ตื่นมามีแรงเล่นกันตั้งแต่เช้า และอีกหลายคนเหมือนกันที่นอนไม่หลับ ด้วยความตื่นเต้น เผลอตื่นสายมาพรรคพวกอาจหายไปหมดแล้วในป่ายางมีลำห้วยไหลตัดเส้นฝ่ากลาง ไหลลงแปลงนาที่ลุ่มท้ายหมู่บ้าน ข้าวกำลังออกท้องน้ำแห้งขอด เหลือเพียงแอ่งน้ำขุ่นๆ เด็กๆยิ้มเผล่ วาดฝันจะจับปลาตัวโต ถึงแม้จะไม่เคยทำได้ก็ตาม พลางคิดว่าพรุ่งนี้ต้องไปชวนเพื่อนมาช่วยจับปลา”ลูกคลัก”ดีกว่า โดยวิธีของเด็กที่จับปลาลูกคลัก ในแอ่งเล็กๆภายในบิ้งนาเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดเผลอๆอาจได้ปลาดุกปลาช่อนตัวโต แต่วิธีที่ง่ายนี้ก็ต้องระวังงูเห่าเจ้าถิ่น ที่มักเลื้อยมาจากป่ายาง มาหาปลากิน เจอกันเมื่อไหร่เด็กๆวิ่งกันเกรียวป่าข้าวราบ เรื่องที่สองที่ต้องระวังนักระวังหนาคือเจ้าของแปลงนา เพราะพวกเราเวลาจับลูกคลักมักจะเอาเท้าเหยียบต้นข้าวให้ราบเป็นวง เพื่อจะเอาเท้าวิดน้ำสาดโคลนขึ้นไปบนที่ดอน และปลามันจะแถกเดกลับลงน้ำเด็กๆก็ต้องรีบแย่งกันจับ พอสายๆรู้สึกท้องเริ่มหิวสิ่งที่อร่อยที่สุดคือการฉีกท้องข้าว เอานมข้าวที่กำลังจะแข็งกลายเป็นเม็ดข้าวมากินกัน คุณยายคุณตาเจ้าของแปลงนาพบเข้าเมื่อไหร่ ต้องโกรธเป็นฟืนเป็นไฟหน้าเขียวเหมือนหน้าแม่เลี้ยง เด็กคนไหนที่วิ่งไม่ทันก็จะถูกฉวยมือติดและโดนเฆี่ยนจนอ่วม เฆี่ยนไปด่าไป “ มันเบียน” “พ่อแม่มันไม่สั่งสอน” เจ็บตัวนั้นไม่เท่าไหร่เจ็บใจและอายเพื่อนนี่แหละที่เจ็บนัก พวกเราทำให้คุณตาคุณยายทุเลาความโกรธลงได้ก็คือการยอมรับผิด “ผมยอมแล้วครับ”..........”ผมผิดครับ”...ที่หลังผมไม่ทำแล้วครับ ..........แต่ในใจนั้นต่างกันสิ้นเชิง.......คิดตามประสาเด็กคือทีหลังจะวิดเสียให้ทั่วทั้งบิ้ง......ถอนต้นเสียให้ราบ.........พอท่านหายโกรธ ท่านก็มักจะถามว่าลูกบ้านไหน กินข้าวมาหรือยัง....เราคิดในใจว่าถามทำไมถ้ากินมาแล้วก็ไม่ต้องมาฉีกท้องข้าวยายกิน แต่คนแก่ก็มีเมตตากับหลาน เฆี่ยนเสร็จมีอะไรติดชายพกมาพอกินได้ก็จะเอาให้เด็กกินหมด......คนแก่เวลาเดินไปไหนมาไหนผลหมากรากไม้ที่มีอยู่สมบูรณ์ตามชายป่าจะนึกถึงลูกนึกถึงหลานเก็บใส่พกใส่ห่อไปฝาก.....ลูกนมแนวเอย....ลูกขลบเอย....ลูกหว้าเอยลูกนิลเอย .....นี่แหละความน่ารักของชนบทที่ทุกคนมีเมตตาช่วยกันสั่งช่วยกันสอน ช่วยกันอบรมบ่มนิสัยและพ่อแม่เด็กก็ไม่มีใครโกรธที่มาเฆี่ยนสอนลูกเมื่อทำผิด แถมจะเฆี่ยนซ้ำถ้ามารู้ทีหลังว่าไปซนพิเรนมา ปัญหาสังคมมันเลยไม่มี........เรื่องที่เกิดขึ้นเหล่านี้เด็กๆมักจะปิดเป็นความลับสุดยอด........แต่ก็ไม่วายพวกที่วิ่งได้ทันมักจะมาแอบดูหน้าสลอนเห็นแต่นัยน์ตาแววๆอยู่ตามกอข้าว..........แล้วเอาเรื่องที่ได้ยินมาล้อกัน.....จนพวกที่ถูกล้อทนไม่ได้ทะเลาะชกต่อยกัน เรื่องถึงผู้ใหญ่เลยถูกลงโทษเสียคนละหลายกระทง ว่าด้วยการลงโทษนอกจากการเฆี่ยนแล้ว การให้ทำงานเพิ่มก่อนไปเล่นก็เป็นเรื่องที่น่าเบื่อหน่ายสำหรับพวกเรามาก
เย็นค่ำแล้ว เด็กบางคนยังไม่ยอมอาบน้ำ คราบโคลนยังเปรอะเปื้อนทั่วร่างกาย ตามง่ามนิ้วเท้า แผ่นหลัง หรือแม้กระทั่งในใบหู ด้วยนิสัยของเด็กอาการคร้านน้ำ เพียงล้างตัวลวกๆ นับเป็นอาบน้ำได้......ผู้ใหญ่มักจะถามซ้ำอยู่เสมอ.....เอ็งอาบน้ำแล้วยัง.....”อาบอะไรวะตัวเหมือนควายปลัก”....ตอนย่ำค่ำบ้านไหนมีเด็กมักจะได้ยินเสียงทะเลาะกันเรื่องอาบน้ำแทบทุกบ้านและก็จบลงที่เสียงร้องไห้พร้อมอาบน้ำใหม่ไปพร้อมๆกัน อาบน้ำเสร็จแล้วยังสะอื้นอยู่อีกแต่ก็ต้องเดินขึ้นเรือนไปให้แม่ตรวจดูความเรียบร้อยถึงจะทานข้าวได้ แต่ในสายตาแม่นั้นย่อมไม่พลาด แม่หันไปสบตากับพ่ออย่างรู้ทัน ก็เริ่มมีความรู้สึกว่าไม่ปกติกับเราซะแล้ว เผลอแป๊บเดียวพ่อจับมือเราไว้ถือไว้แน่น.......