




2.ชิดของวายังการแสดงเชิดหุ่นเงาหรือวายัง ปูร์วาฉบับดั้งเดิมใช้หุ่นเชิดที่ทำด้วยหนังสัตว์ จึงเรียกอีกชื่อว่า “วายัง กูลิต” (Wayang Gulit) ซึ่งหมายถึง การเชิดหนังเพราะกูลิตแปลว่าหนังสัตว์ วายัง กูลิตนี้เป็นศิลปะการแสดงที่งดงามและวิจิตรกว่าการแสดงชนิดอื่นทั้งหมด การแสดงนี้รวมศิลปะหลายด้านไว้ด้วยกัน อาทิ ด้านการประพันธ์บทละคร การดนตรี นาฎกรรม ศิลปกรรม ทั้งยังสะท้อนความลึกซึ้งในเชิงประวัติศาสตร์ การศึกษา ปรัชญาศาสนาความลึกลับและสัญลักษญ์ในการตีความหมายนอกจากวายัง กูลิตแล้วยังมีการแสดงวายังในรูปแบบอื่นอีกหลายชนิด ได้แก่1. วายัง เบเบร์ (Wayang Beber) เป็นการแสดงที่เก่าแก่พอๆกับวายัง กูลิต หรืออาจจะเก่าแก่กว่าด้วยซ้ำ เป็นการแสดงวายังชนิดที่ทดลองแรกสุด เบเบร์แปลว่าคลี่ตัว วิธีแสดงใช้วิธีคลี่ม้วนกระดาษหรือผ้าซึ่งเขียนรูปต่างๆ จากลายสลักบนกำแพงในโบสถ์หรือวิหาร ภาพวาดเหล่นนี้ผ่านตาผู้ชมไปเรื่อยๆเหมือนดูภาพการ์ตูน ปัจจุบันวายัง เบเบร์ไม่ได้รับความนิยมแล้วเพราะเทคนิคการแสดงไม่มีชีวิตชีวาและไม่ดึงูดผู้ชมเท่าวายัง กูลิต2. วายัง เกอโด๊ก (Wayang Gedog) เป็นการแสดงที่พัฒนามาจากวายัง กูลิต ตัวหุ่นของวายัง เกอโด๊กทำจากหนังสัตว์เช่นกัน นิยมแสดงเรื่องราวของเจ้าชายปันหยี (อิเหนา) ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12 และเรื่องราวของกษัตริย์ชวาภายใต้ อารยธรรมมุสลิมผู้ที่ริเริ่มสร้างสสรค์การแสดงวายัง เกอโด๊ก เป็นนักบุญมุสลิมท่านหนึ่งซึ่งมีชีวิตในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 163. วายัง โกเล็ก (Wayang Golek) พัฒนามาจากวายัง กูลิต เช่นเดียวกัน หากแต่มีจุดประสงค์เพื่อจัดแสดงได้ในเวลากลางวันโดยไต้องอาศัยความมืดกับตะเกียง ตัวหุ่นของวายัง โกเล็กจึงมีลักษณะเป็นหุ่นตุ๊กตา 3 มิติ ทำจากไม้แกะสลัก ส่วนศรีษะของหุ่นทาสีสดใสสวยงาม ลำตัวหุ่นซึ่งทำจากไม้เช่นเดียวกันมีแค่เอว จากเอวลงไปใช้ผ้าบาติกคลุมลงให้ยาวเสมือนสวมเครื่องแต่งกายหรือกระโปรงกรอมเท้า ภายในผ้านี้มีที่จับตัวหุ่น ดังนั้นเวลาเชิดจะไม่เห็นมือผู้เชิด ไหล่และข้อศอกตัวหุ่นขยับได้โดยใช้วิธีเชื่อมกับก้านไม้ยาวๆสำหรับกระตุกให้เคลื่อนไหวได้ เนื้อเรื่องที่แสดงกล่าวถึงเรื่องราวของนักรบผู้กล้าหาญของต้นราชวงศ์ชาวมุสลิมในหมู่เกาะชวา ผู้ที่คิดสร้างวายัง โกเล็ก คนแรกเป็นนักบุญมุสลิมเช่นกัน ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ปัจจุบันการแสดงวายัง โกเล็ก