วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ซีละ

การละเล่นพื้นบ้านรำสีละ
รำสิละ
สิละหรือซีละ ในบางท้องที่ของจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เรียกว่า ดีกาหรือบือดีกา สิละหรือซีละเป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยและมีอยู่ทั่วไปในประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย ตลอดจนประเทศอินโดนีเซีย ในจังหวัดยะลาซีละมีอยู่ 3 แบบ ได้แก่
1. ซีละมือเปล่า ซีละแบบนี้ใช้เฉพาะ มือ แขน ขา เคลื่อนไหวปัดป้อง และทำร้ายคู่ต่อสู้ ผู้เล่นซีละจะไม่กำหมัดแน่นเหมือนมวยไทย เพราะในการเล่นซีละจะมีการตบ จับแขน คู่ต่อสู้เพื่อเหวี่ยงให้ล้มลง และการใช้เท้าก็จะไม่มีลวดลาย
2. ซีละกริช ซีละแบบนี้คู่ต่อสู้จะถือกริช 1 เมตร (ถึงแม้จะถือไม้ไผ่หรืออุปกรณ์อย่างอื่นที่ใช้แทนกริชก็เรียกกันทั่วไปว่า ซีละกริช) ซีละกริชจะมีท่าทางขึงขังเอาจริงเอาจังมากกว่าแบบแรก มีการวางท่าแสดงการแทง แต่ซีละกริชในปัจจุบันก็แสดงท่าต่างๆ เพียงเบาๆ
3. ซีละกายง เป็นซีละที่ใช้กริช มุ่งการอวดฝีมือลวดลายต่างๆ ไม่ได้แสดงการต่อสู้อย่างจริงจัง ใช้แสดงในเวลากลางคืน
ซีละเป็นศิลปะการป้องกันตัวอย่างหนึ่งของชาวไทยมุสลิม เป็นศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่าคล้ายกังฟูหรือมวยไทย การแสดงซีละเริ่มต้นด้วยการไหว้ครูเล่นทำปากขมุบขมิบเป็นการเสกคาถาดังนี้ “ขออโหสิกรรมแก่คู่ชิงชัย ขอให้เป็นที่รักแก่เพื่อนบ้าน ขอให้ผู้ชมนิยมศรัทธา”
ประเภทของการแสดงซีละสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้
1. ซีละยาโต๊ะ (ตก) คือ ศิลปะการต่อสู้โดยการรุกและรับถ้ารับไม่ได้ก็ตกไปใช้ในการแข่งขันประชันฝีมือ
2. ซีละ (รำ) คือ ซีละที่ใช้กริชประกอบการร่ายรำ เป็นการแสดงต่อสู้ ผู้แสดงจะแสดงเป็นคู่ๆ การแต่งกายของนักแสดงซีละจะเน้นความสวยงาม โดยสวมเสื้อแขนสั้น นุ่งโสร่งสีสดนุ่งทับกางเกงขายาวมีผ้าคาดเอว หรือเข็มขัดคาดทับโสร่งให้กระชับ เหน็บกริชที่เอวและผ้าโพกศีรษะ ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง ได้แก่ กลองแขก โหม่ง ปี่ชวา ซีละในอำเภอยี่งอมีหลายคณะ จะรับเล่นในงานต่างๆ เช่น งานสุหนัต งานแต่งงาน เป็นต้น


การละเล่นพื้นบ้านรำสีละ
รำสิละ
สิละหรือซีละ ในบางท้องที่ของจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เรียกว่า ดีกาหรือบือดีกา สิละหรือซีละเป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยและมีอยู่ทั่วไปในประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย ตลอดจนประเทศอินโดนีเซีย ในจังหวัดยะลาซีละมีอยู่ 3 แบบ ได้แก่
1. ซีละมือเปล่า ซีละแบบนี้ใช้เฉพาะ มือ แขน ขา เคลื่อนไหวปัดป้อง และทำร้ายคู่ต่อสู้ ผู้เล่นซีละจะไม่กำหมัดแน่นเหมือนมวยไทย เพราะในการเล่นซีละจะมีการตบ จับแขน คู่ต่อสู้เพื่อเหวี่ยงให้ล้มลง และการใช้เท้าก็จะไม่มีลวดลาย
2. ซีละกริช ซีละแบบนี้คู่ต่อสู้จะถือกริช 1 เมตร (ถึงแม้จะถือไม้ไผ่หรืออุปกรณ์อย่างอื่นที่ใช้แทนกริชก็เรียกกันทั่วไปว่า ซีละกริช) ซีละกริชจะมีท่าทางขึงขังเอาจริงเอาจังมากกว่าแบบแรก มีการวางท่าแสดงการแทง แต่ซีละกริชในปัจจุบันก็แสดงท่าต่างๆ เพียงเบาๆ
3. ซีละกายง เป็นซีละที่ใช้กริช มุ่งการอวดฝีมือลวดลายต่างๆ ไม่ได้แสดงการต่อสู้อย่างจริงจัง ใช้แสดงในเวลากลางคืน
ซีละเป็นศิลปะการป้องกันตัวอย่างหนึ่งของชาวไทยมุสลิม เป็นศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่าคล้ายกังฟูหรือมวยไทย การแสดงซีละเริ่มต้นด้วยการไหว้ครูเล่นทำปากขมุบขมิบเป็นการเสกคาถาดังนี้ “ขออโหสิกรรมแก่คู่ชิงชัย ขอให้เป็นที่รักแก่เพื่อนบ้าน ขอให้ผู้ชมนิยมศรัทธา”
ประเภทของการแสดงซีละสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้
1. ซีละยาโต๊ะ (ตก) คือ ศิลปะการต่อสู้โดยการรุกและรับถ้ารับไม่ได้ก็ตกไปใช้ในการแข่งขันประชันฝีมือ
2. ซีละ (รำ) คือ ซีละที่ใช้กริชประกอบการร่ายรำ เป็นการแสดงต่อสู้ ผู้แสดงจะแสดงเป็นคู่ๆ การแต่งกายของนักแสดงซีละจะเน้นความสวยงาม โดยสวมเสื้อแขนสั้น นุ่งโสร่งสีสดนุ่งทับกางเกงขายาวมีผ้าคาดเอว หรือเข็มขัดคาดทับโสร่งให้กระชับ เหน็บกริชที่เอวและผ้าโพกศีรษะ ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง ได้แก่ กลองแขก โหม่ง ปี่ชวา ซีละในอำเภอยี่งอมีหลายคณะ จะรับเล่นในงานต่างๆ เช่น งานสุหนัต งานแต่งงาน เป็นต้น

1 ความคิดเห็น:

agapefang กล่าวว่า...

สิละ หรือ บือดีกา ศิลปะการต่อสู้ไทยมุสลิมแบบโบราณ นี้ ไทยพุทธสามารถฝึกฝนเรียนรู้ได้หรือเปล่าครับ จะขัดต่อหลักปฏิบัติของไทยมุสลิมไหมครับ??