แม่ให้พี่สาวไปเอาน้ำมันมะพร้าวกับใยพดพร้าวชุบน้ำมันมะพร้าวกับใยพด ขยี้จนใยพดพร้าวอ่อนนุ่มแล้วขัดขี้ไคล ไปใหนก็ไม่ได้เพราะโดนพ่อจับไว้แน่น ร่ำร้องว่าอยากตาย น้ำตาใหลเป็นปี๊บ แต่ไม่เคยตายสักที มันเหมือนกับขาดอิสระภาพ ไม่ใช่เสียดายขี้ไคลในตัวที่อุตส่าห์เก็บหมักหมมไว้กับตัวมานาน หรือโดนรังแก แต่จริงๆแล้วเสียใจที่เสียรู้พ่อและเจ็บตรงกกหูเหมือนไข้ลูกหนูต่างหาก....เสียงร่ำไห้เริ่มคลายกลายเป็นเสียงสะอื้นเมื่อแม่บอกว่าจะเพิ่มค่าขนมให้อีกวันพรุ่งนี้ พร้อมให้รีบไปอาบน้ำเป็นรอบที่สามแม่ต้องตักน้ำในบ่อให้อาบมันอุ่นดี น้ำในตุ่มเริ่มจะเย็นเหมือนน้ำแข็งแล้ว.........น้ำตีหมาแรกที่แม่รดหัวให้มันปวดแสบปวดร้อน นั่นเพราะแม่ขัดหนักไปหน่อย เช้าอีกวันหลังจากที่ตื่นนอนแล้ว เริ่มรู้สึกเบาตัวอาจจะเป็นเพราะขี้ไคลหายไปเยอะ แหงนมองไปยังกิ่งยาง ใบยังหลุดร่วงต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด รู้สึกเวิ้งว้างอย่างบอกไม่ถูก กินข้าวเสร็จเพื่อนชวนไปตัดไม้ใผ่เพื่อเอามาทำ"ฉับโผง"เพราะว่าตอนที่เดินผ่านป่ายาง"ลูกพรา"เริ่มเขียวแล้ว กะว่าในตอนเย็นจะแบ่งทีมยิงกันให้มันไปเลย แม่บอกว่าให้ซักชุดนักเรียนเสียก่อน ห้ามสวมใส่ไปเล่นฉับโผง เพราะเวลาใส่ลูกพราจะต้องตีเข้าไปในฉับโผง กลัวยางลูกพราติดเสื้อ ซักเท่าไหร่ก็ไม่ออก ผ่านมาหลายร้อยปีแล้วยังไม่มีใครคิดผงซักฟอกที่ซัก"ลูกพรา"ออกสักที เป็นเรื่องที่แปลกมาก เคยซื้อเสื้อใหม่สีขาวแม่เตรียมเอาไว้ให้ใส่ไปเที่ยวงานชักพระเอามาใส่เล่นฉับโผงซะก่อนแล้วพาไปซักเอามาพับเก็บไว้ ตอนเอาออกมาใส่ไปเที่ยวงานชักพระเสื้อถูกยางพราลายเหมือนงูกะปะลายพรม ครั้งแรกนึกไม่ออกว่าโดนอะไรแต่ดูจากร่องรอยแล้วใช่เลย แผลโดนยิงจากฉับโผง ตรงกลางทึบ ด้านข้างกระจายเหมือนรูปฝนใหม่เคาะดิน(ไว้ต่อตอนหน้าเรื่องทำฉับโผง)

ฉับโผง.........ปืนแห่งพงไพร
ของเล่นที่พอหาได้ของพวกเราก็เกิดจากสิ่งที่หยิบฉวยได้ตามธรรมชาติ ตามฤดูกาล......ถึงฤดูกาลนี้ลูกพลากำลังออกลูก....ลูกกลมๆ....สีเขียวๆ.....เวลาสุกจะมีสีดำเหมือนขี้แพะ รสชาติของผลพลาตอนยังไม่สุกมีรสเปรี้ยวอมฝาด ถ้าสุกจะมีรสหวาน ผลสีเขียวเด็กๆจะเก็บมาเป็นกระสุนของกระบอกฉับโผงที่พวกเราช่วยกันประดิษฐ์ขึ้น ก่อนอื่นต้องรวมพวกกันเข้าไปตัดไม้ไผ่กันก่อน สำหรับไม้ไผ่ที่เราเลือกมาเป็นกระบอกฉับโผง จะคัดเอาเฉพาะไม้ไผ่ไทยเท่านั้น ไม้ไผ่ป่า ไม้ไผ่สีสุก จะใช้ไม่ได้ไม่ทนและขนาดรูกระบอกก็โตเกินไป พวกเราเลือกแขนงไม้ไผ่ไทยที่ได้ขนาดเท่าหัวแม่เท้า ความยาวประมาณสองคืบ เลือกเอาแขนงที่มีรูเล็กกว่าลูกพลานิดๆ เพราะเวลาอัดลูกพลาเข้าไปในกระบอกจะได้เกิดแรงดันอากาศ มันจะไม่มีลมรั่วออกซะก่อน เมื่อทุกคนเลือกไม้ไผ่ได้ตามต้องการแล้วต้องรีบกลับเพราะยุงชุมเหลือเกิน ยืนนิ่งๆนานๆไม่ได้ต้องโดนกัดเป็นผื่นทั้งตัวคันเหมือนลิง บางที่หมั่นไส้เพื่อนคนไหนที่มันชอบล้อเราบ่อยๆ เห็นยุงกัดเพื่อน ด้วยความปรารถนาดีแต่ก็คงจะหวังร้ายลึกๆก็ตบเสียสุดแรง ยุงก็เละคนก็ล้ม เสียงด่าทอดังขรม และเมื่อเดินกลับจากป่าไผ่ต่างคนต่างก็นิ่งเงียบ เดินตามหลังกันเป็นแถว คงจะคิดวางแบบแปลนปืนฉับโผงของตัวเองให้สวยที่สุด