ยังคงได้รับความนิยมในภาคกลางและภาคตะวันตกของเกาะชวา4. วายัง กลิติก (Wayang Klitik) หมายถึง วายังขนาดเล็กและบาง ตัวหุ่นทำจากไม้แต่มีขนาดเล็กและบางกว่าวายัง โกเล็กมาก ส่วนแขนทำด้วยหนังสัตว์เชื่อมต่อกับส่วนลำตัวให้ดูกลมกลืนกัน ตัวหุ่นสูงประมาณ 10 นิ้ว เวลาเชิดหันด้านข้างเหมือนกับวายัง กูลิต เรื่องราวที่แสดงกล่าวถึงสมัยที่ศูนย์กลางแห่งอารยธรรมฮินดูเสื่อมลงและในที่สุดผู้บุกรุกชาวมุสลิมก็เข้ามาครอบครองในช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นการแสดงที่มุ่งสรรเสริญความยิ่งใหญ่ของชาวมุสลิมวายัง กลิติก ยังมีอีกรูปแบบหนึ่งคือ เป็นการแสดงหุ่นดีบุกซึ่งตัวขนาดเล็กเท่านิ้วคนตั้งไว้บนโต๊ะกระจกและทำให้เคลื่อนไหวโดยการใช้แม่เหล็กลากไปใต้กระจก แขนของหุ่นเหล่านี้เคลื่อนไหวได้ วายัง กลิติกชนิดนี้สร้างขึ้นสำหรับเด็ก5. วายัง มัดยา (Wayang Madya) เป็นการแสดงตามแบบฉบับของอินโดนีเซีย เล่าเรื่องราวของชาวอาหรับและวรรณคดีต่างชาติในเอเชีย รวมทั้งเรื่องราวของบุคลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพระศาสดามุฮัมมัด
การแสดงชนิดนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อเผยแพร่ศาสนาอิสลาม นอกจากนี้การแสดงวายังชนิดที่ต้องเชิดตัวหนังและหุ่นแบบต่างๆ ตังกล่าวข้างต้นแล้วยังมีศิลปะการแสดงที่น่าสนใจที่เลียนแบบการเชิดหนังหรือเชิดหุ่นกระบอกซึ่งใช้คนแสดงจริง ได้แก่1. วายัง โตเป็ง (Wayang Topeng) เรียกสั้นๆว่า “โตเป็ง” เป็นระบำหน้ากาก ผู้ชายแสดงล้วน หน้ากากแกะสลักจากไม้มีลักษณะหน้าปูดนูนดูผิดธรรมชาติ การแสดงนี้เชื่อว่ามีความเป็นมาจากพิธีกรรมบวงสรวงบูชาภูตผีปีศาจในสมัยโบราณ ลีลาการเต้นคล้ายตัวหุ่นจึงใช้ชื่อว่า “วายัง” คณะแสดงมีจำนวน 10 คน แบ่งเป็นผู้แสดง 6 คน และนักดนตรี 4 คน ควบคุมการแสดงโดยผู้กำกับวงซึ่งเรียกว่า”ดาลัง” เรื่องราวที่นิยมแสดงคือการผจญภัยของเจ้าชายปันหยี กษัตริย์และนักรยที่มีชื่อเสียงของชวาในศตวรรษที่ 12 ส่วนใหญ่เป็นฉากรักและฉากรบ บางโอกาสจะเพิ่มฉากตลกบันเทิงเพื่อให้การแสดงมีรสชาติมากขึ้น แต่การแทรกบทตลกจะต้องไม่ทำให้เนื้อเรื่องหลักเสียหาย เป็นการแสดงที่นิยมในภาคตะวันออกของชวาในบาหลี เป็นที่โปรดปรานทั้งในราชวังและในระดับชาวบ้าน การแสดงชนิดนี้มีข้องบังคับอย่างหนึ่งคือ ถ้าแสดงต่อหน้าพระพักตร์กษัตริย์ ผู้แสดงจะต้องถอดหน้ากากออก ดังนั้นผุ้แสดงต้องแสดงบทบาทและอารมณ์มากกว่าปกติผู้แสดงต้องแสดงบทบาทและอารมณ์มากกว่าปกติ