แขนงไม้ไผ่ขนาดความยาวสองคืบจะถูกตัดแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งเป็นกระบอกอีกส่วนเป็นด้ามจับ ส่วนที่เป็นด้ามจะสั้นกว่าส่วนที่เป็นกระบอก แขนงไผ่ส่วนที่แตกใช้การไม่ได้จะถูกผ่าแบ่งออกเป็นสองสามซีก ผ่าแล้วก็เอามาเหลาให้กลมเท่ากับรูของกระบอกฉับโผง ไม้เหลานี้เรียกว่าไม้ดัน หรือไม้ดะ เอาไว้ดันลูกพลาที่ใช้เป็นกระสุนเข้าไปในกระบอกฉับโผง เ หลาพอกลมได้ที่ก็อัดลงไปในรูด้ามถือให้แน่น เวลาดันเข้าและชักออมาใส่กระสุนใหม่จะได้ไม่หลุด เอาไม้ดันมาวัดกับกระบอกฉับโผงอย่าให้ยาวเกินกว่ากระบอกเพราะจะดันกระสุนหลุดออกไปนอกกระบอก ไม้ดันจะต้องสั้นกว่ากระบอกประมาณข้อนิ้วชี้ ทำเสร็จบางคนก็เอาย่านลิเพารัดเอาไว้ตรงปากกระบอก และโคนกระบอกเผื่อเอาไว้เล่นได้นานๆไม่แตกง่าย
ตอนฝึกยิง...........มือขวากำด้ามมือซ้ายกำกระบอก หันไปในทิศที่ไม่มีเพื่อนยืนขวางอยู่
อัดลูกพลากระสุนลูกแรกเอาด้ามเคาะเข้าไปก่อน......จับด้ามเอาไม้ดันดันกระสุนให้ไปติดอยู่ที่ปลายกระบอกก่อนหนึ่งนัด แล้วอัดเพิ่มอีกหนึ่งนัดไม่ต้องรีบ...........เข้าที่......ระวัง........ยิง...เสียงดัง.....ปัง.....แพล็ด...............ของคนที่ดัง ปัง ก็จะหัวเราะอย่างร่าเริง ของคนที่ดังแพล็ด...ยิ้มอย่างเขินๆ เพื่อนๆบอกว่ากระสุนมันเล็ก ลมรั่วไม่เกิดแรงดันอากาศ เมื่อทุกอย่างพร้อม เด็กๆจะถูกแบ่งออกเป็นสองพวกด้วยวิธีการหยิบไม้สั้นไม้ยาว เพื่อความยุติธรรมในการเล่น และมาจับไม้สั้นไม้ยาวหนสองเพื่ออ้างความยุติธรรมอีกเพราะต่างคนต่างอิดออดไม่ยอมเป็นพวกโจร........พวกโจรในหนังกลางแปลงที่มาฉายขายยาในวัด พอตำรวจมาจะแพ้ตำรวจทุกที หนังขายยาถึงตอนจบก็จะเห็นตำรวจมา คนเฒ่าคนแก่ก็จะรีบเก็บเสื่อเก็บของไม่อย่างนั้นหนังจบก่อนมันจะมืดเก็บไม่เห็น พวกเราเด็กๆเลยต้องการเล่นเป็นตำรวจกันทั้งนั้นเพราะเป็นเพื่อนพระเอก ไม่เหมือนโจรที่ต้องเป็นเพื่อนตัวโกง คราวนี้ใครจับได้ไม้สั้นก็มาอ้างไม่ได้อีกแล้วว่าไม่อยากเป็นโจรเพราะเพื่อนๆจะไล่กลับบ้านไม่ให้เล่นอีก ไม้ยาวมันก็มีโกงเหมือนกันเพราะคนถือเป็นคนหยิบสุดท้าย มันเล่นกำเอาไว้จนเพื่อนมองไม่เห็นปลายไม้ เสียงโต้เถียงดังอึกทึกเมื่อมีการโกงเกิดขึ้น บางครั้งต้องหักไม้มาจับกันหลายรอบ เมื่อจัดพวกกันแล้วไม่มีข้อโต้เถียง เสียงไล่ยิงกันดังสนั่นป่ายาง
ใกล้เพลทุกอย่างก็เริ่มยุติท้องเริ่มหิว ทุกคนมารวมพลกันสำรวจร่องรอยการถูกยิงพร้อมเล่าตอนที่ตัวเองตื่นเต้น ทั้งๆที่เล่นด้วยกันแต่ก็เอามาโม้กันใหม่อย่างเมามันเหมือนคนเพิ่งพบกัน บางคนรอยถูกยิงขึ้นเป็นผื่นแดง บางคนมีรอยคราบน้ำตาน้ำมูกที่เช็ดกับมือเป็นคราบอยู่ข้างแก้มบ่นพึมพำว่า จะไปฟ้องพ่อว่ามึงยิงเฉียดตากู ทั้งๆ ที่ชันชีกันเอาไว้แล้วว่าห้ามยิงตรงส่วนใบหน้า ชันชี ของเด็กๆก็คือข้อตกลงกติกาที่สัญญากันเอาไว้ก่อนเล่น เสียงระฆังฉันเพลดังแว่วมาแต่ไกลทุกสิ่งที่โกรธกันก็ลืมกันหมด......... ต่างคนต่างก็วิ่งให้เร็วที่สุดเพื่อให้ถึงจุดหมายก่อนเพื่อน........ได้ยินไอ้ตัวเล็กตะโกนไล่หลังมาว่า ”อย่าแล่นทอดกันแหละ” การแล่นทอดก็คือการวิ่งทอดทิ้งเพื่อเอาไว้คนเดียวในสถานที่ ที่ดูว่าเปลี่ยว และน่ากลัวก็ยังงั้นแหละ

จะเล่าเรื่องหลวงตาติ่ง หลวงตาผู้มีเมตตาให้ฟังแต่ก็ตื่นเต้นเมื่อคุณพ่อบอกว่าคุณย่ามารับผมไปสงขลาสี่ห้าวันช่วงปิดเทอม
คุณย่านุ่งผ้าโจงกระเบนใส่เสื้อสีขาว คุณย่ารูปร่างผอมสูงเหมือนฝรั่งนัยน์ตาคม ผมหยิกแต่ผิวคล้ำ คุณย่ามาจากสงขลาด้วยรถไฟและจะรับผมกลับด้วยรถไฟ ผมตื่นเต้นมากๆเพราะอายุเจ็ดขวบแล้ว ยังไม่ได้ขี่รถไฟเลยทั้งคืนผมนอนไม่หลับ คิดถึงเรื่องรถไฟ คิดถึงต้องทิ้งเพื่อนไปอีกหลายวันซึ่งเรามีของเล่นที่เรายังไม่ได้เล่นอีกหลายอย่าง ต้องเล่นให้ได้ก่อนเปิดเทอมแต่ก็ตื่นเต้นกับเมืองสงขลาที่คุณย่ามีนิทานเล่าให้ผมฟังหลายๆเรื่อง เรื่อง หัวนายแรง และเรื่องเกาะหนูเกาะแมว เรื่องทะเลสาบ รู้สึกว่าเมืองสงขลามีอะไรที่มากมายจนเด็กๆอย่างผมจินตนาการอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