2. วายัง โอรัง (Watang Orang) แปลว่า "หุ่นที่เป็นมนุษย์" เป็นนาฏศิลป์อินโดนีเซียที่เป็นแบบฉบับสมบูรณ์โดยมาตราฐานของศิลปะราชสำนัก ได้รับอิทธิพลจากนาฏลีลาของชาวชาวตะวันออกเป็นระบำที่ไม่สวมหน้ากาก นำมาเผยแพร่ในชวาตะวันตกและภาคกลาง แสดงเรื่องราวที่นำมาจากรามายณะและมหาภารตะ วายัง โอรัง จึงกลายเป็นวายัง กูลิต ฉบับที่ใช้คนแสดงแทนการเชิดหนัง ในระยะแรกเครื่องแต่งกายเป็นลักษณะเครื่องแต่งกายทั่วไปในราชวัง ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องแต่งกายให้คล้ายกับที่ปรากฏหุ่นวายัง กูลิต การแสดงที่พิเศษนั้น ผู้แสดงเป็นเจ้านายและเชื้อพระวงศ์ในราชสำนักทั้งสิ้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นศิลปะที่แท้จริงของราชสำนักชวา ต่อมาในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักธุรกิจชาวจีนผู้หนึ่งได้จัดตั้งคณะละคราวยัง โอรัง ที่มีผู้แสดงเป็นศิลปินอาชีพ และมีลักษณะเป็นธุรกิจ ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก จนทุกวันนี้มีคณะละครประเภทนี้ 20 กว่าคณะ ส่วนในราชสำนัก หลังจากที่เศรษฐกิจตกต่ำลงในช่วงสงครามโลกทำให้ไม่สามารถทำนุบำรุงเลี้ยงดูคณะละครในวังได้อีกต่อไป ในที่สุดการแสดงวายัง โอรังก็ต้องถึงแก่การสิ้นสุดลง เหลือแต่คณะละครของศิลปินนักธุรกิจเท่านั้นการแสดงวายงในอินโดนีเซียมีมากมายหลายชนิด หากแต่วายัง กูลิตและวายัง โกเล็กเท่านั้น ที่ได้รับความสนใจมากที่สุด โดยเฉพาะวายัง กูลิตหรือวายัง ปูร์วา เป็นที่รู้จักแพร่หลายในระดับนานาชาติ ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติและศิลปะการแสดงอันเป็นเอกลักษณ์ของดินโดนีเซียก็ว่าได้3. องค์ประกอบในการแสดง
องค์ประกอบสำคัญของการแสดงวายัง กูลิต มีดังนี้ตัวหนังหรือตัวหุ่นที่ใช้เชิดส่วนใหญ่แล้วตัวหนังวายัง กูลิต ทำจากหนังควาย ตัวหนังที่มีคุณภาพดีที่สุดต้องทำจากหนังลูกควาย เพราะสะอาดปราศจากไขมันจะทำให้สีที่ทาติดทนดี วิธีการทำตัวหนังนั้น จะต้องนำหนังลูกควายมาเจียน แล้วฉลุเป็นรูปร่างและลวดลาย ใบหน้าของตัวหนังหนด้านข้าง ลำตัวหันลักษณะเฉียง ส่วนเท้าหันด้านข้างทิศทางเดียวกันกับใบหน้าของตัวหนัง
นายหนังหรือดาแล เดะแม สาแม เล่าว่าตัวเองนั้นสืบทอดการแสดงนี้ต่อมาตั้งแต่รุ่นปู่ รุ่นพ่อ ปัจจุบัน
คณะของเดะแมมีอายุกว่า 40 ปี แต่มีจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญนั่นคือ เดะแม คิดว่าวายังกูเละควรจะต้องสื่อสารได้กับ