นิทานเรื่องเกาะหนูเกาะแมวคุณย่าเล่าให้ฟังว่า
นานมาแล้วมีพ่อค้าจีนคนหนึ่งคุมเรือสำเภาจากเมืองจีนมาค้าขายที่เมืองสงขลาเมื่อขายสินค้าหมดแล้วจะซื้อสินค้าจากสงขลากลับไปเมืองจีนเป็นประจำ วันหนึ่งขณะที่เดินซื้อสินค้าอยู่นั้น พ่อค้าได้เห็นหมากับแมวคู่หนึ่งมีรูปร่างหน้าตาน่าเอ็นดู จึงขอซื้อพาลงเรือไปด้วย หมากับแมวเมื่ออยู่ในเรือนาน ๆ ก็เกิดความเบื่อหน่ายและอยากจะกลับไปอยู่บ้านที่สงขลา จึงปรึกษาหาวิธีการที่จะกลับบ้าน หมาได้บอกกับแมวว่าพ่อค้ามีดวงแก้ววิเศษที่ใครเกาะแล้วจะไม่จมน้ำ แมวจึงคิดที่จะได้แก้ววิเศษนั้นมาครอบครองจึงไปข่มขู่หนูให้ขโมยให้และอนุญาตให้หนูหนีขึ้นฝั่งไปด้วย ครั้นเรือกลับมาที่สงขลาอีกครั้งหนึ่ง หนูก็เข้าไปลอบเข้าไปลักดวงแก้ววิเศษของพ่อค้าโดยอมไว้ในปาก แล้วทั้งสาม ได้แก่ หมา แมว และหนู หนีลงจากเรือว่ายน้ำจะไปขึ้นฝั่งที่หน้าเมืองสงขลา ขณะที่ว่ายน้ำมาด้วยกัน หนูซึ่งว่ายน้ำนำหน้ามาก่อนก็นึกขึ้นได้ว่าดวงแก้วที่ตนอมไว้ในปากนั้นมีค่ามหาศาล เมื่อถึงฝั่งหมากับแมวคงแย่งเอาไป จึงคิดที่จะหนีหมากับแมวขึ้นฝั่งไปตามลำพัง ดวงแก้วจะได้เป็นของตนเองแต่เพียงผู้เดียวตลอดไป แต่แมวที่ว่ายตามหลังมาก็คิดจะได้ดวงแก้วไว้ครอบครองเช่นกัน จึงว่ายน้ำตรงรี่เข้าไปหาหนู ฝ่ายหนูเห็นแมวตรงเข้ามาก็ตกใจกลัวแมวจะตะปบจึงว่ายหนีสุดแรงและไม่ทันระวังตัวดวงแก้ววิเศษที่อมไว้ในปากก็ตกลงจมหายไปในทะเล เมื่อดวงแก้ววิเศษจมน้ำไปทั้งหนูและแมวต่างหมดแรงไม่อาจว่ายน้ำต่อไปได้ สัตว์ทั้งสองจึงจมน้ำตายกลายเป็น "เกาะหนูเกาะแมว" อยู่ที่อ่าวหน้าเมืองสงขลา ส่วนหมาก็ตะเกียกตะกายว่ายน้ำไปจนถึงฝั่ง แต่ด้วยความเหน็ดเหนื่อยจึงขาดใจตายกลายเป็นหินเรียกว่า "เขาตังกวน" เป็นภูเขาตั้งอยู่ริมอ่าวสงขลา ส่วนดวงแก้ววิเศษที่หล่นจากปากหนูก็แตกแหลกละเอียดเป็นหาดทราย เรียกสถานที่นี้ว่า "หาดทรายแก้ว" ตั้งอยู่ทางเหนือของอ่าว เมื่อนิทานจบคุณย่าจะแถมขับเรื่องพระอภัยมณีเป็นบทกลอนเพราะๆให้ฟังจนผมหลับ
ก่อนนอนทุกคืนคุณย่าจะเล่านิทานเรื่องนี้ให้ผมฟังจนหลับทุกคืนและผมก็ไม่เคยเบื่อเมื่อคุณย่าเล่าให้ฟังเป็นรอบที่เท่าไหร่นับไม่ได้
เช้านี้คุณแม่ปลุกให้ลุกขึ้นจากที่นอนตั้งแต่นกบินหลาเริ่มคุยกันเพื่อจะไปให้ทันรถไฟ ซึ่งคุณย่าเรียกว่ารถพัทลุง คุณย่าซ้อนท้ายรถจักรยานของคุณพ่อ ผมนั่งเฉียงๆบนคานรถจักรยานกว่าจะถึงสถานีรถไฟโคกโพธิ์ คงมีอาการเจ็บก้นมากๆ เพราะตรงที่คานไม่มีอะไรรองก้นเลย อาศัยการขยับเมื่อเวลาเมื่อย พอถึงสถานีรถไฟคุณพ่อไปซื้อตั๋วตรงช่องที่มีพนักงานนั่งอยู่ ตั๋วจะเป็นกระดาษแข็งสี่เหลี่ยมเล็กๆสีหมากสุก สถานีโคกโพธิ์ถึงสถานีหาดใหญ่ราคาค่าโดยสารสองบาทห้าสิบสตางค์ ผมตัวเล็กไม่ต้องเสียค่าโดยสาร คุณย่าจะต้องไปลงที่สถานีรถไฟหาดใหญ่เพื่อจะต่อรถไฟอีกขบวนไปลงที่สงขลา ผมเข้าใจเลยว่าที่คุณย่าเรียกรถพัทลุงเพราะจุดหมายปลายทางของรถไฟอยู่ที่จังหวัดพัทลุง เพราะอีกขบวนนึง ที่จุดหมายปลายทางอยู่ที่สถานีรถไฟสงขลาคุณย่าจะเรียกรถสงขลา คุณแม่ไม่ให้ผมใส่เสื้อตัวใหม่ แต่จะเก็บเอาไว้ที่ห่อผ้าของคุณย่า แม่บอกว่าเดี๋ยวเสื้อตัวใหม่จะโดนสะเก็ดไฟจากไม้ฟืนหัวรถจักรเป็นรูหมด คุณแม่ยังห้ามอีกหลายอย่างตามความซนของผม ห้ามชะโงกออกไปนอกหน้าต่างเดี๋ยวสะพานรถไฟมันจะตีเอา ห้ามจับโน่นจับนี่จนผมจำไม่หมด เสียงหวูดรถไฟก่อนเข้าเทียบสถานีดังมาแต่ไกลหันไปดูเห็นควันไฟสีดำ ผสมกับไอน้ำมองเหมือนกับก้อนเมฆลอยลงมาเรี่ยติดดิน เสียงล้อบดรางดังอึกทึก ผมเดินถอนหลังอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัวจนคุณพ่อต้องรั้งมือเอาไว้ คนแต่งชุดสีกากี ยืนถือธงแดงธงเขียวไว้ในมือพอรถไฟเข้ามาใกล้ถึงสถานีก็ยกธงแดงรถก็ค่อยๆชะลอลงเรื่อยๆ เมื่อรถจอดสนิทคุณพ่อก็ส่งผมขึ้นรถไฟพร้อมคุณย่า คุณย่าจูงมือผมหาที่นั่ง ได้ที่นั่งแล้วความตื่นเต้นของผมก็พอคลายลงไปบ้าง