ทั้งคนไทยพุทธและคนมลายูมุสลิม จึงคิดปฏิวัติการแสดงด้วยการเริ่มใช้ภาษาไทยพากย์สลับกับภาษามลายูถิ่นที่
เคยใช้พากย์เป็นพื้นฐาน และได้เปลี่ยนชื่อคณะจากเดิมคือ เดะแม ตะลุงศิลป์ มาเป็น “เดะแม ตะลุงสองภาษา”
แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ก็นับเวลาผ่านไปเกือบ 20 เต็มนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งคณะ
เดะแมเล่าต่อไปว่า การแสดงวายังกูเละในสมัยก่อนได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และตัวเดะแมก็เคย
ข้ามไปเล่นประชันกับวายังกูลิตของฝั่งมาเลย์มาแล้ว เดะแมบอกว่าการเดินทางไปครั้งนั้นสนุกมาก แต่ “หนังทาง
นู้นเค้าเล่นกันแบบเงียบๆ ไม่มีตลกอะไร แต่ว่าหนังยาวี หนังในไทยเราเนี่ย เค้าเรียก ‘ข้าวยำ’ มีไอ้นู้นมั่ง ไอ้นี้มั่ง มี
เพลงมั่ง มีตลกแปลกๆ มั่ง แต่ทางนู้นเค้าเล่นแบบนิยาย ไม่เหมือนบ้านเรา”1 เดะแมอธิบายต่อไปว่า ถ้าจะให้ถึงรส
ชาติแบบข้าวยำในทรรศนะของแก ก็ต้องเล่นให้สุดอารมณ์ เช่น “เวลาเศร้าก็ต้องให้เศร้าที่สุด ถ้าตลกก็ต้องตลกให้
แบบว่า ‘เยี่ยวใส่ผ้าเลย’ เวลาเศร้าก็ต้องให้น้ำตาไหล”2
แม้วายังกูเละจะเคยได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงเพียงใดก็ตาม แต่ก็ไม่เคยเดินทางขึ้นไปเล่นไกลกว่า
กรุงเทพมหานครเลย เอาเข้าจริงแล้วการเดินทางมาเล่นที่กรุงเทพฯ หรือเมืองหลวงก็มักจะเป็นโอกาสพิเศษเท่านั้น
หรือแม้จะขึ้นมาเล่นที่จังหวัดพัทลุงหรือนครศรีธรรมราชบ้าง ก็มักจะขึ้นมาในลักษณะงานแสดงสาธิตไม่ใช่งานหา
หรืองานจัดรายการ ยิ่งสถานการณ์อย่างในปัจจุบันทำให้วายังกูเละต้องพบกับเงื่อนไขที่ยากลำบากมากขึ้น เพราะ
มีงานรื่นเริงมหรสพน้อยลง มีผู้ว่าจ้างน้อยลง เดะแมกล่าวว่า แม้จะยังมีคนคอยชมอยู่ “แต่ว่าไม่เหมือนเดิม …
[เพราะ] … เค้าก็กลัวเหมือนกัน” 3 ที่สำคัญตัวเดะแมและชาวคณะก็กลัวด้วยเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะเมื่อต้องเดิน
ทางไปแสดงในที่ต่างๆ และเมื่อถามถึงอนาคตการแสดงวายังกูเละของนายหนังรุ่นต่อไป เดะแมกล่าวว่า “[ก็ยังพอ
จะ] มีโอกาส แต่ว่า น้อย” 4
ไม่เพียงแต่เงื่อนไขในพื้นที่ที่บีบให้มีการแสดงวายังกูเละน้อยลงเท่านั้น การจงใจมองข้ามหรืออาจด้วย
ปัญหาความลักลั่นไม่ลงตัวในนิยามของความเป็นชาติไทย ทำให้ส่วนงานของรัฐที่มีหน้าที่โดยตรงต่อ “สิ่งที่อ้างว่า
เป็น” มรดก-วัฒนธรรม-เอกลักษณ์ของชาติไทย ยังคงเก็บวายังกูเละไว้ ณ ที่ใต้สุดของสิ่งที่เรียกว่าศิลปะการแสดง
ของชาติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น