ที่นั่งบนรถไฟเป็นเก้าอี้ไม้หันหน้าเข้าหากัน เก้าอี้ตัวที่หันหน้าไปทางหัวขบวนมีคนนั่งอยู่ก่อนแล้ว “ตนมาแต่ไหน” เสียงคุณย่าถามสมาชิกที่นั่งอยู่ก่อน ได้ความว่าเดินทางมาจากต้นทางสถานีรถไฟยะลา จะกลับไปเยี่ยมบรรพบุรุษที่จังหวัดพัทลุงมารับราชการอยู่ที่ยะลานานแล้วหลายปียังไม่ได้กลับไปเยี่ยมบ้าน เสียงคุณย่าคุยถามสารทุกข์สุกดิบกันอยู่พักหนึ่ง ผมไม่ได้ตั้งใจฟังเพราะมัวแต่สนใจบรรยากาศข้างทางที่ผ่านป่ายางสลับกับทุ่งนา จนรถไฟชะลอช้าลง คุณย่าบอกถึงสถานีรถไฟเทพาแล้ว ก่อนรถไฟจะหยุด คุณย่าแกะผ้าเช็ดหน้าออกและหยิบเงินใบละบาทออกมาสองใบ คุณย่าบอกจะซื้อข้าวแกง กินมื้อกลางวัน พอรถไฟจอดสนิทคุณย่าชะโงกหน้าออกไปนอกหน้าต่างสั่งซื้อข้าวแกงไก่และไก่ทอด แม่ค้าตักข้าวใส่กระทงราดน้ำแกงแถมด้วยไก่ทอดกระทงละชิ้น ท่าทางแม่ค้าคล่องแคล่วว่องไว ข้าวและแกงไม่มีหกเลอะเทอะเลย เมื่อรถไฟเคลื่อนขบวนออกจากสถานีคุณย่ายื่นกระทงข้าวแกงให้ผม “กินข้าวซะก่อนเดี๋ยวจะหิว อีกนานกว่าจะถึงสงขลา” คุณย่าบอก แต่ผมไม่ค่อยสนใจกับอาหารมื้อเที่ยงนี้เท่าไรเพราะตื่นเต้นกับบรรยากาศสองข้างทาง เมื่อรถไฟเลี้ยวทางโค้ง มองออกไปข้างนอกหน้าต่างขบวนรถไฟเห็นอีกาบินตามขบวนรถเป็นแถว ยังนึกสงสัยอยู่เลยว่าอีกาจะไปไหน ครู่หนึ่ง ก็หายสงสัยเมื่อเห็นผู้คนโยนกระทงข้าวพร้อมกระดูกไก่ออกนอกหน้าต่าง อีกานี่ช่างฉลาดหากิน สามารถพึ่งเศษอาหารที่เหลือจากขบวนรถไฟ............ บ่ายแก่ๆถึงสถานีรถไฟสงขลา รถไฟจากหาดใหญ่ไปสงขลาขบวนสั้นกว่าไปพัทลุง มีเพียงสองตู้เท่านั้นที่หัวรถจักรลากไปและเวลาวิ่งก็วิ่งช้าๆรับคนจากสถานีเล็กๆไปตลอดทาง”
บ้านคุณย่าเป็นบ้านทรงไทยหลังเล็กๆสองหลังปลูกไว้ติดกันมีชานนอกที่ไม่มีหลังคาเชื่อมต่อกันอยู่ติดรั้ววัดโพธิ์ทางด้านหลัง ถ้าจะมาจากทางด้านหน้าวัดโพธิ์ก็ต้องเข้าทางประตูวัดและไต่บันไดข้ามรั้ววัดไปลงตรงบันไดอีกด้านก็จะถึงบ้านคุณย่า บ้านของคุณย่ามีบ้านหลานๆล้อมรอบอยู่เป็นวงกลม เลยบ้านวงศาคณาญาติออกไปก็จะทะลุถนน ถ้าข้ามถนนออกไปก็จะถึงโรงเรียนอาชีวะเป็นโรงเรียนที่มีผู้หญิงมาเรียนกันเต็ม คนบ้านผมถ้าวัยขนาดนี้คงไม่ต้องมาเรียนหนังสือกัน น่าจะมีสามีมีลูกสามสี่คนแล้ว คนที่นี่เขาขยันเรียนหนังสือกันจัง ในใจผมคิด
บรรยากาศยามบ่าย ลมเย็นพัดผ่านต้องผิวกายจนรู้สึกได้ถึงกลิ่นอายของทะเล คุณย่าบอกว่าเดินจนไปสุดถนนก็จะถึงทะเล ผมมองจนสุดตาก็ยังไม่เห็นทะเล แต่ความรู้สึกรับรู้ได้จากลมเย็นที่พัดผ่านมา ว่ามันคงจะผ่านน้ำมาก่อน มันแตกต่างจากที่บ้านผมลมที่พัดผ่านท้องทุ่งมาก่อน กลิ่นของรวงข้าวกับกลิ่นของทะเลมันต่างกัน ได้ยินเสียงย่าเรียก “อ้ายลุ่น” “อ้ายลุ่น” อยู่พักใหญ่ ก็ไม่มีใครขานตอบ.....ย่าจึงเดินไปที่บ้านอีกหลังและสั่งพ่อของอ้ายลุ่นเอาไว้ว่า พรุ่งนี้เช้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ให้อ้ายลุ่นปั่นสามล้อพาหลานไปเที่ยวชายทะเลด้วย อย่าลืมบอกนะ ย่ายังสำทับเอาไว้อีกครั้ง “ผมไม่ลืมครับยายเหี้ยง” เสียงพ่ออ้ายลุ่นตกปากรับคำ ทำไมคนปั่นสามล้อจึงชื่อแปลกๆ ผมถามตัวเอง เพราะที่บ้านผมคนปั่นสามล้อชื่อก็แปลก ชื่อ “นายโฮ้ย” นายอำเภอเคยย้ำถามว่า คนที่ปั่นสามล้อรับจ้างประจำสถานีรถไฟโคกโพธิ์ ชื่ออะไร.... ชื่อโฮ้ยครับ คนอะไรชื่อโฮ้ย นายอำเภอเรียกเสียงหัวเราะจากชาวบ้านได้ ตอนที่พาหมออนามัยมาฉีดวัคซีนชาวบ้าน
บรรยากาศใกล้ค่ำของสงขลาไม่ได้ช่วยให้การจากบ้านเป็นครั้งแรกของผมดีขึ้นเลย กลับกลายเป็นความรู้สึกเหงาๆเศร้าสร้อยบอกไม่ถูก ทั้งๆที่ตื่นเต้นกับไฟฟ้าที่สว่างไสวเป็นแนวไปตามท้องถนนซึ่งบ้านเราไม่มี มีแต่เพียงแสงตะเกียงริบหรี่มาจากบ้านใกล้เรือนเคียงคุณย่าเล่านิทานเรื่องพระอภัยมณีให้ฟัง ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเริ่มจากตอนไหน เพราะคุณย่าจำตอนไหนได้ก็เอามาเล่า คืนนี้พอจับใจความได้ว่า ตอนห้ามทับเข้าตีเมืองลงกา เมื่อถึงตอนที่ไพเราะคุณย่าก็ขับเป็นบทเพลงให้ผมฟังว่า
“วิเวกหวีดกรีดเสียงสำเนียงสนั่น คนขยั้นยืนขึงตะลึงหลง
ให้หวิววาบซาบทรวงลงง่วงงง ลืมณรงค์รบสู้เงี่ยหูฟัง
พระโหยหวนครวญเพลงวังเวงจิต ให้คนคิดถึงถิ่นถวิลหวัง
ว่าจากเรือนเหมือนนกมาจากรัง อยู่ข้างหลังก็จะแลชะแง้คอย”
“วิเวกแว่วแจ้วเสียงสำเนียงปี่ พวกโยธีทิ้งทวนชนวนเขนง
ลงนั่งโยกโงกหงับทับกันเอง เสนาะเพลงเพลินหลับระงับไป
จังหรีดหริ่งสิงห์สัตว์สงัดเงียบ เย็นระเยียบหย่อมหญ้าพฤกษาไสว
น้ำค้าพรมลมสงัดไม่กวัดไกว ทั้งเพลิงไฟโซมซาบไม่วาบวู”
คุณย่าขับขานกลับไปมาหลายเที่ยว ผมพลิกตัวนอนตะแคงหันหน้าเข้าหาฝาเรือน สะอื้นงักๆจนเคลิ้มหลับ มาสะดุ้งตื่นอีกทีเมื่อได้ยินเสียงเหมือนใครลากของหนักอยู่ใต้ถุนบ้าน.........(ตอนหน้าเล่าต่อ)

........สงสัยอยู่ว่าเป็นเสียงอะไรแต่ก็ไม่ได้ถามใครเพราะต้องรีบกุลีกุจอ ล้างหน้าแปรงฟัน น้ำก็ยังไม่ได้อาบรีบแต่งตัว ไปกับคณะสามล้อที่รอกันอยู่หน้าบ้าน สามล้อพ่วงข้างมีเก้าอี้หวายต่อเป็นระเบียงมาทางล้อพ่วงด่านซ้าย มีพื้นที่ขนาดผู้ใหญ่นั่งได้สองคน มีเบาะนุ่นปูเป็นพื้นนั่งสำหรับกันเจ็บก้น ด้านหลังคนปั่นมีที่นั่งเสริมอีกหนึ่งที่สำหรับเด็กพอนั่งได้ ส่วนที่ใช้บรรทุกของจะใช้ด้านหลังเบาะที่ลดระดับต่ำลงมาอีกหน่อยเกือบถึงดิน สามล้อบางคันจะมีร่มกระดาษสำหรับให้ผู้โดยสารกางหลบแดดเหน็บไว้ด้านหลังเบาะ ตรงไฟหน้าของจักรยานที่นำมาประกอบเป็นสามล้อจะมีรูปหล่อโลหะเป็นรูปคนกำลังวิ่งทะยานไปข้างหน้าเป็นตราสัญลักษณ์ของยี่ห้อจักรยาน ผมขอปั่นบ้างเพราะที่ปัตตานีก็มีสามล้อแบบนี้เหมือนกันแต่ไม่เคยได้ปั่น คิดว่าคงจะไม่ยากเพราะมีตั้งสามล้อ สองล้อคงจะปั่นยากกว่าแต่พอเอาเข้าจริง มันดันเลี้ยวซ้ายตลอดแถมมีทีท่าจะคว่ำเอาเสียง่าย ๆ น้าลุ่นบอกว่าถ้าปั่นไม่เป็นมันจะครอบเอาคนปั่นไปไว้ใต้รถ ไม่อยากอยู่ใต้รถเลยนั่งสบายๆดีกว่า มาถึงสมิหลาตรงนางเงือกอาทิตย์เริ่มทอแสงทะเลเงียบสงบ น้ำทะเลมองเห็นรางๆเหมือนแผ่นกระจก มองไปที่ทะเลตรงเส้นขอบฟ้าทางทิศตะวันออกพระอาทิตย์ดวงโตกำลังแลบแสงขึ้นมาจากทะเล ช่างสวยงามเหลือเกิน เหมือนหัวแหวน สีแสดเปล่งแสงวาว นับหนึ่งยังไม่ถึงสามร้อยพระอาทิตย์โผล่ขึ้นมาทั้งดวง ไม่กล้าเพ่งมองอีกแล้วเพราะไม่สามารถทานแสงมันได้ วิ่งเล่นอยู่ชายหาดพักนึงก็ต้องรีบขึ้นมาเพราะถึงคิววัวชนมาออกกำลังกาย ไม่กล้าเดินสวนกับมันเพราะท่าทางมันดูคึกคะนอง เคยมีคนเลี้ยงที่ไม่ระวังตัวโดนวัวที่ตัวเองเลี้ยงขวิดจนไส้ไหลมาแล้ว พออาทิตย์ขึ้นสูงก็กลับถึงบ้านคุณย่าแต่ก็ยังสงสัยเรื่องเมื่อคืนอยู่ ถามย่าว่าเสียงอะไรดังเมื่อตอนใกล้รุ่ง ย่าบอกว่าเสียงบริษัทเจ๊กเก็บขี้มาถ่ายเอาอุจาระไปแล้วเปลี่ยนถังส้วมซึ่งเป็นถังไม้ให้ใหม่ ผมคิดถึงบ้านเราเวลาถ่ายที่ชายป่าแล้วต้องเอาจอบไปกลบเอง กับที่ในเมืองนี้ถ่ายแล้วไม่ต้องกลบ ผมเคยร้องเพลงที่คุณพ่อสอนพอจำได้ว่า ขี้แล้วโดดคือกบ ขี้แล้วกลบคือแมว ขี้แล้วแจวคือหมา หรือชาวสงขลาจะขี้แล้วแจว แต่พ่อก็เป็นชาวสงขลาคงจะไม่ร้องเพลงด่าบ้านตัวเอง

ย่ากลับมาส่งผมที่ปัตตานีเพราะโรงเรียนใกล้จะเปิดแล้ว ผมเรียนที่โรงเรียนเอกชนภายในตัวอำเภอ เมื่อก่อนเรียกว่าโรงเรียนราษฎร์ ส่วนเด็กลูกชาวบ้านโดยทั่วไปจะเข้าเรียนโรงเรียนหลวงซึ่งเรียกว่าโรงเรียนประชาบาล หรือโรงเรียนวัด โรงเรียนที่ผมเรียนมีตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมเจ็ด ผมไปเข้าเรียนเมื่ออายุเจ็ดขวบ ไม่ต้องเรียนชั้นอนุบาล เข้าเรียนชั้นประถมหนึ่งเลยเรียนอยู่สองปีได้เลื่อนชั้นไปอยู่ประถมปีที่สี่ สองปีผมเรียนสี่ชั้น เพราะว่าคุณพ่อสอนอ่าน เขียน คัด และคิดเลขให้ผมตั้งแต่ยังไม่เข้าเรียนเข้าไปเรียนได้สองปีผมมีความรู้เทียบเท่าชั้นประถมสี่แล้วครูบอกให้พาสชั้นได้เลย ตอนเด็กๆไม่เข้าใจว่าพาสชั้นคืออะไร รู้แต่ว่าผมมีเพื่อนซึ่งสามารถเรียกอ้ายโน่น อ้ายนี่ได้ตั้งแต่ประถมหนึ่งถึงสี่ วิ่งเข้าวิ่งออกไปเล่นกับเพื่อนได้ทั้งสี่ชั้น วันที่ผมซึ้งใจที่สุดคือวันที่เพื่อนๆซึ่งเรียนอยู่โรงเรียนวัดหนีเรียนเดินลัดทุ่งข้ามคลองมาเยี่ยมผมถึงโรงเรียน ระยะทางที่เดินมาหลายกิโล สาเหตุเพราะกลับมาจากสงขลาแล้วผมไม่มีโอกาสได้ออกไปเล่นกับเพื่อนๆหลายวันแล้ว เพื่อนๆมายืนเกาะรั้วโรงเรียนหน้าสลอน มีนักเรียนที่วิ่งเล่นอยู่ในสนามหน้าโรงเรียนมาบอกว่ามีเพื่อมารออยู่หน้าโรงเรียน ผมรู้สึกเป็นงงว่าเพื่อนที่ไหนกันถึงได้มาเยี่ยม เมื่อออกไปดูรู้สึกสงสารเพื่อนที่บ้างก็เปียกน้ำมอมแมมเสื้อไม่ใส่ยืนเกาะรั้วโรงเรียนรอพบผมอยู่ ด้วยเพราะความคิดถึงจึงมาเยี่ยม เราทักทายคุยกันอยู่หลายคำต่างคนต่างแย่งกันพูดพอจับใจความได้ว่านัดหมายกันวันเสาร์ให้ผมเอาฟุตบอลหนังที่ซื้อมาใหม่จากสงขลาไปเตะกันที่วัด ผมตกลงและล้วงกระเป๋ากำลูกอมที่ซื้อไว้ตั้งแต่พักกลางวันยื่นให้เพื่อน คนโตรับเอาไปและลาจากกันบอกว่าต้องเดินกลับอีกไกลกลัวจะมืดคำ และถ้าฝนตกที่สันกาลาคีรีน้ำในคลองจะต้องสูงขึ้นกลัวว่าจะข้ามไม่ได้ ผมได้แต่ยืนมองตามหลังจนเพื่อนลับหายจากไป กลับมานั่งเรียนวิชาอ่านไทย ออกเสียงตามเพื่อนไปตลอดไม่มีกระจิตกระใจมองที่ตัวหนังสือเลย ก่อนเลิกเรียนท่องอาขยาน เจ้านกน้อยน่ารักร้องทักว่าไปไหนมาหนูเล็กเด็กทั้งหลาย จนถึงท่องสูตรคูณเสร็จ สวดมนตร์ไหว้พระเสร็จแล้วไปเข้าแถวยืนรอรถโรงเรียนส่งกลับบ้าน รถโรงเรียนยี่ห้อโตโยเปต เป็นรถกระบะไม้ ที่นั่งไม้สองข้างนั่งหันหน้าเข้าหากัน มีที่นั่งเสริมแถวกลางอีกหนึ่งแถวสำหรับเด็กตัวเล็กๆ มีบันไดขึ้นจากทางด้านหลัง และจะมีครูคอยคุมอยู่ที่นั่งท้ายสุดเพราะกลัวพวกเด็กซนจะหลุดออกมานอกรถ รถวิ่งช้าๆเพราะสภาพเก่ามากแล้ว ถ้าคนขับเหยียบคันเร่งมากควันจะออกมาดำและเครื่องจะสำลักน้ำมัน เด็กๆจะคอยส่งเสียงเชียร์เวลารถขึ้นเนินเพราะเหมือนคนแก่เดินต้องเอาใจช่วย รถมาส่งตามจุดรับส่งนักเรียน จุดที่ผมลงรถคือที่วัดเพราะครูมาส่งแล้วไม่ต้องคอยให้พ่อแม่เด็กมารับ ลงรถโรงเรียนแล้วถอดเสื้อเก็บกระเป๋าไว้ที่โคนต้นจำปาอาศัยเล่นในวัดก่อนที่คุณพ่อกลับจากงานจะมารับ อันดับแรกต้องไปที่กุฎิหลวงตาก่อน ไปดูว่ามีผลไม้ ขนมอะไรบ้างที่เหลือและหลวงตาเก็บไว้ให้ทาน กินพอมีแรงเล่นก็หาเรื่องเล่นสารพัด บางทีหลวงตาเฆี่ยนเอาก็มีเพราะไปฉีกจีวรพระฟั่นเชือกลูกข่างบ้าง ทำหางว่าวบ้าง สามเณรไล่เตะเอาก็มีเพราะชอบไปแหย่ และล้อเล่น มีสามเณรรูปหนึ่งชื่อสามเณรยวนเป็นเด็กจากบ้านป่ามาบวช พวกเราแต่งกลอนแล้วไปตะโกนล้อเรียกชื่อ เณรญวนกวนขี้ เณรยวนกวนขี้ สาเหตุเพราะเอาทุเรียนวัดไปกวน กวนทุเรียนแล้วไม่ยอมแบ่งให้พวกเด็กๆกิน สามเณรไล่เตะพวกเด็กไม่กลัวเพราะเณรวิ่งช้ากลัวสบงหลุด ถ้าวิ่งไล่ใกล้ๆจะทันพวกเราก็วิ่งออกนอกวัด เณรไม่กล้าไล่ตามเพราะยังไม่ได้ห่มจีวรออกนอกวัดไม่ได้ เณรจะด่าก็ไม่ได้เพราะเด็กๆตะโกนว่า เณรบาปหนาถ้าด่าเด็ก เณรบาปหนาถ้าด่าเด็ก หลวงตาบอกว่าพวกเราซนมากๆ มันเข้าวัดเมื่อไหร่หมาเห่ากันทั้งวัด แต่หลวงตาก็รักเอ็นดูพวกเราทุกคน ถ้าใครหายไปหลายวันหลวงตาจะถามหาอยู่ตลอดไม่สบายเป็นไข้หลวงตาทราบก็จะไปเยี่ยมถึงบ้าน เราทุกคนรักหลวงตา หลวงตาสั่งสอนอะไรเราจะฟังอย่างตั้งใจ ใช้งานอะไรเหนื่อยแสนเหนื่อยก็จะช่วยทำให้หลวงตา

ถึงเดือนหกเดือนเจ็ดพ่อแม่ผู้ปกครองนำลูกหลานมาฝากหลวงตาเพื่ออยู่เป็นโยมหน้าบวช เตรียมตัวบวช เพื่อจะได้อยู่เข้าพรรษาเมื่อเดือนแปด ในวัดก็คึกคักมีชีวิตชีวา สมาชิกใหม่เข้ามาร่วมชายคาวัดกันมากขึ้นหลวงตาก็ดูสดชื่นขึ้น เดิมวัดมีพระอยู่ไม่กี่รูป กุฎิที่เคยร้างกลับดูสะอาดขึ้นจากสมาชิกใหม่เข้ามาทำความสะอาดตกแต่งเพื่อจะใช้เป็นที่พำนักในช่วงจำพรรษา คนที่กำหนดวันบวชได้แล้วก็จัดงานเชิญญาติมิตรแขกเหรื่อ มีมหรสพมาแสดงให้ดู ทั้งหนังตะลุง มโนราห์ เพลงบอก ตามแต่ฐานะของเจ้าภาพ พวกเราเด็กๆตื่นเต้นกันใหญ่ ถ้าตรงกับวันหยุดเสาร์อาทิตย์ไม่ต้องไปโรงเรียนเราจะดูหนังตะลุงจนรุ่งเช้า อาศัยกินนอนอยู่ในวัด การเตรียมตัวของพวกเด็กเมื่อมีงานบวชและมีการรับมหรสพมาแสดง เด็กๆต้องวางแผนไว้ล่วงหน้าอย่างน้อยห้าวันในการที่จะหาเรื่องเล่นกันเบื่อ อันดับแรกคือการแบ่งพวกเล่นก่อนที่มหรสพจะแสดง เพราะหนังตะลุงจะเล่นตอนดึก พวกเด็กๆจะต้องแบ่งกลุ่มเล่นเอาไว้ล่วงหน้า กำหนดวิธีเล่นเอาไว้ล่วงหน้าจะได้ไม่เสียเวลา และจะไม่ง่วงนอนซะก่อนได้ดูหนังตะลุง วิธีเล่นส่วนมากจะเป็นการวิ่งออกกำลังเพราะจะทำให้ร่างกายตื่นตัว ตื่นเต้นอยู่ตลอดเวลา ไม่ง่วง การวิ่งไล่จับใส่วง เป็นวิธีเล่นที่พวกเด็กชอบกันมากๆ จะแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มจับมาใส่เอาไว้ในวง กับกลุ่มหนี ข้อตกลงจะกำหนดพื้นที่ขอบเขตของการเล่นจะต้องไม่หนีออกนอกพื้นที่ตามที่กติกากำหนด ทุกคนเคารพกติกาถึงแม้นไม่มีใครเห็นแต่ทุกคนจะไม่ออกไปนอกเขต หรืออาจจะกลัวผีหลอกก็เป็นได้ เพราะมีกฎลงโทษอยู่ว่าถ้าใครออกนอกเขตให้ผีไล่ตาม ทุกคนกลัวจึงไม่มีใครกล้าผืน การแบ่งกลุ่มเอาไว้ล่วงหน้านี่ก็เป็นข้อสำคัญเพราะก่อนถึงวันงานก็จะมีการคุยเกทับกันถึงการได้อยู่กลุ่มใคร ใครเป็นหัวหน้ากลุ่ม หัวหน้ากลุ่มจะพาลูกทีมรอดไม่รอดจะเป็นที่โจษขานกันในหมู่เด็ก พวกที่เหลือยังไม่ได้เข้ากลุ่มมี

โอกาสที่จะตัดสินใจเลือกที่จะไปอยู่กับใครตามที่ตนเองศรัทธา เรื่องที่สองที่ต้องมีการเตรียมเอาไว้คือเรื่องการกิน มันเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเด็กๆ ของกินมื้ออิ่มย่อมได้มาจากเจ้าภาพ แต่ข้อสำคัญผู้กล้าที่จะไปเอามาจากโรงครัวคือใคร พวกเราต้องสืบเอาไว้ว่าในกลุ่มเรามีใครที่เป็นญาติกับเจ้าภาพบ้างจะต้องมอบหมายเอาไว้ว่าต้องเอามาให้พอ จะต้องเอามาให้ได้ และจะต้องไม่ถูกด่าหรือนินทาตอนงานเลิก เพราะเรื่องนี้ถ้าเข้าหูคุณแม่เมื่อไหร่โดนเฆี่ยนสถานเดียวไม่มีข้อยกเว้น เพราะพ่อแม่ทุกคนสอนอยู่ตลอดว่าอย่าไปยุ่ง หรือไปกินของในงาน เพราะเขาทำไว้เลี้ยงแขกเลี้ยงพระไปเบียนของเขาจะเป็นบาป